การแยกแยะพฤติกรรมข่มขู่คุกคาม (Bullying) จะช่วยให้เข้าใจความหมายที่ชัดเจน ไม่เหมารวมว่าทุกการกระทำ คือ พฤติกรรมข่มขู่คุกคาม การเรียกทุกพฤติกรรมที่หยาบคายของเด็กว่าพฤติกรรมข่มขู่คุกคามทำให้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมข่มขู่คุกคามมีการผิดเพี้ยน ทำให้การป้องกันความรุนแรงของพฤติกรรมเสี่ยงนี้ถูกลดทอน และมีปัญหาเพิ่มขึ้น พฤติกรรมข่มขู่คุกคาม (Bullying) แบ่งเป็นหลายประเภท เช่น
- การคุกคามเชิงสัมพันธภาพ (relational aggression)
- การคุกคามทางสื่อออนไลน์ (cyberbullying)
- การข่มขู่ด้วยวาจา (verbal bullying)
- การคุกคามทางเพศ (sexual bullying)
การกำหนดประเภทของพฤติกรรมข่มขู่คุกคาม คือ มองหา 3 องค์ประกอบสำคัญที่พบมากที่สุด เช่น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- ความไม่สมดุลของอำนาจ
- การกระทำซ้ำๆ
- การกระทำโดยเจตนา
เป็นสิ่งสำคัญที่จะรู้ถึงกลยุทธ์หรือรูปแบบของพฤติกรรมข่มขู่คุกคามที่ใช้กับเป้าหมายบุคคล
ส่วนประกอบของพฤติกรรมข่มขู่คุกคาม
ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมข่มขู่คุกคามยอมรับว่า สิ่งที่นอกเหนือจากพฤติกรรมที่โหดร้ายแล้ว ผู้มีพฤติกรรมข่มขู่คุกคามยังตั้งใจที่จะทำอันตรายต่อบุคคลเป้าหมาย มีความเกี่ยวช้องกับการไม่สมดุลของอำนาจ มีพฤติกรรมซ้ำๆ มักไม่กระทำเพียงครั้งเดียวแต่เป็นรูปแบบต่อเนื่อง เมื่อมีความไม่สมดุลของอำนาจเป็นการยากที่บุคคลเป้าหมายจะปกป้องตัวเองจากการโจมตีของคนพาล
- ความไม่สมดุลของอำนาจ
สามารถเป็นได้ทั้งทางร่างกายหรือทางด้านจิตวิทยา ทางร่างกาย เช่น มีอายุมากกว่า ร่างกายใหญ่และแข็งแกร่งกว่า หรืออาจเป็นแก๊งอันธพาลกำหนดเป้าหมายบุคคล ส่วนทางด้านจิตวิทยาจะแยกแยะยากกว่า ได้แก่ การมีสถานะทางสังคมที่สูงกว่า การใช้คารมเก่งกว่า หรือมีอิทธิพลมากในโรงเรียน ผลจากความไม่สมดุลของอำนาจ คือ เป้าหมายบุคคลของผู้มีพฤติกรรมข่มขู่คุกคามจะรู้สึกอ่อนแอ ถูกกดขี่คุกคาม และไม่ปลอดภัย - การกระทำซ้ำ
โดยปกติแล้วพฤติกรรมข่มขู่คุกคามไม่ได้เป็นการกระทำเพียงครั้งเดียวของพฤติกรรมถ่อยหรือพฤติกรรมหยาบคาย แต่เป็นพฤติกรรมปกติต่อเนื่องและยาวนาน คนอันธพาลมักรังแกเป้าหมายบุคคลหลายครั้ง บางครั้งผู้มีพฤติกรรมข่มขู่คุกคามจะกระทำการแบบเดียวกันหรือมากกว่า เช่น ให้ทำการบ้านหรือเอาเงินอาหารกลางวันของเด็ก อาจมีหลากหลายของการกระทำ เช่น เรียกชื่อบุคคลเป้าหมายแบบหยาบคายหรือน่าขบขัน ทำให้สะดุดล้มในห้องโถง และการโพสต์ประจานทางสิ่อออนไลน์ รูปแบบอันพาลจะมีการทำซ้ำอย่างยาวนาน อาจรวมถึงการไม่ให้เข้าร่วมในกิจกรรม การโพสต์ประจานทางสื่อออนไลน์ กระจายข่าวลือในทางไม่ดี การกลั่นแกล้งด้วยการแสดงอารมณ์รุนแรง ประเด็น คือ เด็กพูดคำหยาบและทำสิ่งโหดร้าย การไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมแม้จะไม่ได้หมายถึงพฤติกรรมข่มขู่คุกคาม แต่หากเป็นการทำซ้ำๆ มากกว่าหนึ่งครั้งก็จัดเป็นพฤติกรรมอันธพาลได้ - การกระทำโดยเจตนา
เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมข่มขู่คุกคามออกจากพฤติกรรมหยาบคายหรือโหดร้ายอื่นๆ คนอันธพาลจะมีความตั้งใจที่จะทำอันตรายต่อเป้าหมายบุคคล คนอันธพาลจะมีวัตถุประสงค์รังแกคนอื่น พฤติกรรมของพวกเขาไม่ใช่อุบัติเหตุและไม่ได้เป็น "ตลก" ไม่มีอะไรตลกสำหรับเหยื่อที่ถูกคุกคาม แต่ผลที่ตามมาคือผู้ที่ตกเป็นเหยื่ออาจรู้สึกอับอาย เสียใจ กลัว เศร้า หรือโกรธ และอาจโหดร้ายจนกระทั่งผู้ตกเป็นเหยื่อเริ่มรู้สึกกังวลและไม่อยากไปโรงเรียน
กลยุทธ์ที่ใช้ในพฤติกรรมข่มขู่คุกคาม
มีหลายวิธีที่คนอันธพาลใช้ระรานคนอื่น ทั้งทางร่างกายวาจา การคุกคามเชิงสัมพันธภาพ คุกคามทางเพศ การการกล่าวให้ร้าย การกลั่นแกล้งทางสื่อออนน์ไลน์
การระรานทางร่างกาย (Physical Bullying)
เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการจัดประเภท มักจะเกี่ยวข้องกับการทำร้ายร่างกาย เช่น การทุบตี การผลักแรงๆ การเตะต่อย และการทำลายหรือขโมยทรัพย์สิน การระรานทางร่างกายยังรวมถึงการคุกคามชนิดรุนแรง (threats of violence) เช่นกัน
พฤติกรรมระรานด้วยวาจา (Verbal Bullying)
จะใช้ทดแทนการตีด้วยมือหรือเท้า คนอันธพาลจะทำร้ายคนอื่นด้วยคำพูด ซึ่งรวมถึง
- เรียกชื่อในทางหยาบคาย (name-calling)
- ดูถูก (insulting)
- ข่มขู่ (threatening)
- เยาะเย้ย (mocking)
- ด่าว่า (intimidating)
- เหยียดสีผิว (making racist remarks)
- ความคิดเห็นลามกด้านเพศ (sexist comments)
เป็นเรื่องยากที่จะแยกแยะระหว่างล้อเล่นและการกลั่นแกล้ง แต่กฎง่ายๆ คือ ถ้าเป้าหมายบุคคลไม่ได้หัวเราะหรือมีความสนุกสนานกับการกระทำนั้น มักจะถือเป็นการคุกคามกลั่นแกล้ง
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การคุกคามเชิงสัมพันธภาพ (Relational Aggression)
จะใช้เรื่องความสัมพันธ์มาทำร้ายบุคคลอื่น ที่พบบ่อย คือ การเนรเทศหรือไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรม พูดลับหลังคนอื่นในแง่เสียหาย การแพร่กระจายข่าวลือ และการโกหก มีส่วนร่วมในการนินทา การคุกคามเชิงสัมพันธภาพมักสร้างความเจ็บปวดและทำให้เด็กขาดโอกาสที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับเพื่อนๆ โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น
การคุกคามทางสื่อออนไลน์ (Cyber Bullying)
มักเกิดขึ้นนอกโรงเรียนโดยเครื่องมือเทคโนโลยีทั่วไปรวมถึงโทรศัพท์มือถือ การส่งข้อความ YouTube เครือข่ายสังคมออนไลน์ อีเมล และห้องสนทนาออนไลน์ เครื่องมือเหล่านี้จะถูกนำมาใช้ร่วมกับการคุกคามเชิงสัมพันธภาพและพฤติกรรมระรานด้วยวาจา มีการกระทำเชิง ดูถูก ข่มขู่คุกคาม กระจายข่าวลือ และปลอมเป็นคนอื่น (impersonate) ขู่ว่าจะทำร้ายร่างกาย ปัญหาท้าทายของการคุกคามทางสื่อออนไลน์ คือ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน เจ็ดวันต่อสัปดาห์ และสามารถทำโดยไม่ระบุชื่อ เป็นผลให้ผลกระทบของการคุกคามทางสื่อออนไลน์มีความสำคัญ
การคุกคามทางเพศ (Sexual Bullying)
จะเกี่ยวข้องกับคำพูดและการกระทำเชิงลามกทางเพศที่น่าอับอายกับเป้าหมายบุคคล ยกตัวอย่างที่เห็นกันมากเช่น
- เรียกเป้าหมายว่าดอกทอง (มั่วเซ็กส์)
- แสดงความคิดเห็นแบบดิบๆ เถื่อนๆ
- แสดงท่าทางหยาบคาย
- เชื้อเชิญ (propositioning)
- นำเสนอวัสดุลามกอนาจารทางเพศ
- เรียกชื่อแนวลามก
ส่วนใหญ่ของการคุกคามทางเพศมักเกี่ยวข้องกับเด็กชายคุกคามเด็กหญิงหรือเด็กหญิงคุกคามเด็กหญิง ไม่ค่อยเจอเด็กหญิงคุกคามเด็กชาย เช่น เด็กชายคนหนึ่งอาจจะให้ความเห็นแบบลามกกับร่างกายของเด็กหญิง ในขณะที่เด็กหญิงอาจแพร่กระจายข่าวลือเกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศของเด็กหญิงคนอื่น
การกล่าวให้ร้ายโดยอคติ (Prejudicial Bullying)
เกิดเมื่อเด็กมีอคติเกี่ยงกับความแตกต่างทาง เชื้อชาติ ศาสนา หรือรสนิยมทางเพศ การกล่าวให้ร้ายโดยอคติจะเกิดขึ้นกับบุคคลเป้าหมายที่แตกต่างกันในทางใดทางหนึ่ง กลยุทธ์ที่ใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เช่น การคุกคามด้วยวาจา ข่มขู่ทางร่างกาย และการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต บางคนอาจมีการกำหนดเป้าหมายที่มากกว่าคนอื่นๆ เป็นสิ่งสำคัญที่จะรับรู้ว่าทุกคนสามารถถูกรังแกเรื่องความแตกต่างกัน
เจาะรายละเอียดภาวะคุกคาม (Spotting Bullying)
เด็กส่วนใหญ่ไม่พร้อมที่จะพูดคุยเกี่ยวกับการถูกกลั่นแกล้งหรือคุกคาม แต่เก็บรายละเอียดไว้กับตัวเองและพยายามที่จะจัดการด้วยตัวเอง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่สามารถที่จะสังเกตสัญญาณเตือนว่ามีการข่มขู่ที่เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น เช่น อารมณ์ นิสัยการกินตารางเวลาการนอน การไม่สนใจในกิจกรรมปกติ ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการข่มขู่หลายคนจะบ่นว่ามีอาการปวดหัว ปวดท้อง และขอหยุดเรียน เกรดการเรียนต่ำลง มิตรภาพกับเพื่อนเปลี่ยนไป และทรัพย์สินสูญหาย ถ้าคุณสังเกตเห็นอาการใดๆ ข้างต้น ควรเริ่มต้นสนทนากับลูกของคุณ หยุดและฟัง ปล่อยให้ลูกของคุณพูดมากที่สุด อาจมีเพียงบางคำถามถ้าคุณจำเป็นต้องให้ชี้แจงบางสิ่งให้ลูกรู้ว่าคุณมีความภาคภูมิใจในตัวเขาและการแบ่งปัน เตือนให้ลูกกล้าที่จะพูดคุยเกี่ยวกับการถูกกลั่นแกล้ง แล้วทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขสถานการณ์รวมทั้งรายงานการถูกกลั่นแกล้งไปยังโรงเรียน
ข้อคิดจาก Verywell
การกลั่นแกล้งสามารถเกิดขึ้นกับทุกคนและทุกเพศทุกวัย ไม่ได้จำกัดเพียงในโรงเรียนมัธยม หลายคนมีประสบการณ์ถูกข่มขู่ในวิทยาลัยและในสถานที่ทำงาน ถ้าลูกของคุณกำลังประสบกับการข่มขู่ที่โรงเรียนหรือคุณกำลังประสบกับการข่มขู่ในที่ทำงาน เป็นสิ่งสำคัญที่จะใช้ขั้นตอนต่างๆ ในการแก้ปัญหาให้จบสิ้น อาจขัดแย้งกับความเชื่อที่ว่าการข่มขู่ทำให้คนที่เข้มแข็ง การข่มขู่ไม่ได้หายไปเอง การแทรกแซงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์และจะสามารถเริ่มต้นกระบวนการบำบัด