February 15, 2019 18:57
ตอบโดย
พิศุทธิกาญจญ์ รังคกูลนุวัฒน์ (พญ.)
สวัสดีค่ะ อาการปวดข้อเข่าเป็นได้จากหลายสาเหตุค่ะ ซึ่งแต่ละสาเหตุก็จะมีการรักษาแตกต่างกันไป อาการปวดขข้อเข่านั้นอย่างแรกต้องแยกก่อนว่าเป็นอาการปวดจากส่วนต่างๆบริเวณรอบข้อหรือไม่เช่น เอ็นอักเสบ หรือกล้ามเนื้ออักเสบเป็นต้นค่ะ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดการอักเสบจากการใช้งานหนัก หรือมีการกระทบกระแทกเป็นต้นค่ะ การรักษาคือการงดใช้ข้อเข่า หรือลดการยืนหนือเดินนั้นเองค่ะ อาจจะใช้ยาลดการอักเสบแก้ปวดเพื่อใช้บรรเทาอาการร่วมด้วยได้ค่ะ ซึ่งหากไม่ใช่ แต่มีอาการปวดจากข้อเข่าอักเสบเองนั้น ต้องแยกอีกหลายโรคค่ะ เช่น
1.หมอนรองเข่าอักเสบ
2.ข้อเข่าเสื่อม ซึ่งมักจะเจอในผู้สูงอายุ. คนที่น้ำหนักค่อนข้างมาก ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเป็นต้น
3.โรคเก๊าท์หรือเก๊าท์เทียม อาการจะปวดรุนแรง ข้อบวมแดงมาก
4.โรคความภูมิกันผิดปกติ เช่น sle หรือโรครูมาตอยด์เป็นต้น
ซึ่งในแต่ละโรคก็มีลักษณะอาการปวดแตกต่างกันไป และมีอาการร่วมแตกต่างกันไปค่ะ ดังนั้นอาการปวดเข่าที่เกิดขึ้นควรไปพบแพทย์เพื่อดูลักษณะอาการปวด. ตรวจดูบริเวณข้อเข่าว่าเข้าได้กับโรคใดมากที่สุดจึงจะรักษาได้ถูกต้องตามวินิจฉัยคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
เบื้องต้นแนะนำ พักการใช้งานข้อ ถ้าเพิ่งเป็นในช่วงแรก(ไม่เกิน48ชม.) ให้ประคบเย็น แต่ถ้าเป็นหลังจากนั้นแนะนำให้ประคบอุ่นครับ และหลีกเลี่ยงการนั่งพับเข่านานๆครับ
ทางที่ดีควรไปพบแพทย์ระบบกระดูกและข้อ เพื่อซักประวัติ และตรวจร่างกายบริเวณเข่าอย่างละเอียด เพราะบริเวณข้อพับนั้นมีทั้ง เอ็น กระดูก และกล้ามเนื้อรอบๆข้อครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปวดข้อเข่ามีอาการปวดเส้นพับใน ไม่ทราบว่าสามารถดูแลตัวเองได้อย่างไรบ้างคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)