February 09, 2019 21:11
ตอบโดย
สสิตา สุวันทารัตน์ (สัตวแพทย์หญิง)
สาเหตุการชักเกิดได้จาก 2 สาเหตุ หลักๆ คือ
1. มีความผิดปกติในสมอง เช่น โรคลมชัก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีเนื้องอกหรือมะเร็ง เกิดจากการเสื่อมตามอายุ มีน้ำในช่องว่างในสมองมากผิดปกติ หรือเป็นโรคไข้หัด เป็นต้น
2. มีความผิดปกติระบบอื่นๆแล้วทำให้มีอาการชัก เช่น น้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นโรคตับ โรคไต มีค่าของเสียขึ้นสูง อิเลคโตรไลค์ในเลือดต่ำกว่าปกติ เช่น แคลเซี่ยม โดยเฉพาะในแม่หมาให้นมลูก หรือมีปัญหาพยาธิในเม็ดเลือด เป็นต้น
การวินิจฉัย สัตวแพทย์จะซักประวัติและสอบถามว่าใช่อาการชักจริงหรือไม่ เช่น ชักครั้งแรกมั้ย เกิดขึ้นตอนอายุเมื่อไหร่ ชักนานเท่าไหร่ ก่อนและหลังชักอาการสุนัขเป็นอย่างไร มีอาการกระตุกหรือเกร็งมั้ย มีปัสสาวะอุจจาระราดหรือไม่เป็นต้น อาจจำเป็นต้องตรวจเลือดเพื่อตัดปัญหาความผิดปกติของระบบอื่นๆออกไปก่อน หากตรวจแล้วพบว่าค่าเลือดปกติและสงสัยปัญหาในสมอง คุณหมอจะแนะนำให้ไปสแกนสมอง เพื่อหารอยโรคที่เกิดขึ้น
การรักษา หากเพิ่งชักครั้งแรก ชักแค่ครั้งเดียว และชักไม่นาน หลังจากชัก สุนัขอาการกลับมาเป็นปกติทุกอย่าง แนะนำให้ดูอาการก่อนได้ค่ะ ยังไม่จำเป็นต้องกินยารักษา แต่หากชักหลายครั้งต่อวัน หรือชักนานแล้วหลังชักสุนัขแสดงอาการผิดปกติ จำเป็นต้องได้รับยาระงับชัก ยาระงับชักที่ใช้มี 2 รูปแบบคือ ยากินและยาฉีด ยาฉีดจะใช้ในตอนภาวะฉุกเฉินในรพส และคุณหมออาจจะจ่ายให้เจ้าของติดบ้านไว้เพื่อสวนก้นเมื่อมีอาการชัก ส่วนยากินมีหลายแบบ บางรายกินยาระงับชักแค่ตัวเดียวก็คุมชักได้ บางรายคุมชักไม่ได้ต้องกินยาหลายตัวก็มีค่ะ และหากกินยาระงับชักแล้ว ต้องกินติดต่อกันระยะยาวอย่างน้อย 1 ปี ต้องป้อนเป็นเวลาสม่ำเสมอด้วยค่ะ
แนะนำให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาเพิ่มเติมนะคะ หากอาการไม่ดีขึ้น อย่าปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะหากชักเยอะ ชักนาน สุนัขอาจทรุดลงและเสียชีวิตได้ค่ะ
การปฐมพยาบาลสัตว์เลี้ยงที่เกิดอาการชัก
1. อยู่ในความสงบ และตั้งสติ
2. พยายามจัดให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ปลอดภัย เช่น ไม่อยู่บริเวณที่สูง หรือมีสัตว์ตัวอื่นที่อาจเข้ามาทำร้ายได้
3. ห้ามใช้สิ่งของต่างๆหรือมือ เข้าใกล้หรือใส่ปากของสัตว์เลี้ยงขณะชัก
4. ไม่จำเป็นต้องพยายามจับบังคับหรือล็อคตัวสัตว์เลี้ยง ให้ลูบที่ลำตัวของสัตว์และเรียกชื่อเบาๆก็พอ
5. สามารถใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว และเป่าพัดลมได้เพื่อช่วยลดอุณหภูมิร่างกายหลังจากชัก
6. หากเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับอาการชักอยู่แล้ว ให้จดบันทึกรายละเอียดอาการชักเอาไว้ และปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ต่อไป
7. หากเป็นสัตว์เลี้ยงที่ไม่เคยมีอาการชักมาก่อน ควรพาไปตรวจอาการกับสัตวแพทย์ และหากมีภาพถ่ายหรือคลิปวิดีโอขณะมีอาการจะเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรคมากขึ้น
8. หากสัตว์มีอาการชักเกร็งอย่างต่อเนื่อง นานกว่า 5 นาที หรือมีการชักซ้ำ มากกว่า 2 รอบ ภายใน 24 ชั่วโมง ควรพาไปพบสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุดค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
น้องหมาอายุ 4 ปี ก่อนหน้านี้ทุกอย่างก็ปกติดี หลังจากโดนคนใจร้ายที่ไหนไม่รู้วางยา แล้วช่วยชีวิตไว้ได้ ก็เริ่มมีอาการชัก อาการชักเกร็งกระตุก ไม่มีสติ ฉี่อึราด มือเท้าตะกุย ชักประมาณ2-3นาที เดือนนึง3ครึ่งได้ อยากถามว่าอาการแบบนี้ต้องพาไปพบหมอให้ตรวจอย่างละเอียด หรือบอกอาการแล้วให้คุณหมอจ่ายยาแล้วกินสม่ำเสมอ ขอทราบวิธีรักษาเบื้องต้นด้วยค่ะ เนื่องจากเราอยู่กรุงเทพ แล้วน้องอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดฝากญาติเลี้ยงไว้
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)