ภาวะชักจากไข้สูง

เมื่ออุณหภูมิของร่างกายสูงจนเกิดกล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็ง จะปฐาพยาบาลอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 1 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
ภาวะชักจากไข้สูง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะชักจากไข้สูง คือ อาการหดตัวของกล้ามเนื้อจนเกิดการกระตุกเกร็ง มักเกิดในผู้ป่วยที่มีไข้มากกว่า 39 องศา และมักพบในผู้ป่วยเด็กมากกว่าผู้ใหญ่
  • สาเหตุของภาวะชักจากไข้สูงมักมาจากการติดเชื้อในระบบต่างๆ ของร่างกาย
  • หากคุณมีคนในครอบครัวที่เคยมีประวัติเกิดภาวะชักมาก่อน ความเสี่ยงที่คุณจะมีภาวะชักจากไข้สูงก็จะมีมากกว่า
  • การวินิจฉัยภาวะชักจากไข้สูงจะเป็นการสอบถามประวัติสุขภาพของผู้ป่วย และอาจมีการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ กรวดน้ำไขสันหลัง ซึ่งหากผู้ดูแลมีการสังเกต และบันทึกลักษณะการชักของผู้ป่วยไว้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการรักษามากขึ้น
  • ภาวะชักสามารถส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของผู้ป่วยเด็กได้ หากสังเกตว่า เด็กๆ ในบ้านมีอาการไข้ขึ้น ให้รีบปฐมพยาบาลเพื่อให้ลดอุณหภูมิร่างกายก่อนจะเสี่ยงเกิดอาการชัก และหมั่นพาเด็กไปตรวจสุขภาพกับแพทย์ด้วย (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ หรือฉีดวัคซีนเด็กได้ที่นี่)

อาการชักจากไข้สูง ถือเป็นภาวะอันตรายที่พบมากในผู้ป่วยเด็ก ซึ่งผู้ปกครองจะต้องคอยระมัดระวัง และสังเกตอาการของเด็กว่าเสี่ยงทำให้เกิดอาการชักหรือไม่

แต่ภาวะชักจากไข้สูงมีปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดบ้าง แล้วมีวิธีรักษาได้อย่างไร มาลองอ่านพร้อมๆ กัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของภาวะชักจากไข้สูง

ภาวะชักจากไข้สูง (Febrile convulsion) คือ อาการเกร็ง หรือกระตุกทั้งตัว ซึ่งเกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อเมื่อผู้ป่วยมีไข้สูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส มักพบในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 6 ขวบ แต่จะพบมากที่สุดในเด็กอายุ 1-2 ขวบ

สำหรับสาเหตุที่ภาวะชักมักเกิดในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ นั่นก็เพราะสมองของเด็กโดยเฉพาะในช่วงอายุ 3 ขวบแรกกำลังเจริญเติบโต ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิสมองในสมองเด็กจึงไวต่อการกระตุ้นทำให้เกิดภาวะชักได้มากกว่า

อาการของภาวะชักจากไข้สูง

ในเบื้องต้น ให้คุณวัดไข้เด็กก่อนว่า มีอุณหภูมิร่างกายเท่าไร ซึ่งหากมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ก็ถือว่าเสี่ยงเกิดอาการชักได้

นอกจากนี้ เด็กที่มีไข้สูงจะตัวร้อน เหงื่อออก รู้สึกหนาวสั่น เบื่ออาหาร อ่อนเพลียมาก อัตราการเต้นของหัวใจ และการหายใจเพิ่มขึ้น

เมื่ออุณหภูมิร่างกายของเด็กสูงขึ้น จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการเมตาบอลิซึมในเซลล์ประสาท ส่งผลให้เด็กเกิดภาวะชักขึ้น โดยจะมีลักษณะอาการต่อไปนี้

  • เกิดอาการเกร็งกระตุก
  • ไม่รู้สึกตัว
  • กล้ามเนื้อใบหน้า แขน ขา และส่วนอื่นๆ บิดเกร็ง สั่น
  • ตากลอกไปข้างหลัง
  • น้ำลายฟูมปาก
  • กัดฟันแน่น
  • หายใจลำบาก หรืออาจหยุดหายใจไปประมาณ 30 วินาที ซึ่งจะทำให้เกิดอาการตัวเขียวขึ้น
  • หลายรายมักไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ หรืออุจจาระได้

สาเหตุของภาวะชักจากไข้สูง

หลายคนมักเข้าใจผิดว่า ภาวะชักต้องเกี่ยวข้องกับระบบสมอง หรือระบบประสาท ซึ่งความจริงแล้วเป็นเรื่องเข้าใจผิด เพราะภาวะชักจากไข้สูงมักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในระบบต่างๆ ของร่างกายมากกว่า เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การติดเชื้อแบคทีเรีย ในระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ
  • หูชั้นกลางอักเสบ
  • โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • โรคลำไส้อักเสบ
  • ต่อมทอนซิลอักเสบ
  • การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  • โรคไข้เลือดออก
  • โรคไข้หวัดใหญ่
  • โรคไข้ไทฟอยด์
  • โรคอีสุกอีใส
  • อาการต่อมน้ำเหลืองโต
  • โรคมะเร็ง

นอกจากนี้ ผู้ป่วยมีประวัติคนในครอบครัว หรือญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่สาวหรือน้องชาย) ที่มีประวัติอาการชักจากไข้มาก่อน ความเสี่ยงต่อการเกิดอาการชักจากไข้ก็จะเพิ่มขึ้น

ประเภทของภาวะชักจากไข้สูง

ภาวะชักจากไข้สูงแบ่งออกได้ 2 ประเภท ได้แก่

1. ภาวะชักจากไข้ชนิดไม่ซับซ้อน (Simple febrile convulsion) เป็นภาวะชักที่พบได้มากที่สุด โดยจะมีลักษณะดังนี้ คือ

  • ก่อนเกิดภาวะชัก ระบบประสาทกับพัฒนาการของผู้ป่วยยังไม่มีลักษณะผิดปกติ
  • ระยะเวลาอาการชักมักจะไม่เกิน 15 นาที
  • ลักษณะการชักจะชักแบบทั้งตัว (Tonic-clonic seizure)
  • ภายหลังการชักจะไม่พบความผิดปกติของระบบประสาท และคลื่นสมอง
  • ผู้ป่วยมักมีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะชักจากไข้สูงเช่นเดียวกัน

2. ภาวะชักจากไข้ชนิดซับซ้อน (Complex febrile convulsion) เป็นภาวะชักชนิดพบได้น้อย โดยจะมีลักษณะดังนี้

  • ก่อนเกิดอาการชัก ระบบประสาท และพัฒนาการผู้ป่วยจะมีลักษณะผิดปกติ
  • ระยะเวลาอาการชักมักนานกว่า 10-15 นาที และอาจมีอาการชักซ้ำอีกครั้งภายใน 24 ชั่วโมง
  • ลักษณะอาการชักเป็นแบบเฉพาะที่ หรืออาจชักทั้งตัวก็ได้
  • ร่างกายไม่สามารถกลับมาฟื้นฟูเป็นปกติได้หลังชักภายใน 1 ชั่วโมง
  • ภายหลังการชัก จะพบว่า ระบบประสาทเกิดมีความผิดปกติ เช่น เป็นอัมพาต
  • เด็กอาจเริ่มชักครั้งแรกได้ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 6 เดือน หรือเด็กอายุมากกว่า 3 ขวบก็อาจชักชนิดนี้ได้
  • มีประวัติคนในครอบครัวมีลมชักแบบลมบ้าหมู

สำหรับปัจจัยที่อาจทำให้เด็กเกิดภาวะชักซ้ำได้อีกครั้ง ได้แก่ ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส อายุซึ่งยิ่งน้อยก็จะยิ่งมีโอกาสชักซ้ำมากกว่า ความบกพร่องของระบบประสาท หรือมีพัฒนาการช้า

ช่วงเวลาที่ชักก็เป็นปัจจัยทำให้เกิดภาวะชักซ้ำได้ โดยเด็กที่ชักขณะหลับมักจะมีโอกาสชักซ้ำกว่าเด็กที่ชักขณะตื่น รวมถึงหากเด็กมีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะชักขณะไม่มีไข้ ก็มีโอกาสชักซ้ำได้มากกว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเด็กเกิดภาวะชัก

อย่างแรกที่ผู้ปกครองจะต้องทำ คือ ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก แล้วรีบทำตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • จับเด็กให้นอนราบหันตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อไม่ให้เด็กสำลักน้ำลาย และเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
  • รีบเคลื่อนย้ายของมีคม สิ่งที่อาจกระแทก หรือทำให้เด็กบาดเจ็บออกไปให้ห่างตัว
  • ถอดเสื้อผ้าเด็กออกเพื่อให้ง่ายต่อการลดอุณหภูมิร่างกาย
  • หากเด็กมีอาการอาเจียน ให้ล้วงออกให้หมด แต่ระมัดระวังอย่าให้เด็กสำลัก
  • ไม่ต้องจับเด็กตรึงไว้กับที่ แต่ให้ประคองตัวเด็กไว้ในระหว่างที่ชักก็พอ ทางที่ดีให้จับเวลาด้วยว่า ระยะเวลาที่เด็กชักนานเท่าไร ลักษณะการชัก ระดับความรู้สึก และการรับรู้ของเด็กขณะชัก
  • ระหว่างที่เด็กชัก ให้งดรับประทานอาหารทุกชนิด รวมถึงน้ำด้วย
  • เช็ดตัวเด็กด้วยน้ำอุ่น และให้ลองกดนวดตัวเด็กในระหว่างเช็ดด้วยเพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด
  • ห้ามเอาวัตถุเข้าปากเด็กเพื่อป้องกันการกัดลิ้น แม้แต่ยาก็ห้าม เพราะเด็กอาจเกิดอาการบาดเจ็บในช่องปาก

หากเด็กมีอาการชักนานเกิน 5 นาที ให้ติดต่อแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลทันที และหากเด็กมีอาการหน้าเขียวเกิดขึ้นระหว่างชักเล็กน้อย ก็อย่าเพิ่งตกใจ เพราะเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ระหว่างเกิดภาวะชัก

และหลังจากเด็กหยุดชักแล้ว หากมีอาการตกใจ ให้ผู้ดูแล หรือพ่อแม่ปลอบโยนเด็กให้คลายความวิตกกังวล และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยก็ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการชัก รวมถึงวิธีปฐมพยาบาลกันทุกคนด้วย

การวินิจฉัยภาวะชักจากไข้สูง

ในเบื้องต้น แพทย์จะสอบถามประวัติสุขภาพของผู้ป่วยก่อน และหากผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยได้จดรายละเอียดภาวะชักของผู้ป่วยได้ด้วย ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัย เช่น

  • อาการชักครั้งสุดท้ายเป็นนานแค่ไหนจึงจะหยุดชัก
  • มีอาการอะไรเกิดขึ้นบ้าง เช่น ตัวแข็ง การกระตุกของใบหน้า แขน และขา อาการจ้องมองไปในอากาศ ลักษณะการกลอกตา และการหมดสติ
  • ผู้ป่วยฟื้นตัวจากอาการชักภายในหนึ่งชั่วโมงหรือไม่
  • ผู้ป่วยคุณเคยมีอาการชักมาก่อนหรือไม่

นอกจากนี้ แพทย์อาจสอบถามถึงการเลี้ยงดู วิถีการใช้ชีวิตของผู้ป่วย สิ่งแวดล้อมรอบตัวเพื่อประเมินโอกาสการติดเชื้อโรคต่างๆ ที่นำไปสู่การเกิดภาวะชัดด้วย

จากนั้นแพทย์จะเริ่มตรวจร่างกายโดยเฉพาะระบบประสาทอย่างละเอียด เพื่อแยกโรคเกี่ยวกับระบบประสาท หรือทางสมอง เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคไข้สมองอักเสบ

ซึ่งหากตรวจพบว่า เด็กมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อในสมอง หรือระบบประสาท แพทย์จะตรวจโดยการเจาะน้ำไขสันหลัง (Lumbar puncture) ซึ่งจะมีการฉีดยาชาเฉพาะที่ แล้วใช้เข็มเจาะบริเวณฐานของกระดูกสันหลังเพื่อดูดตัวอย่างน้ำไขสันหลังออกมา

นอกจากนี้ แพทย์อาจให้ผู้ป่วยตรวจเลือด และปัสสาวะเพื่อหาสาเหตุของการติดเชื้อ และตรวจหาเกลือแร่ในเลือด รวมถึงอาจให้ตรวจคลื่นสมอง (Electroencephalography: EEG) ในกรณีที่ผู้ป่วยชักบ่อย

การรักษาภาวะชักจากไข้สูง

การรักษาภาวะชักจากไข้สูงแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

1. ระยะที่กำลังมีอาการชัก มีจุดมุ่งหมาย คือ ทำให้ผู้ป่วยหยุดชักโดยเร็วที่สุด โดยแพทย์จะให้ยาไดอาซีแพม (Diazepam) เข้าทางเส้นเลือดประมาณ 0.2-0.3 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุกๆ 15 นาทีหากยังไม่หยุดชัก

2. ระยะหลังจากหยุดชัก แพทย์จะตรวจร่างกาย หาปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอาการชักซ้ำ และซักประวัติเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของอาการชัก และทำการรักษาต่อไป

คุณสามารถให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดไข้อย่างพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เพื่อลดไข้ได้ แต่ยานี้ไม่ได้มีส่วนช่วยลดโอกาสทำให้ชักน้อยลงแต่อย่างใด

การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะชักจากไข้สูง

เพื่อป้องกันภาวะชัก คุณต้องดูแลไม่ให้ผู้ป่วยมีไข้สูงขึ้นจนเกิดความเสี่ยง และเพื่อให้ง่ายต่อการดูแลรักษาเองด้วย มิฉะนั้น ทั้งผู้ดูแล คนในครอบครัว ผู้อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยก็จะต้องวิตกกังวลเรื่องภาวะชักอยู่ตลอด

คุณสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยได้ ดังต่อไปนี้

  • ดูแลไม่ให้ผู้ป่วยใส่เสื้อผ้าที่รัด หรือหนาเกินไป เพื่อให้ร่างกายได้ระบายอุณหภูมิความร้อนได้
  • เช็ดตัวผู้ป่วยด้วยน้ำธรรมดา หรือน้ำอุ่น หากคุณไม่รู้วิธีเช็ดตัวอย่างถูกต้อง ควรลองสอบถาม หรือขอให้พยาบาลสาธิตให้ดู
  • ให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดไข้
  • วัดสัญญาณชีพผู้ป่วยทุก 4 ชั่วโมง
  • เตรียมไม้กดลิ้นไว้ข้างเตียงสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการชักเกร็ง แต่ควรสอบถามแพทย์ หรือพยาบาลเกี่ยวกับวิธีใช้อย่างถูกต้องด้วย
  • ไม่วางสิ่งของใกล้ตัวผู้ป่วยจนรก แต่ควรจัดสิ่งแวดล้อมรอบเตียงให้ดูโล่งสบายตา เมื่อผู้ป่วยเกิดภาวะชัก ก็จะช่วยให้ไม่เกิดอุบัติเหตุขึ้นด้วย
  • ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้เพียงพอ ข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก หรือหากต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ก็ต้องให้ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารอย่างเพียงพอตามแผนการรักษา
  • อย่าปล่อยให้ผู้ป่วยอ่อนเพลีย และต้องพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • ยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยตกเตียงเมื่อเกิดภาวะชัก

ภาวะชักสามารถส่งผลต่อระบบประสาท และพัฒนาการของผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็กที่สมองกำลังเติบโต ภาวะนี้อาจเป็นผลให้เด็กมีพัฒนาการช้ากว่าปกติได้ ทั้งยังทำให้สุขภาพจิตของพ่อแม่ ผู้อยู่ใกล้ชิดวิตกกังวลไปด้วย

เมื่อคุณสังเกตเห็นว่า คนใกล้ชิดมีอาการไข้สูง ให้รีบปฐมพยาบาลเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายทันที จะได้ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะชัก และยังทำให้อาการเจ็บป่วยหายได้เร็วขึ้นด้วย

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ หรือฉีดวัคซีนเด็ก เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


21 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What is a febrile seizure or febrile convulsion?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/168010)
Febrile seizures: an overview. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6052913/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี

ร้อยพันประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ อ่านสักนิด คุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน

อ่านเพิ่ม
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
ข้อมูลโรคลมชักสำหรับผู้ชาย
ข้อมูลโรคลมชักสำหรับผู้ชาย

ข้อมูลโรคลมชักสำหรับผู้ชาย

อ่านเพิ่ม