ข้อมูลโรคลมชักสำหรับผู้ชาย

ข้อมูลโรคลมชักสำหรับผู้ชาย
เผยแพร่ครั้งแรก 22 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ข้อมูลโรคลมชักสำหรับผู้ชาย

แม้ว่าโรคลมชักจะเป็นหนึ่งในความผิดปกติของระบบประสาทที่พบได้บ่อย แต่มันก็ยังเป็นโรคที่ทุกคนหวาดกลัวและมีความเข้าใจผิดอยู่มาก ในผู้ป่วยโรคลมชักนั้นจะมีการส่งผ่านกระแสประสาทในสมองที่ผิดปกติไปซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและกระตุ้นให้เกิดอาการชัก 

มีการประมาณคร่าว ๆ ว่าจะมีประชากร 1 ในทุก ๆ 200 คนที่จะมีอาการชักอย่างน้อย 1 ครั้งตลอดชีวิต อาการชักนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกขณะ แต่มักจะพบบ่อยในช่วง 20 ปีแรกของชีวิตและในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคลมชักมากกว่าครึ่งนั้นเริ่มมีอาการครั้งแรกเมื่ออายุน้อยกว่า 15 ปี 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการชักเรื้อรังนั้นใช้เรียกอาการชักที่เกิดขึ้นยาวนานต่อเนื่องมากกว่า 5 ปี ผู้ชายมักจะมีแนวโน้มมากกว่าผู้หญิง และกลุ่มผู้ที่มีความผิดปกติด้านการเรียนรู้นั้นจะมีโอกาสเกิดโรคมากกว่าคนปกติประมาณ 30% 

สาเหตุของการเกิดโรคลมชัก 

ผู้ป่วยประมาณ 60% นั้นไม่สามารถระบุสาเหตุได้ สำหรับอีก 40% ที่เหลือนั้นมีอาการชักซึ่งมีสาเหตุมาจากสมอง ส่วนหนึ่งอาจเกี่ยวข้องกับอายุที่เพิ่มขึ้นแต่ยังอาจเกี่ยวข้องกับสาเหตุอื่น เช่น 

อาการชักในทารกมักแสดงถึงการทำลายสมองซึ่งเกิดขึ้นก่อนหรือขณะคลอด นอกจากนั้นยังมีบางหลักฐานที่สนับสนุนว่าโรคลมชักนั้นอาจมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ 

การใช้แอลกอฮอล์และยาเสพติดนั้นอาจทำให้เกิดอาการชักได้เช่นเดียวกัน 

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการชัก

อาการชักสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ หลายครั้งที่มักจะมีปัจจัยกระตุ้น เช่น 

  • นอนหลับไม่เพียงพอ
  • แอลกอฮอล์ โดยเฉพาะหากเกี่ยวข้องกับการนอนไม่พอ
  • ความเครียด
  • ไวต่อแสง เช่น แสงแฟลช เป็นต้น

การทดสอบเพื่อวินิจฉัยโรคลมชัก

ต้องเข้าใจก่อนว่าทุกคนมีโอกาสที่จะเกิดอาการชักและบางครั้งอาจมีภาวะอื่น ๆ ที่เกิดอาการที่คล้ายกับโรคลมชักได้ การวินิจฉัยมักจะเกิดขึ้นจากการสังเกตและระบุสภาพแวดล้อมที่ผิดปกติ เช่น ความหิว กระหายน้ำ ความเครียด สุขภาพโดยรวม ประวัติครอบครัว และประวัติโรคประจำตัว การทดสอบที่อาจส่งเพื่อช่วยในการวินิจฉัยนั้นประกอบด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • Electroencephalogram (EEG) เป็นการวัดคลื่นการทำงานของสมอง
  • Video telemetry เป็นการสังเกตผู้ป่วยผ่านการถ่ายวิดีโอที่บันทึกภาพไว้ต่อเนื่อง
  • การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของสมอง
  • การตรวจเลือด
  • Cerebral angiography เป็นการตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือด
  • Echoencephalogram ใช้เพื่อตรวจหาความผิดปกติของโครงสร้างในสมอง
  • Skull roentgenogram เพื่อหากระดูกแตก กระดูกที่กร่อน หรือการสะสมของแคลเซียมผิดปกติ

ยาที่ใช้ในการรักษาโรคลมชัก

หากมีอาการชักเพียง 1 ครั้งอาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษาแต่หากเกิดการชักซ้ำนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้ารับการรักษา ในยุคก่อนปี 1970 มีวิธีการรักษาที่เรียกว่า polytherapy คือการใช้ยาร่วมกันหลายชนิด 

แต่ในปัจจุบันการรักษาแบบ monotherapy หรือการใช้ยาเพียงชนิดเดียวนั้นได้รับการยอมรับมากขึ้นโดยจะเลือกใช้ยาจากการตรวจและการวินิจฉัยผู้ป่วย ยากันชักสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม 

ยากันชักประกอบด้วย Ethosuximide, phenytoin, lamotrigine, carbamazepine, sodium valproate, piracetam, primidone, acetazolamide, clobazam, clonazepam, gabapentin, phenobarbitone, vigabatrin  

แหล่งข้อมูลของบทความ : ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
nhs.uk, epilepsy (https://www.nhs.uk/conditions/epilepsy/), 4 September 2017
Jeanne Morrison, PhD, MSN, Everything You Need to Know About Epilepsy (https://www.healthline.com/health/epilepsy), January 9, 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)