ผู้ป่วยโรคลมชักจะมีอาการชักซ้ำหลายครั้ง ซึ่งอาการชักแต่ละครั้งจะมีรูปแบบคล้ายๆ เดิม โดยหลักๆ แล้วจะแบ่งอาการชักออกเป็น 2 ประเภท คือการชักเฉพาะที่ คือมีอาการที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย และอีกประเภทคือการชักทั้งตัวหรือการชักทั่วไป
อาการหลักของโรคลมชักคืออาการชักซ้ำ การชักมีอยู่หลายประเภทขึ้นอยู่กับบริเวณของสมองที่ได้รับผลกระทบ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ผู้ที่เป็นโรคลมชักอาจพบอาการชักแบบใดก็ได้ แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะมีอาการชักในรูปแบบเดิมเสมอ
อาการชักสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งตอนตื่นนอน หรือตอนนอนหลับ
แพทย์ได้จัดแบ่งประเภทของอาการชักจากบริเวณของสมองที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่:
- การชักเฉพาะที่ (partial of focal seizures)-คือการชักที่เกิดขึ้นจากสมองบริเวณเล็กๆ บริเวณใดบริเวณหนึ่งของสมองที่ได้รับผลกระทบ
- การชักทั่วไป (generalized seizures)-คือการชักที่เกิดขึ้นจากสมองเกือบทั้งหมดหรือสมองทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบ
อาการชักบางครั้งไม่สามารถจัดให้อยู่ในกลุ่มประเภทข้างต้นได้หรือที่เรียกว่า อาการชักแบบไม่สามารถระบุชนิดได้
การชักเฉพาะที่ (Partial seizures)
การชักเฉพาะที่สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดหลัก ได้แก่
การชักเฉพาะที่แบบมีสติ (simple partial seizures)
การชักเฉพาะที่ชนิดนี้ผู้ป่วยจะยังมีสติอยู่
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการของการชักเฉพาะที่แบบมีสติ ได้แก่
- ความรู้สึกแปลก ๆ ที่ยากจะอธิบาย
- มีความรู้สึกจุกแน่นท้อง
- ความรู้สึกอย่างคุ้นเคยว่าเหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาก่อน (déjà vu; เดจาวู)
- รู้สึกได้กลิ่นหรือรสชาติผิดปกติ
- มีอาการชา หรือรู้สึกเหมือนถูกเข็มตำ ที่แขนและขา
- มีความรู้สึกกลัวหรือมีความสุขอย่างรุนแรงและฉับพลัน
- มีอาการเกร็ง หรือกระตุกที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น แขน หรือ มือ
การชักชนิดนี้บางครั้งเรียกว่าเป็น อาการเตือนก่อนการชัก หรือ auras เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณเตือนของการชักชนิดอื่นๆ ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งอาการเตือนนี้จะช่วยให้คุณมีเวลามากพอที่จะเตือนผู้อื่นที่อยู่รอบๆ ตัวคุณ และเพื่อเตือนให้คุณอยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัยก่อนเกิดอาการชัก
การชักเฉพาะที่แบบขาดสติ (Complex partial seizures)
การชักชนิดนี้ผู้ป่วยจะขาดสติ ไม่ตอบสนอง และเมื่ออาการชักได้หยุดลง ผู้ป่วยจะไม่สามารถจดจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้
อาการของการชักเฉพาะที่แบบขาดสติมักจะแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น:
- เลียริมฝีปาก
- ถูมือไปมา
- แกว่งแขนไปรอบๆ
- ส่งเสียงแปลกๆ
- มีท่าทางผิดปกติ
- เคี้ยวปาก
- ดึงถอดเสื้อผ้า
- เดินหรือวิ่ง
ระหว่างที่มีการชักเฉพาะที่แบบขาดสติ คุณจะไม่สามารถตอบสนองต่อคนอื่นได้ และคุณจะสูญเสียความทรงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
การชักแบบทั่วไป (Generalised seizures)
การชักแบบทั่วไปแบ่งเป็น 6 ชนิดหลัก ได้แก่:
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ชักเหม่อ (Absences)
อาการชักเหม่อ หรือเรียกว่า petit mal ส่วนใหญ่แล้วจะพบในเด็ก แต่ก็สามารถพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน อาการชักนี้จะทำให้ผู้ป่วยเหม่อ ไม่รู้สึกตัว มักเป็นนานประมาณ 15 วินาที ผู้ป่วยจะเหมือนจ้องมองอย่างเหม่อลอย ในบางคนจะมีอาการกระพริบตาหรือเลียริมฝีปาก ผู้ป่วยจะจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างอาการชักไม่ได้
การชักเหม่อสามารถชักได้หลายครั้งใน 1 วัน ซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนของเด็กที่โรงเรียน และอาจเป็นอันตรายได้หากมีอาการชักในช่วงเวลาที่เป็นอันตราย เช่น ขณะข้ามถนนที่มีความวุ่นวาย
ชักสะดุ้ง (myoclonic seizures)
การชักชนิดนี้จะทำให้แขน ขา หรือส่วนบนของร่างกายมีอาการกระตุกคล้ายสะดุ้ง คล้ายโดนไฟฟ้าช็อต อาการกระตุกแต่ละครั้งจะนานเพียงเสี้ยววินาที และโดยปกติแล้วคุณจะรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา
อาการชักสะดุ้งมักเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ชั่วโมงแรกหลังตื่นนอน และสามารถพบร่วมกับอาการชักแบบทั่วไปประเภทอื่นๆ ได้
ชักกระตุก (clonic seizures)
การชักชนิดนี้จะคล้ายกับอาการกระตุกที่พบในชักสะดุ้ง แต่อาการจะนานกว่า โดยทั่วไปมักนานถึง 2 นาที และอาจพบการหมดสติด้วย
ชักตัวอ่อน (atonic seizures)
การชักตัวอ่อนจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ยทั้งตัวทันที ซึ่งทำให้คุณมีโอกาสล้มลงที่พื้นและทำให้มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
ชักเกร็ง (Tonic seizures)
ชักเกร็งจะทำให้กล้ามเนื้อของคุณมีอาการเกร็งทั้งตัวอย่างกะทันหัน ซึ่งจะทำให้สูญเสียการทรงตัวและหกล้มได้ เช่นเดียวกับการชักตัวอ่อน ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้
ชักเกร็งกระตุกทั้งตัว (Tonic-clonic seizures)
อาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว หรือ convulsions หรือเรียกอีกอย่างว่า grand mal จะแบ่งการชักเป็น 2 ระยะ โดยคุณจะมีอาการกล้ามเนื้อเกร็งตามด้วยกล้ามเนื้อที่แขนและขากระตุก คุณจะหมดสติ และบางรายอาจพบปัสสาวะราดได้ อาการชักชนิดนี้มักเป็นไม่นานเกิน 5 นาที
การชักชนิดนี้คือการชักที่ทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นโรคลมชัก
จะทำอย่างไรถ้าพบคนมีอาการชัก
หากคุณพบเห็นคนที่มีอาการชัก มีคำแนะนำง่ายๆ ที่คุณสามารถทำได้เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการชักนั้น
หากพบเห็นคนชักเกร็งกระตุกทั้งตัว (Tonic-clonic seizures)
ถ้าคุณอยู่กับคนที่มีการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว:
- ปกป้องพวกเขาจากการบาดเจ็บ โดยเอาสิ่งของที่เป็นอันตรายหรือสิ่งของที่มีโอกาสเป็นอันตรายที่อยู่ใกล้ๆ ออกจากตัวผู้ที่มีอาการชัก และรองรับศีรษะเพื่อป้องกันไม่ให้กระแทกด้วยมือของคุณหรือด้วยวัสดุอ่อนนุ่ม
- อย่าผูกมัดผู้ป่วย หรือพยายามเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (เว้นแต่ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะที่อันตราย) และห้ามใส่อะไรลงในปากของผู้ป่วยที่มีอาการชัก
- ตั้งสติ ไม่ตื่นตระหนก และอยู่กับผู้ป่วยจนกว่าผู้ป่วยจะหายจากการชักและกลับมามีสติ
เมื่ออาการชักหยุดลง ให้จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนตะแคงจนกว่าผู้ป่วยจะกลับมาเป็นปกติดี
หากพบเห็นคนชักประเภทอื่นๆ
ถ้าคุณอยู่กับผู้ที่มีการชักประเภทอื่นๆ:
- ปกป้องพวกเขาจากการบาดเจ็บ โดยเอาสิ่งของที่เป็นอันตรายหรือสิ่งของที่มีโอกาสเป็นอันตรายที่อยู่ใกล้ๆ ออกจากตัวผู้ที่มีอาการชัก และรองรับศีรษะเพื่อป้องกันไม่ให้กระแทกด้วยมือของคุณหรือด้วยวัสดุอ่อนนุ่ม
- ขยับตัวผู้ป่วยเฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะที่อันตรายเท่านั้น
- อยู่กับผู้ป่วย และปลอบโยนพวกเขาจนกว่าพวกเขาจะฟื้นตัวเต็มที่
เมื่อใดที่ต้องโทรเรียกรถพยาบาล
โดยปกติมักไม่จำเป็นต้องโทรเรียกรถพยาบาลภายหลังมีอาการชัก อย่างไรก็ตามคุณควรโทรเรียกรถพยาบาลที่ 1669 ถ้า:
- การชักไม่หยุดหลังจาก 5 นาทีผ่านไป
- ผู้ป่วยมีการชักมากกว่า 1 ครั้งต่อเนื่องกัน
- คุณรู้ว่านี่คือการชักครั้งแรกของคนๆ นี้
- ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ หรือต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉินด้วยเหตุผลอื่นๆ
- พฤติกรรมของผู้ป่วยหลังมีอาการชักไม่ปลอดภัย
ภาวะชักต่อเนื่อง (Status epilepticus)
ภาวะชักต่อเนื่องคือชื่อเรียกของการชักใดๆ ก็ตาม ที่มีอาการนานกว่า 30 นาที หรือมีการชักต่อเนื่องแบบสามารถกลับมามีสติได้ ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด
คุณสามารถได้รับการฝึกอบรมเพื่อรักษาภาวะชักต่อเนื่องถ้าคุณต้องดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชัก แต่ถ้าคุณไม่เคยได้รับการฝึกอบรม สิ่งสำคัญคือต้องรีบโทรเรียกรถพยาบาลที่ 1669 ทันที หากคุณสงสัยว่าผู้ป่วยมีภาวะชักต่อเนื่อง
https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/epilepsy#symptoms