อาการชักจากไข้สูง ถือเป็นภาวะอันตรายที่พบมากในผู้ป่วยเด็ก ซึ่งผู้ปกครองจะต้องคอยระมัดระวัง และสังเกตอาการของเด็กว่าเสี่ยงทำให้เกิดอาการชักหรือไม่
แต่ภาวะชักจากไข้สูงมีปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดบ้าง แล้วมีวิธีรักษาได้อย่างไร มาลองอ่านพร้อมๆ กัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ความหมายของภาวะชักจากไข้สูง
ภาวะชักจากไข้สูง (Febrile convulsion) คือ อาการเกร็ง หรือกระตุกทั้งตัว ซึ่งเกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อเมื่อผู้ป่วยมีไข้สูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส มักพบในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 6 ขวบ แต่จะพบมากที่สุดในเด็กอายุ 1-2 ขวบ
สำหรับสาเหตุที่ภาวะชักมักเกิดในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ นั่นก็เพราะสมองของเด็กโดยเฉพาะในช่วงอายุ 3 ขวบแรกกำลังเจริญเติบโต ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิสมองในสมองเด็กจึงไวต่อการกระตุ้นทำให้เกิดภาวะชักได้มากกว่า
อาการของภาวะชักจากไข้สูง
ในเบื้องต้น ให้คุณวัดไข้เด็กก่อนว่า มีอุณหภูมิร่างกายเท่าไร ซึ่งหากมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ก็ถือว่าเสี่ยงเกิดอาการชักได้
นอกจากนี้ เด็กที่มีไข้สูงจะตัวร้อน เหงื่อออก รู้สึกหนาวสั่น เบื่ออาหาร อ่อนเพลียมาก อัตราการเต้นของหัวใจ และการหายใจเพิ่มขึ้น
เมื่ออุณหภูมิร่างกายของเด็กสูงขึ้น จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการเมตาบอลิซึมในเซลล์ประสาท ส่งผลให้เด็กเกิดภาวะชักขึ้น โดยจะมีลักษณะอาการต่อไปนี้
- เกิดอาการเกร็งกระตุก
- ไม่รู้สึกตัว
- กล้ามเนื้อใบหน้า แขน ขา และส่วนอื่นๆ บิดเกร็ง สั่น
- ตากลอกไปข้างหลัง
- น้ำลายฟูมปาก
- กัดฟันแน่น
- หายใจลำบาก หรืออาจหยุดหายใจไปประมาณ 30 วินาที ซึ่งจะทำให้เกิดอาการตัวเขียวขึ้น
- หลายรายมักไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ หรืออุจจาระได้
สาเหตุของภาวะชักจากไข้สูง
หลายคนมักเข้าใจผิดว่า ภาวะชักต้องเกี่ยวข้องกับระบบสมอง หรือระบบประสาท ซึ่งความจริงแล้วเป็นเรื่องเข้าใจผิด เพราะภาวะชักจากไข้สูงมักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในระบบต่างๆ ของร่างกายมากกว่า เช่น
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- การติดเชื้อแบคทีเรีย ในระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ
- หูชั้นกลางอักเสบ
- โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
- โรคลำไส้อักเสบ
- ต่อมทอนซิลอักเสบ
- การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
- โรคไข้เลือดออก
- โรคไข้หวัดใหญ่
- โรคไข้ไทฟอยด์
- โรคอีสุกอีใส
- อาการต่อมน้ำเหลืองโต
- โรคมะเร็ง
นอกจากนี้ ผู้ป่วยมีประวัติคนในครอบครัว หรือญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่สาวหรือน้องชาย) ที่มีประวัติอาการชักจากไข้มาก่อน ความเสี่ยงต่อการเกิดอาการชักจากไข้ก็จะเพิ่มขึ้น
ประเภทของภาวะชักจากไข้สูง
ภาวะชักจากไข้สูงแบ่งออกได้ 2 ประเภท ได้แก่
1. ภาวะชักจากไข้ชนิดไม่ซับซ้อน (Simple febrile convulsion) เป็นภาวะชักที่พบได้มากที่สุด โดยจะมีลักษณะดังนี้ คือ
- ก่อนเกิดภาวะชัก ระบบประสาทกับพัฒนาการของผู้ป่วยยังไม่มีลักษณะผิดปกติ
- ระยะเวลาอาการชักมักจะไม่เกิน 15 นาที
- ลักษณะการชักจะชักแบบทั้งตัว (Tonic-clonic seizure)
- ภายหลังการชักจะไม่พบความผิดปกติของระบบประสาท และคลื่นสมอง
- ผู้ป่วยมักมีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะชักจากไข้สูงเช่นเดียวกัน
2. ภาวะชักจากไข้ชนิดซับซ้อน (Complex febrile convulsion) เป็นภาวะชักชนิดพบได้น้อย โดยจะมีลักษณะดังนี้
- ก่อนเกิดอาการชัก ระบบประสาท และพัฒนาการผู้ป่วยจะมีลักษณะผิดปกติ
- ระยะเวลาอาการชักมักนานกว่า 10-15 นาที และอาจมีอาการชักซ้ำอีกครั้งภายใน 24 ชั่วโมง
- ลักษณะอาการชักเป็นแบบเฉพาะที่ หรืออาจชักทั้งตัวก็ได้
- ร่างกายไม่สามารถกลับมาฟื้นฟูเป็นปกติได้หลังชักภายใน 1 ชั่วโมง
- ภายหลังการชัก จะพบว่า ระบบประสาทเกิดมีความผิดปกติ เช่น เป็นอัมพาต
- เด็กอาจเริ่มชักครั้งแรกได้ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 6 เดือน หรือเด็กอายุมากกว่า 3 ขวบก็อาจชักชนิดนี้ได้
- มีประวัติคนในครอบครัวมีลมชักแบบลมบ้าหมู
สำหรับปัจจัยที่อาจทำให้เด็กเกิดภาวะชักซ้ำได้อีกครั้ง ได้แก่ ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส อายุซึ่งยิ่งน้อยก็จะยิ่งมีโอกาสชักซ้ำมากกว่า ความบกพร่องของระบบประสาท หรือมีพัฒนาการช้า
ช่วงเวลาที่ชักก็เป็นปัจจัยทำให้เกิดภาวะชักซ้ำได้ โดยเด็กที่ชักขณะหลับมักจะมีโอกาสชักซ้ำกว่าเด็กที่ชักขณะตื่น รวมถึงหากเด็กมีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะชักขณะไม่มีไข้ ก็มีโอกาสชักซ้ำได้มากกว่า
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเด็กเกิดภาวะชัก
อย่างแรกที่ผู้ปกครองจะต้องทำ คือ ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก แล้วรีบทำตามคำแนะนำต่อไปนี้
- จับเด็กให้นอนราบหันตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อไม่ให้เด็กสำลักน้ำลาย และเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
- รีบเคลื่อนย้ายของมีคม สิ่งที่อาจกระแทก หรือทำให้เด็กบาดเจ็บออกไปให้ห่างตัว
- ถอดเสื้อผ้าเด็กออกเพื่อให้ง่ายต่อการลดอุณหภูมิร่างกาย
- หากเด็กมีอาการอาเจียน ให้ล้วงออกให้หมด แต่ระมัดระวังอย่าให้เด็กสำลัก
- ไม่ต้องจับเด็กตรึงไว้กับที่ แต่ให้ประคองตัวเด็กไว้ในระหว่างที่ชักก็พอ ทางที่ดีให้จับเวลาด้วยว่า ระยะเวลาที่เด็กชักนานเท่าไร ลักษณะการชัก ระดับความรู้สึก และการรับรู้ของเด็กขณะชัก
- ระหว่างที่เด็กชัก ให้งดรับประทานอาหารทุกชนิด รวมถึงน้ำด้วย
- เช็ดตัวเด็กด้วยน้ำอุ่น และให้ลองกดนวดตัวเด็กในระหว่างเช็ดด้วยเพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด
- ห้ามเอาวัตถุเข้าปากเด็กเพื่อป้องกันการกัดลิ้น แม้แต่ยาก็ห้าม เพราะเด็กอาจเกิดอาการบาดเจ็บในช่องปาก
หากเด็กมีอาการชักนานเกิน 5 นาที ให้ติดต่อแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลทันที และหากเด็กมีอาการหน้าเขียวเกิดขึ้นระหว่างชักเล็กน้อย ก็อย่าเพิ่งตกใจ เพราะเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ระหว่างเกิดภาวะชัก
และหลังจากเด็กหยุดชักแล้ว หากมีอาการตกใจ ให้ผู้ดูแล หรือพ่อแม่ปลอบโยนเด็กให้คลายความวิตกกังวล และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยก็ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการชัก รวมถึงวิธีปฐมพยาบาลกันทุกคนด้วย
การวินิจฉัยภาวะชักจากไข้สูง
ในเบื้องต้น แพทย์จะสอบถามประวัติสุขภาพของผู้ป่วยก่อน และหากผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยได้จดรายละเอียดภาวะชักของผู้ป่วยได้ด้วย ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัย เช่น
- อาการชักครั้งสุดท้ายเป็นนานแค่ไหนจึงจะหยุดชัก
- มีอาการอะไรเกิดขึ้นบ้าง เช่น ตัวแข็ง การกระตุกของใบหน้า แขน และขา อาการจ้องมองไปในอากาศ ลักษณะการกลอกตา และการหมดสติ
- ผู้ป่วยฟื้นตัวจากอาการชักภายในหนึ่งชั่วโมงหรือไม่
- ผู้ป่วยคุณเคยมีอาการชักมาก่อนหรือไม่
นอกจากนี้ แพทย์อาจสอบถามถึงการเลี้ยงดู วิถีการใช้ชีวิตของผู้ป่วย สิ่งแวดล้อมรอบตัวเพื่อประเมินโอกาสการติดเชื้อโรคต่างๆ ที่นำไปสู่การเกิดภาวะชัดด้วย
จากนั้นแพทย์จะเริ่มตรวจร่างกายโดยเฉพาะระบบประสาทอย่างละเอียด เพื่อแยกโรคเกี่ยวกับระบบประสาท หรือทางสมอง เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคไข้สมองอักเสบ
ซึ่งหากตรวจพบว่า เด็กมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อในสมอง หรือระบบประสาท แพทย์จะตรวจโดยการเจาะน้ำไขสันหลัง (Lumbar puncture) ซึ่งจะมีการฉีดยาชาเฉพาะที่ แล้วใช้เข็มเจาะบริเวณฐานของกระดูกสันหลังเพื่อดูดตัวอย่างน้ำไขสันหลังออกมา
นอกจากนี้ แพทย์อาจให้ผู้ป่วยตรวจเลือด และปัสสาวะเพื่อหาสาเหตุของการติดเชื้อ และตรวจหาเกลือแร่ในเลือด รวมถึงอาจให้ตรวจคลื่นสมอง (Electroencephalography: EEG) ในกรณีที่ผู้ป่วยชักบ่อย
การรักษาภาวะชักจากไข้สูง
การรักษาภาวะชักจากไข้สูงแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
1. ระยะที่กำลังมีอาการชัก มีจุดมุ่งหมาย คือ ทำให้ผู้ป่วยหยุดชักโดยเร็วที่สุด โดยแพทย์จะให้ยาไดอาซีแพม (Diazepam) เข้าทางเส้นเลือดประมาณ 0.2-0.3 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุกๆ 15 นาทีหากยังไม่หยุดชัก
2. ระยะหลังจากหยุดชัก แพทย์จะตรวจร่างกาย หาปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอาการชักซ้ำ และซักประวัติเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของอาการชัก และทำการรักษาต่อไป
คุณสามารถให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดไข้อย่างพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เพื่อลดไข้ได้ แต่ยานี้ไม่ได้มีส่วนช่วยลดโอกาสทำให้ชักน้อยลงแต่อย่างใด
การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะชักจากไข้สูง
เพื่อป้องกันภาวะชัก คุณต้องดูแลไม่ให้ผู้ป่วยมีไข้สูงขึ้นจนเกิดความเสี่ยง และเพื่อให้ง่ายต่อการดูแลรักษาเองด้วย มิฉะนั้น ทั้งผู้ดูแล คนในครอบครัว ผู้อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยก็จะต้องวิตกกังวลเรื่องภาวะชักอยู่ตลอด
คุณสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยได้ ดังต่อไปนี้
- ดูแลไม่ให้ผู้ป่วยใส่เสื้อผ้าที่รัด หรือหนาเกินไป เพื่อให้ร่างกายได้ระบายอุณหภูมิความร้อนได้
- เช็ดตัวผู้ป่วยด้วยน้ำธรรมดา หรือน้ำอุ่น หากคุณไม่รู้วิธีเช็ดตัวอย่างถูกต้อง ควรลองสอบถาม หรือขอให้พยาบาลสาธิตให้ดู
- ให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดไข้
- วัดสัญญาณชีพผู้ป่วยทุก 4 ชั่วโมง
- เตรียมไม้กดลิ้นไว้ข้างเตียงสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการชักเกร็ง แต่ควรสอบถามแพทย์ หรือพยาบาลเกี่ยวกับวิธีใช้อย่างถูกต้องด้วย
- ไม่วางสิ่งของใกล้ตัวผู้ป่วยจนรก แต่ควรจัดสิ่งแวดล้อมรอบเตียงให้ดูโล่งสบายตา เมื่อผู้ป่วยเกิดภาวะชัก ก็จะช่วยให้ไม่เกิดอุบัติเหตุขึ้นด้วย
- ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้เพียงพอ ข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก หรือหากต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ก็ต้องให้ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารอย่างเพียงพอตามแผนการรักษา
- อย่าปล่อยให้ผู้ป่วยอ่อนเพลีย และต้องพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- ยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยตกเตียงเมื่อเกิดภาวะชัก
ภาวะชักสามารถส่งผลต่อระบบประสาท และพัฒนาการของผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็กที่สมองกำลังเติบโต ภาวะนี้อาจเป็นผลให้เด็กมีพัฒนาการช้ากว่าปกติได้ ทั้งยังทำให้สุขภาพจิตของพ่อแม่ ผู้อยู่ใกล้ชิดวิตกกังวลไปด้วย
เมื่อคุณสังเกตเห็นว่า คนใกล้ชิดมีอาการไข้สูง ให้รีบปฐมพยาบาลเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายทันที จะได้ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะชัก และยังทำให้อาการเจ็บป่วยหายได้เร็วขึ้นด้วย
ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ หรือฉีดวัคซีนเด็ก เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android