January 23, 2017 15:24
ตอบโดย
ฐิติพร ตั้งวิวัฒนาพานิช (พญ.)
ถ้าปวดเข่าจากข้อเข่าเสื่อม รักษาไม่หายค่ะ ถ้าเกิดจากโรคข้ออักเสบอื่นๆ เช่น เก๊าท์ รูมาตอย หากกินยาอย่างถูกต้องประจำจะสามารถลดอาการปวดได้ แต่อาจมีอาการกำเริบได้เป็นระยะๆ ในโรคข้อเข่าเสื่อม โรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย เกิดขึ้นตามอายุไขปกติ นั่นแสดงว่ารักษาไม่หายขาดค่ะ มีแต่บรรเทาหรือชะลอความเสื่อมไม่ให้เพิ่มขึ้นหรือเสื่อมเพิ่มเร็วเกินไป เหมือนของใช้ยิ่งใช้ยิ่งนานวันวัสดุที่ทำมันก็เสื่อมลง อยากให้เหมือนใหม่มันไม่ได้ ก็ต้องซื้อใหม่ แต่อวัยวะของมนุษย์เรามันไม่ได้เปลี่ยนของใหม่ได้ ไม่ได้มีอะไหล่ โดยส่วนที่เสื่อมของข้อเข่านั้นก็คือกระดูกอ่อนที่รองรับน้ำหนักระหว่างกระดูกต้นขาและปลายขา เมื่อกระดูกไม่สัมผัสกันเราจึงไม่เจ็บปวด เมื่อนานๆไปเราใช้งานเข่า เราอายุมากขึ้น กระดูกอ่อนที่เคยรองรับอยู่ก็กร่อนสึกไปเรื่อยๆ กระดูกชนกระดูกก็เจ็บค่ะ การชะลอการเสื่อมของข้อเข่าสามารถทำได้โดยงดเว้นท่าทางที่ต้องใช้เข่ารับน้ำหนักมาก เช่น คุกเข่า นั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิ ย่อเข่าเก็บของ ขึ้นบันได ยืนหรือเดินเป็นเวลานานๆติดต่อกัน หรือออกกำลังที่ต้องกระโดดเยอะ สำคัญอย่าลืมลดน้ำหนักควบคุมอาหาร เพราะยิ่งน้ำหนักมาก ข้อเข่าก็ยิ่งต้องแบกรับภาระน้ำหนักมากขึ้นไปด้วย หมั่นออกกำลังเพื่อบริหารกล้ามเนื้อและเอ็นรอบๆหัวเข่าและต้นขาให้แข็งแรงทดแทนข้อที่เสื่อมไป อาจเริ่มด้วยการใช้ถุงทราย ถุงพลาสติกถ่วงขวดน้ำมาแขวนไว้ที่ข้อเท้า แล้วนั่งเก้าอี้ ใช้ขาออกแรงยกน้ำหนักขึ้น ทำซ้ำๆทุกวัน วันละ 50 - 100 ครั้ง อาจค่อยๆเพิ่มน้ำหนักถ่วงด้วยค่ะ สำหรับการรักษานั้นเน้นไปที่การออกกำลัง กายภาพ การใช้ยาแก้ปวดชนิดกินหรือฉีดยาเข้าข้อ หากต้องการให้อาการปวดหายไปต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโดยแพทย์ศัลยกรรมกระดูก โดยแพทย์จะไถพื้นผิวกระดูกจริงออกแล้วใช้ซีเมนต์หล่อเป็นรูปข้อเทียมใส่เข้าไปแทน จะใช้เวลาพักฟื้นสักระยะหนึ่ง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ปวดเข่าทั้งสองข้างจนเดินไม่ไหว
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)