October 24, 2018 16:07
ตอบโดย
สุพิชชา แสงทองพราว (พญ.)
สวัสดีค่ะ อาการปวดศีรษะ ร่วมกับตาพร่ามัว เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ เช่น
- สาเหตุมาจากดวงตา เช่น กล้ามเนื้อตาล้า จากการทำงานหนัก ใช้สายตามาก เพ่งหน้าจอนานๆ อาการมักจะเป็นชั่วคราว เมื่อพักสายตาแล้วจะดีขึ้น
-ปวดศีรษะตาพร่า จากสายตาที่ผิดปกติไป เช่นสายตาสั้นหรือยาวมากขึ้น หรือสายตาเอียง จะทำให้ต้องเพ่งตามากๆเพื่อปรับการมองเห็นให้ชัดเจนขึ้นจึงทำให้ปวดศีรษะได้ได้
-ปวดศีรษะตาพร่ามัว ตาจากความดันลูกตาสูง เช่นโรคต้อหิน ทำให้มีอาการปวดตาได้ อาจมีอาการตาพร่ามัว หรือตาแดงอักเสบร่วมด้วยได้
- สาเหตุจากสมอง เช่น โรคไมเกรน อาการจะมีปวดศีรษะข้างเดียว ร้าวมากระบอกตา เห็นแสงออร่าหรือไม่เห็นก็ได้ คลื่นไส้อาเจียนได้ มักมีปัจจัยกระตุ้นเช่น เจอแสงแดดจัด ร้อนจัด ความเครียดสูง พักผ่อนไม่เพียงพอ ก็จะกระตุ้นอาการของไมเกรนได้
เนื้องอกในสมอง อาจทำให้มีอาการปวดศีรษะข้างเดียวร่วมกับปวดตาได้ มักจะมีอาเจียนมาก ลักษณะแบบอาเจียนพุ่งเนื่องจากมีความดันในสมองขึ้นสูง โดยไม่ได้มีปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ
- สาเหตุอื่นๆ เช่น โรคโพรงจมูกหรือไซนัสอักเสบ สามารถทำให้มีอาการปวดบริเวณศีรษะได้เช่นกัน ผู้ป่วยมักจะมีอาการอื่นๆร่วมด้วยเช่น คัดแน่นจมูกนำมาก่อน น้ำมูกมีกลิ่นเหม็น รู้สึกปวดจากโพรงจมูกร้าวมากระบอกตา เป็นต้น
แนะนำให้นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการใช้สายตาต่อเนื่องเป็นเวลานาน เบื้องต้นสามารถไปวัดสายตาที่ร้านแว่นเพื่อดูว่าสายตาผิดปกติหรอไม่ สามารถทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้ หากอาการไม่ดีขึ้น หรือปวดมากขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์อีกครั้ง
กรณีต้องการทำ MRI สมอง โดยไม่มีข้อบ่งชี้จากแพทย์ ค่าตรวจจะขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาล โดยทั่วไปราคาประมาณ 10,000-15,000 บาทค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
กรณีของผม มีอาการอ่อนแรง ไม่กระปี่กระเป๋าเหมือนก่อนเป็นด้วยครับ ชาปลายมือ
ทำ mri สมองเท่าไหร่ครับ พอดีปวดหัวและตาพร่า เป็นมา ประมาน1อาทิตย์แล้ว ไปหาหมอหมอบอกว่าอาจจะเป็นเพราะเค้นตามาก
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)