March 17, 2017 11:42
ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
มีสองประเด็นปัญหาคือ
-นอนไม่หลับ
-ปวดหัวเข่า
ปัญหาการนอนไม่หลับ ไม่ว่าจะในวัยทอง ซึ่งฮอร์โมนเริ่มจะหมด แปรปรวน หรือจะเป็นในวัยชรา วัยใดก็ตาม ควรทดลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับสภาพการดำเนินชีวิตประจำวัน ดูเองก่อน
ลองวิธีการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา
1. จัดเวลานอนให้สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน
2. ควรเลิกสูบบุหรี่ และเลิกการดื่มเหล้าจัด
3. บางรายการเปลี่ยนฟูกเป็นสิ่งจำเป็น จากอย่างแข็งเป็นอย่างอ่อน หรือสลับกัน ควรเอาใจใส่ ผ้าคลุมเตียง ไม่ให้ร้อน หรือเย็นมากเกินไป รวมทั้งเสื้อผ้าที่ใส่นอน ควรนุ่ม สบาย อุณหภูมิห้องควรอยู่ในระดับพอดี แต่บางคนต้องการเพียงแค่นี้ก็เพียงพอแล้ว
4. การเปลี่ยนท่านอนอาจจำเป็นโดยเฉพาะ ถ้าเคยนอนในท่าที่ไม่สบาย บางคนเชื่อว่าไม่ควรนอนตะแคงซ้ายเพราะจะเป็นอันตรายต่อหัวใจ ควรจะแก้ความเข้าใจผิดเพราะบางคนชอบนอนตะแคงซ้าย พวกปฏิบัติธรรม นิยมนอนตะแคงขวา (สีห-ไสยาสน์) ผู้ป่วยโรคหอบหืดหรือหายใจลำบาก ควรนอนในลักษณะนั่งมากกว่านอนราบ คือยกศีรษะและลำตัวท่อนบนให้สูง
5. อาหารว่างที่ไม่หนักเกินไป อาจช่วยในการนอนหลับ เช่น น้ำส้ม นมอุ่น น้ำผลไม้อื่น ๆ มื้อเย็นควรงดน้ำชา กาแฟ รวมทั้งก่อนนอน
6. การอ่านหนังสือในเตียงนอนอาจเบนความสนใจจากความวิตกกังวล
7. ควรเลือกรายการโทรทัศน์ที่ไม่ตื่นเต้นมากเกินไป
8. อย่างไรก็ตามห้องนอนและเตียง ไม่ควรใช้สำหรับเป็นที่รับประทานอาหาร หรือของว่าง ดูโทรทัศน์ หรือทำธุรกิจต่าง ๆ
9. ไม่ควรให้มีเสียงหรือแสงรบกวนจนเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าการนอนหลับเป็นแบบตื่นตัวมากเกินไป อาจต้องนอนแยกกับคนที่นอนกรนเสียงดัง
10. การออกกำลังสม่ำเสมอทุกวันช่วยให้หลับดีขึ้น บางคนแนะนำให้เดินเร็วตอนเย็น และหลังจากนั้นให้อาบน้ำอุ่น
11. การผ่อนคลายความตึงเครียดทางเพศอาจช่วยได้
12. พยายามนอนให้มากตามที่ร่างกายต้องการจะได้รู้สึกสดชื่น
13. หลีกเลี่ยง “ความพยายามอย่างจริงจังที่จะทำให้หลับ” ควรมุ่งความสนใจไปที่กิจกรรมอื่น ๆ เช่น ทำงานที่น่าเบื่อ ดูรายการโฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์ เป็นต้น
14. อีกประการหนึ่งการกลัวนอนไม่หลับยิ่งทำให้ไม่หลับมากขึ้น ยิ่งกลัวยิ่งไม่หลับกลายเป็นวงจรติดต่อกันไป อาจสร้างภาระเงื่อนไข โดยสร้างความเกี่ยวโยงระหว่างการรับประทานยา กับกิจกรรมที่ทำเป็นนิสัย เมื่อการวางเงื่อนไขดังกล่าวเกิดขึ้น
15. กิจกรรมที่ทำเพียงอย่างเดียว อาจมีผลทดแทนยาได้ และทำให้การนอนหลับดีขึ้น
16. บางรายอาจต้องการเปลี่ยนแปลงเวลาในการนอน ผู้ป่วยที่ตื่นเช้าเกินไป หลังจากหลับไปแล้ว 6 ชั่วโมง หรือมากกว่า ควรยืดเวลาให้ช้ากว่าเดิม
17. การฝึกกรรมฐาน (สมาธิ) เช่นการกำหนดลมหายใจเข้าออก การสะกดจิตตนเอง การฝึกใช้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย อาจทำให้การนอนหลับดีขึ้น
ถ้าปฏิบัติตามวิธีการต่าง ๆ แล้วยังไม่หลับก็สมควรปรึกษาแพทย์หรือจิตแพทย์เพื่อแก้ไขต่อไป
***
ปวดหัวเข่า ถ้าไม่มีประวัติอุบัติเหตุ หรือได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ที่พบบ่อย ๆ คือจาก เข่าเสื่อม
• -โรคข้อเข่าเสื่อม คือโรคที่เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ ซึ่งเป็นผลมาจากอายุที่เพิ่มขึ้นและการใช้งานมาก เมื่อมีการใช้งานผิวข้อที่สึกจะมีการขัดสีกัน ทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่าตามมา
• -วิธีการรักษา ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการได้ โดยจุดมุ่งหมายในการรักษาคือ ช่วยบรรเทาอาการปวด ช่วยให้หน้าที่การใช้งานของข้อกลับคืนสู่ภาวะปกติหรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด และป้องกันหรือแก้ไขการผิดรูปของข้อ
การรักษามีแนวทางหลัก 2 วิธีได้แก่ การรักษาโดยวิธีการไม่ผ่าตัด และการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
• --การรักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัด
1. การปรับเปลี่ยนการใช้งานในชีวิตประจำวัน
- การพักหรือใช้งานข้อให้น้อยลง หลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินเป็นระยะเวลานาน
- หลีกเลี่ยงการนั่งงอเข่า เช่น คุกเข่า พับเพียบ ยองๆ ขัดสมาธิ หรือนั่งเก้าอี้ต่ำ
- หลีกเลี่ยงการเดินขึ้นลงบันไดโดยไม่จำเป็น ถ้าจำเป็นควรเดินช้าๆและขึ้นลงทีละขั้น
- หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งท่าเดียวนานๆ ควรเปลี่ยนท่าหรือขยับข้อเข่าอยู่เรื่อยๆ
- นั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก หรือใช้เก้าอี้ที่มีรูตรงกลางวางไว้เหนือคอห่านแทนการนั่งยองๆ ควรทำราวจับบริเวณโถนั่งเพื่อใช้ช่วยพยุงตัวเวลาจะนั่งหรือยืน
2. ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักอย่างถูกต้อง
3. การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน เช่น ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน จะช่วยลดแรงที่เกิดกับข้อได้
4. ที่นอนควรมีความสูงระดับเข่า ไม่ควรนอนบนพื้นเพราะจะปวดมากเวลาจะนอนหรือลุกขึ้น
5. การประคบอุ่นบริเวณข้อเข่า
6. การสวมสนับเข่า
7. การทำกายภาพบำบัด
8. การใช้ยา
- ยาแก้ปวดพาราเซตามอล
- ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
- ยาช่วยปรับเปลี่ยนโครงสร้างของข้อ เช่น กลูโคซามีนซัลเฟต
- ยาทาภายนอก
- การฉีดน้ำเลี้ยงไขข้อ
- การฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อ
• --การรักษาโดยวิธีการผ่าตัด
1. การล้างข้อโดยใช้วิธีการส่องกล้อง
2. การผ่าตัดจัดแนวกระดูกขา
3. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
หนูอายุ22 ปีคะ มีอาชีพเป้นพนักเอกชน ทำเอกสารวันๆนั่งยุกันที่ แต่ลอบปวดหัวเข่ามาก นอนหลับดึก ปวดหัวเข่ามากจนนอนไม่หลับ เป้นมาได้สักพักแล้วคะ เกิดจากอะไรคะ เป้นอะไรคะ
หนูอายุ 21ปีนี้ค่ะ ปวดเข่ามา 2 ปีกว่ารักษามาคุณหมอก็ไม่ทราบว่าเปนเพราะสาเหตุอะไร เคยฉีดยาเข้าเข่าแล้วดีขึ้น 2 วันล้ะกลับมาเป็นแบบเดิม คือตอนกลางคืน ปวดเข่า ล้ะ เสียงจะดังก๊อบแก๊บในเข่า ทุกคืน ต้องใช้สเปรย์บรรเทาอาการปวดฉีดทุกคืน อยากทราบว่าสาเหตุเกิดจากอะไรค่ะ แล้วสามารถหาวิธีรักษายังไงค่ะ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
นอนไม่ค่อยหลับ.,..ปวดหัวเข่า
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)