นอนหลับอย่างไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตื่นมาไม่ง่วง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 3 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

สำหรับคนที่นอนไม่เป็นเวลา เพราะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำงาน  สุดท้ายก็กลายเป็นคนนอนดึกจนติดเป็ฺนนิสัย และไม่สามารถกลับมานอนเร็ว หรือภายในช่วงเวลาปกติได้ เนื่องจากร่างกายของคนเรานั้น มักจะมีการปรับตัวจนเกิดความเคยชิน เพื่อให้เข้ากับการใช้ชีวิตประจำวันในแต่ละช่วงเวลาอยู่เสมอ ๆ และเพื่อให้ร่างกายของเราสามารถปรับตัว ให้เข้าสู่สภาวะปกติ โดยที่สามารถกลับมานอนหลับพักผ่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเคล็ดลับดังนี้

ควรมีเวลาให้กับตัวเอง กำหนดเวลาเข้านอนให้ชัดเจน

เวลาถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญ หากคุณวางระบบงาน จัดการเรื่องเวลานอนให้เป็นระบบ กำหนดเวลานอนให้ชัดเจน ซึ่งจะทำให้คุณมีเวลาให้กับตัวเองได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะช่วงเวลาแห่งการนอนหลับพักผ่อน ที่คุณจะต้องมีให้กับตัวเองอย่างมากที่สุด อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง เพราะช่วงเวลาแห่งการนอนหลับพักผ่อน จะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายของเรา ได้ซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ที่สึกหรอนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

งดการนอนหลับพักผ่อนในช่วงกลางวัน

การนอนหลับพักผ่อนในช่วงกลางวันเพียงไม่นาน นับได้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงของการปรับตัว เพื่อที่จะสามารถกลับมานอนหลับพักผ่อนได้ในระยะเวลาปกติ ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งสัญญาณกับร่างกายของเรา ว่าเวลานอน คือ ช่วงเวลาหัวค่ำหรือช่วงกลางคืนเท่านั้น และนอกจากนี้แล้ว ความอ่อนล้าจากช่วงกลางวัน จะทำให้ร่างกายของเรา พร้อมเข้าสู่สภาวะปกติ ด้วยการนอนหลับพักผ่อนในช่วงเวลาที่เหมาะสมได้มากยิ่งขึ้น

ควรจัดห้องนอนให้ไร้แสงและเสียงรบกวน

กลุ่มคนวัยหนุ่มสาวส่วนใหญ่ และกลุ่มคนวัยทำงาน มักจะมีระบบประสาทและสมองที่ไวต่อสิ่งเร้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แสงและเสียง มักจะเป็นสิ่งรบกวนในช่วงเวลานอน ทำให้หลายคนอาจจะนอนได้ไม่เต็มที่ หากต้องค้นพบกับปัญหาเหล่านี้ เพราะฉะนั้น การตกแต่งและจัดห้องนอนอย่างเหมาะสม จะช่วยให้คุณนอนหลับพักผ่อนได้สนิทอย่างยาวนาน

การอ่านหนังสือกระตุ้นให้เกิดอาการง่วงนอน

สำหรับคนที่ต้องทำงานกับสื่อต่าง ๆ เช่นคนในยุคปัจจุบัน หนังสือดูเหมือนจะเป็นสื่อที่นิ่งที่สุด หากอยากให้ตัวเองนอนหลับได้อีกครั้ง การค้นหาหนังสือที่คุณชอบ เนื้อหาที่คุณว่าใช่ ซึ่งในส่วนของเนื้อหาจะต้องไม่ตื่นเต้นจนเกินไป เมื่อคุณอ่านหนังสือก่อนนอน หนังสือจะเป็นตัวช่วยขนานดีที่ทำให้คุณรู้สึกง่วง และสามารถนอนหลับพักผ่อนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

ตัดอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิด

การนอนหลับจะกลายเป็นเรื่องยาก หากจิตใจของคุณยังยึดติดอยู่ที่โทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดที่คุณมีอยู่ ซึ่งช่วงเวลาที่เตรียมตัวสำหรับการพักผ่อน คุณควรที่จะนำเครื่องมือสื่อสารเหล่านี้ ออกไปให้ห่างจากตัวคุณ รวมไปถึงการดูทีวี และการคิดเรื่องงานอื่น ๆ ด้วย เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว สมองจะสั่งการให้ร่างกายของคุณ ต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา จนไม่สามารถนอนหลับพักผ่อนได้นั่นเอง

ถ้าหากคุณพักผ่อนไม่เพียงพอ พักผ่อนน้อยจนเกินไป หรือแม้กระทั่งการนอนผิดเวลา พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ร่างกายของคุณอ่อนแอ จนกระทั่งล้มป่วยไปในที่สุด

การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ถือได้ว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะส่งผลต่อสุขภาพของคุณโดยตรง ซึ่งคุณสามารถจัดการเรื่องเวลา และเน้นย้ำไปกับการให้เวลาให้กับตัวเอง นับได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ยิ่งถ้าหากคุณรู้จักวางแผนในเรื่องของเวลา นอกจากจะทำให้คุณสามารถทำงานออกมาได้ดี มีระบบ คุณยังสามารถมีช่วงเวลาในการนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มที่อีกด้วย


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Can’t Wake Up: Tips to Make the Morning Easier. WebMD. (https://www.webmd.com/sleep-disorders/ss/slideshow-wakeup-tips)
How to Sleep Less: 18 Tips to Get to Sleep Faster and Feel Rested. Healthline. (https://www.healthline.com/health/healthy-sleep/how-to-sleep-less)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การนอน (Sleep)
การนอน (Sleep)

นอนเท่าไหร่ถึงจะพอ? ความรู้เรื่องการนอนเพื่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม
ความง่วงนอนคืออะไรและอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดได้บ่อย?
ความง่วงนอนคืออะไรและอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดได้บ่อย?

การรู้สึกว่าง่วงนอนอาจแสดงถึงความผิดปกติของการนอนหลับได้

อ่านเพิ่ม