March 06, 2017 20:57
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
โรคปวดหลังเป็นได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดจากแต่กำเนิด เช่น โพรงกระดูกสันหลังตีบ กระดูกสันหลังคด เป็นต้น สำหรับอาการปวดหลังที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็นส่วนหลังบาดเจ็บอันได้แก่ ทำงานยกของหนักมากเกินไป นั่งผิดท่า น้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรือการกระแทกบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ จากการเล่นกีฬา ถ้ามีอาการปวดหลังจากปัจจัยเหล่านี้ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมค่ะ และให้พัก ไม่ควรใช้งานหนักๆในขณะที่มีอาการปวดหลัง มิเช่นนั้นอาการจะแย่ลง แต่อาจให้ออกกำลังกายเบาๆแทนได้ หรือโยคะ บริหารกล้ามเนื้อส่วนหลังหรือให้นวดเบาๆในบริเวณที่ปวด ให้ประคบอุ่นบรรเทาอาการปวด นอกจากนี้ควรนอนหลับให้เพียงพอ ทานอาหารให้ครบห้าหมู่ หลีกเลี่ยงความเครียด
สำหรับอาการปวดที่เป็นมากอาจจะต้องกินยาแก้ปวด อาจให้เริ่มจากการกินพาราเซตามอลก่อน ถ้าไม่ไหวค่อยเริ่มกินยาแก้ปวดชนิดแก้อักเสบคือ NSAID เช่น Ibuprofen , Diclofenac, Naproxen เป็นต้น อาจกินหรือทายาคลายกล้ามเนื้อร่วมด้วย
ส่วนโรคปวดหลังที่เกิดจากกระดูกสันหลังได้แก่
1.หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated disc) เกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นออกมาจากแนวกระดูกสันหลัง ทำให้เบียดทับกับเส้นประสาท
2.โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบบริเวณเอว (Lumbar spinal stenosis) เกิดจากความเสื่อมของกระดูกสันหลังบริเวณเอว โพรงของเส้นประสาทจึงตีบแคบลง และกดทับเส้นประสาท
3.กระดูกสันหลังเอวเคลื่อน (Lumbar spondylolisthesis) คือโรคที่มีการเลื่อนตัวของข้อกระดูกสันหลังระดับเอวไปด้านหน้า หรืออาจเคลื่อนไปข้างหลังแต่พบได้น้อยกว่า
สามโรคนี้จะเกิดอาการปวดที่หลัง และถ้าเป็นมากอาจมีอาการปวดร้าวลงขา ร่วมกับอาการชา ขาอ่อนแรง วิธีวินิจฉัยคือ อาศัยจากการซักประวัติตรวจร่างกายเบื้องต้นและจากภาพเอ็กซเรย์ ได้แก่ MRI หรือ CT myelogram ซึ่งควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
มีอาการปวดหลังหนักมาก นั่งนาน ๆ ไม่ได่ ต้องทำยังงัย
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)