January 25, 2017 10:26
ตอบโดย
ทีมแพทย์ HonestDocs
อาการปวดหลังเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ
ไม่ว่าจะเป็นท่าทางที่ไม่ถูกต้อง หรือสภาพของกระดูกสันหลังเอง
โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจาก
ท่าทาง อิริยาบถ การเคลื่อนไหวร่างกาย และการใช้งานหลังที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุการปวดหลังที่พบได้บ่อยในคนวัยทำงานที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์นานๆ (โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค)
หากไม่ได้ใส่ใจกับท่านั่งที่ถูกต้อง มักจะนั่งด้วยท่าทางแบบหลังงอ ไหล่ห่อ และก้มคอเข้าหาจอคอมพิวเตอร์ ก็จะทำให้ปวดหลังเรื้อรังได้
การยกของหนักโดยใช้การก้มหลัง น้ำหนักทั้งหมดจะผ่านไปที่กระดูกสันหลังส่วนที่กำลังโค้งมากที่สุด
การบาดเจ็บบริเวณหลัง จากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา เช่น รักบี้ ฟุตบอล การมีการบาดเจ็บหรือมีการกระแทกอย่างต่อเนื่องส่งผลให้กระดูกสันหลังเสื่อมได้
ความผิดปกติของกระดูกสันหลังแต่กำเนิด เช่น โพรงกระดูกสันหลังตีบแต่กำเนิด กระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังมีมากหรือน้อยผิดปกติ
ภาวะของกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ ภาวะเหล่านี้ ได้แก่
หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ คือ ภาวะที่มีการแคบลงของโพรงกระดูกสันหลังเนื่องมาจากการหนาตัวขึ้นของกระดูกหรือเส้นเอ็น ทำให้เส้นประสาทที่วิ่งอยู่ในโพรงกระดูกถูกบีบรัดจากกระดูกหรือเส้นเอ็นที่มีการหนาตัวขึ้นจากการเสื่อมสภาพ
กระดูกสันหลังเคลื่อน เมื่อกระดูกสันหลังเสื่อมและเสียความมั่นคงแข็งแรงไป จะทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนได้ จะทำให้เกิดอาการปวดหลังมีการขยับ และอาจมีการปวดร้าวลงขาได้เมื่อมีการกดทับเส้นประสาท
ทั้งนี้ ถ้าหากมีอาการปวดหลังเป็นระยะเวลานาน
แนะนำให้ลองปรับเปลี่ยนอิริยาบทดูก่อนค่ะ หากยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วยตามข้อมูลด้านบน
แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยต่อไปค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ผมปวดหลังมา 3-4 เดือนแล้วควรทำยังไงดีครับ
อาการปวดหลังที่เป็นมานานควรทำอย่างไรดีค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)