กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

กระดูกสันหลังหัก

เผยแพร่ครั้งแรก 13 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
กระดูกสันหลังหัก

กระดูกสันหลังหักเป็นอีกหนึ่งตำแหน่งที่หักได้ง่าย และมีชนิดของการหักแตกต่างจากกระดูกส่วนอื่นๆ ได้แก่ ชนิดกระดูกหักเหตุอัด กล่าวคือ กระดูกสันหลังที่หักจะแบบ ยุบ และทรุดตัวลง ซึ่งถ้าทรุดตัวเคลื่อนไปด้านหลัง อาจกดไขสันหลัง ก่อให้เกิดอัมพาตได้

ปัจจัยเสี่ยงกระดูกสันหลังหัก

ปัจจัยเสี่ยงของกระดูกสันหลังหักที่พบบ่อยคือ จากภาวะกระดูกพรุนอายุที่เพิ่มขึ้น การตกจากที่สูง อุบัติเหตุทางรถยนต์ กีฬาประเภทใช้ความเร็วหรือรุนแรง และโรคมะเร็งแพร่กระจายเข้ากระดูกสันหลัง ซึ่งพบได้บ่อยจากโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาและตรวจกระดูกสันหลัง วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 72%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการกระดูกสันหลังหัก

  • อาการกระดูกสันหลังจากภาวะกระดูกพรุนหรือในผู้สูงอายุ ได้แก่ ตัวเตี้ยลง หรือคอสั้นลง ขึ้นกับตำแหน่งกระดูก ปวดเรื้อรัง บริเวณที่กระดูกทรุดตัว เช่น ปวดหลัง เมื่อกระดูกหลังทรุด ปวดร้าว ขา ลงแขน ไหล่ เมื่อกระดูกคอทรุดกดทับเส้นประสาทและปวดร้าว หรือชาลงขา บริเวณก้นกบ เมื่อกระดูกเอวทรุด กดทับเส้นประสาท
  • อาการกระดูกสันหลังหักจากอุบัติเหตุ มักเป็นอาการปวดรุนแรง ทันทีเฉียบพลันในตำแหน่งกระดูกหัก ร่วมกับบริเวณนั้นผิดรูป โก่ง ขยับเขยื้อนไม่ได้ เพราะปวดมาก บวม อาจฟกช้ำหรือเป็นแผลขึ้นกับความรุนแรงของอุบัติเหตุ และมีอาการชา แขนขาอ่อนแรงอุจจาระ/ปัสสาวะไม่ได้ เมื่อกระดูกหักทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง
  • อาการกระดูกสันหลังหักจากโรคมะเร็ง ได้แก่ อาการปวดหลังเรื้อรัง ซึ่งทวีอาการปวดขึ้นเรื่อยๆ ไม่สามารถบรรเทาได้ด้วยยาบรรเทาปวด และเมื่อปล่อยไว้นาน โรคมะเร็งอาจลุกลามเข้าไขสันหลังร่วมด้วย จนขาทั้งสองข้างเป็นอัมพาต

การวินิจฉัยกระดูกสันหลังหัก

นอกจากเป็นเช่นเดียวกับในการวินิจฉัยกระดูกหักทั่วไปแล้ว แพทย์อาจต้องตรวจตำแหน่งที่สงสัยว่ากระดูกสันหลังหักด้วยเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หรือเอ็มอาร์ไอด้วย

แนวทางการรักษา

เช่นเดียวกับในกระดูกหักทั่วไป แต่เมื่อกระดูกสันหลังหักกดทับไขสันหลังมักต้องเป็นการผ่าตัด และกรณีการใสเฝือกหรือเครื่องช่วยพยุง ต้องให้รัดกุมกว่ากระดูกส่วนอื่น เพื่อไม่ให้กระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับไขสันหลังซึ่งเป็นสาเหตุของอัมพาต ส่วนเมื่อเกิดจากโรคมะเร็ง การรักษามักเป็นการฉายสีรักษา อาจร่วมกับยาเคมีบำบัด ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของโรคมะเร็งและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

ผลข้างเคียงและความรุนแรง

ที่สำคัญคือ อาการปวดเรื้อรังในตำแหน่งที่หัก ตัวสั้น คอสั้น หลังโกง (ขึ้นกับตำแหน่งกระดูกหัก) และเมื่อกดทับไขสันหลังจึงจัดเป็นโรครุนแรง และโดยเฉพาะเมื่อสาเหตุเกิดการแพร่กระจายของโรคมะเร็ง

โดยทั่วไป กระดูกสันหลังจะซ่อมแซมตัวเองภายใน 8- 10 สัปดาห์หรือนานกว่านี้ ขึ้นกับความรุนแรงของโรค สุขภาพของผู้ป่วย และวิธีการรักษาแต่อาจไม่กลับเป็นปกติได้ดังเดิม

การดูแลตนเอง การพบแพทย์ และการป้องกันกระดูกสันหลังหัก

เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวมาแล้วในเรื่องกระดูกหักในภาพรวม ซึ่งรวมทั้งการป้องกันสาเหตุที่ป้องกันได้

 


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Spinal Cord Injury: Levels, Treatment, Symptoms, Recovery. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/spinal_cord_injury_treatments_and_rehabilitation/article.htm)
Lower back pain: Causes, treatment, and when to see a doctor. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/325381)
Spinal Compression Fracture Treatments: Medication, Surgery, and More. WebMD. (https://www.webmd.com/pain-management/guide/spinal-compression-fractures-treatments)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สาเหตุของอาการปวดหลังส่วนล่าง
สาเหตุของอาการปวดหลังส่วนล่าง

หากปวดหลังอย่านิ่งนอนใจ รีบหาสาเหตุเพื่อแก้ไขก่อนอาการจะลุกลาม

อ่านเพิ่ม
โรคกระดูกสันหลัง
โรคกระดูกสันหลัง

รู้จักโรคกระดูกสันหลัง ตั้งแต่อาการปวดหลัง จนไปถึงวิธีสังเกตอาการเบื้องต้นของโรคกระดูกสันหลัง ตัวอย่างของโรคกระดูกสันหลัง วิธีการรักษาและวิธีการป้องกัน

อ่านเพิ่ม