January 24, 2019 20:21
ตอบโดย
ศุภลักษณ์ แซ่จัง (พว.)
สวัสดีค่ะ อาการเบื่อไม่อยากคุยกับใคร อยากอยู่เฉยๆ นิ่งๆ สามารถเกิดได้ทั้งคนที่อยู่ในภาวะปกติ ที่มักจะมีอารมณ์เบื่อเมื่อมีเรื่องไม่สบายใจหรือมีเรื่องมากระทบจิตใจ หรือสามารถเกิดได้ในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าได้เช่นกันค่ะ อย่างแรกรบกวนให้ประเมินเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อ ไม่อยากทำอะไร และเหตุการณ์ใดที่ทำให้คิดว่า ตัวเองไม่สำคัญ เท่าที่เล่ามา เพื่อนยังมาคุยกับคุณ แสดงว่าเค้ายังเห็นความสำคัญในตัวคุณ แต่บางครั้งที่คุณรู้สึกหงุดหงิด อาจมีการแสดงออกที่ทำให้คนรอบข้างรับรู้ถึงความรู้สึกหงุดหงิดนั้น ทำให้ไม่กล้าคุยกับคุณ เดิมคุณเป็นคนร่าเริง พูดเยอะ หัวเราะง่าย ถือเป็นบุคลิกภาพที่ดีมากค่ะ รวมถึงคนรอบข้าง ก็ชอบและหวังให้คุณกลับมาเป็นคนร่าเริงเช่นเดิม ดังนั้น แนะนำให้หาสาเหตุที่ทำให้คุณรู้สึก เบื่อ ไม่สบายใจ และจัดการกับปัญหานั้น พยายามหาทางผ่อนคลายอารมณ์ แต่หากไม่สามารถจัดการได้ มีเรื่องเครียด กังวลมากและหาทางออกไม่ได้ สามารถโทรปรึกษา สายด่วนสุขภาพจิต 1323 จะมีนักจิตวิทยา คอยรับฟังปัญหาและคอยช่วยเหลือ และแนะนำคุณค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
อารมณ์เบื่อหน่ายสามารถเกิดได้กับคนทุกคน แต่จะเป็นภาวะเบื่อหน่ายแค่ชั่วคราวจากนั้นก็สามารถปรับตัว ใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติค่ะ ส่วนคนที่มีอารมณ์เบื่อหน่ายที่ถือว่าผิดปกติ คือ เบื่อหน่ายท้อแท้ อย่างต่อเนื่อง มีปัญหาด้านการกินการนอน การใช้ชีวิตประจำวัน ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ที่มีต่อคนรอบข้าง แบบนี้ควรเข้ารับการรักษานะคะ
การที่มีอารมณ์เบื่อหน่าย ท้อแท้ หงุดหงิดง่ายนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
1.เป็นความแปรปรวนของอารมณ์ในช่วงก่อนมีประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนแปรปรวน
2.เกิดจากสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู ส่งผลให้การปรับตัวและลักาณะบุคลิกภาพผิดปกติ
3.เกิดจากการมีโรคเจ็บป่วยทางกายเรื้อรังส่งผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจ
4.เกิดจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ ทำให้เกิดโรควิตกกังวล ซึมเศร้า
ในกรณีนี้แนะนำให้ทำแบบประเมินซึมเศร้าด้วยตัวเองดูก่อนนะคะ โดยในช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้มีอาการเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน
ไม่มีเลย 0 คะแนน
มี 1-7 วัน 1 คะแนน
≥7 วัน 2 คะแนน
ทุกวัน 3 คะแนน
1. เบื่อหน่าย ไม่สนใจอยากจะทำอะไร
2. ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้
3. หลับยาก หลับๆตื่นๆ หรือหลับมากเกินไป
4. เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลีย
5. เบื่ออาหาร หรือ กินได้มาก กินจุบจิบตลอดเวลา
6. รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าล้มเหลว หรือคิดว่าทำให้ตนเองและครอบครัวผิดหวัง
7. ขาดสมาธิ เหม่อลอย ขี้ลืมบ่อย
8. ทำอะไรช้าลง กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้
9. คิดทำร้ายตัวเอง อยากตาย หรือตายไปจะดีกว่า
จากนั้นรวมคะแนน หากได้มากกว่า 7 คะแนนขึ้นไป อาจมีแนวโน้มที่จะเป็นซึมเศร้าได้ค่ะ แนะนำให้พบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม การรักษาที่ถูกต้องตามแนวทางโรคจะช่วยให้อาการดีขึ้น ปรับตัวได้มากขึ้น ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติอีกครั้งนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ความรู้สึกคือ ไม่อยากคุยกับใคร อยากอยู่เฉยๆ นั่งนิ่งๆ หรือไม่ก็เล่นโทรศัพท์ เวลามีคนมาคุยด้วยก็เหมือนจะหงุดหงิด รู้สึกว่าตัวเองไม่ค่อยสำคัญ แต่ปกติจะเป็นคนร่าเริง พูดเยอะ หัวเราะง่าย อยากทราบว่าควรจะจัดการกับอารมณ์ของตัวเองยังไงดี และเป็นอาการของโรคอะไรไหมคะ?
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)