จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก

เผยแพร่ครั้งแรก 23 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก

การเลี้ยงดูเด็กเป็นหน้าที่ที่สำคัญยิ่งนัก การเลี้ยงดูให้เด็กหนึ่งคนเติบโตเป็นคนที่ดีสมบูรณ์พร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจนั้นเป็นเรื่องยาก องค์ความรู้เรื่อง “จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก” สามารถเป็นสื่อนำทางให้คุณพ่อคุณแม่หรือผู้มีหน้าที่เลี้ยงดูเด็ก ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงดูเด็กได้ 

เด็กมีความต้องการเหมือนกับผู้ใหญ่ โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. ความต้องการด้านร่างกายของเด็ก 

คือ ความต้องการสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่ใช้ในการดำรงชีวิต ได้แก่ อากาศ น้ำ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค

2. ความต้องการด้านจิตใจของเด็ก 

คือ ความต้องการความมั่นคงทางจิตใจ ซึ่งสามารถช่วยสนับสนุนและผลักดันให้เขาประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ได้แก่ 

  • ความรักความอบอุ่น 
  • ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
  • คำแนะนำและการสนับสนุน  
  • ความสม่ำเสมอและมีขอบเขต  
  • โอกาสในการใช้พลังในทางที่สร้างสรรค์

ลักษณะของพ่อ แม่ หรือ ผู้เลี้ยงดู ที่เด็กต้องการ ได้แก่

  • ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี  ทั้งเรื่องของพฤติกรรม และ ความคิด
  • จิตใจดี มีความปรารถนาดีต่อเด็กอย่างจริงใจ
  • มีอารมณ์คงที่  สุขุมเยือกเย็น  รู้จักใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์   มีอารมณ์ขันผ่อนคลาย
  • ให้เกียรติ ยอมรับ ให้อภัย ให้กำลังใจ  
  • เสียสละเวลา  โดยแบ่งเวลาตามภาระหน้าที่  ไม่ปล่อยให้เด็กต้องว้าเหว่  อยู่ตามลำพังปล่อยครั้ง
  • เสียสละเงินทองตามกำลังที่มี  เพื่อเป็นการสนับสนุนส่งเสริมพัฒนาการทางการเรียนรู้ของเด็ก เช่น เงินในการทำกิจกรรมต่างๆ 
  • ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของบ้านในฐานะสมาชิกคนหนึ่ง  โดยไม่ใช้อำนาจของความเป็นพ่อแม่ บังคับให้ลูกปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเดียว  เช่น ทุกคนต้องรับผิดชอบงานในบ้านอย่างเท่าเทียมตามศักยภาพ  การกลับบ้านตรงต่อเวลา หากเลยเวลาที่กำหนดต้องโทรแจ้งให้สมาชิกในบ้านทราบ เป็นต้น
  • เป็นผู้สนับสนุนส่งเสริมให้เด็กสามารถดูแลตัวเองได้เหมาะสมตามวัย เช่น การฝึกให้ช่วยเหลือตัวเองเรื่องการอาบน้ำ แต่งตัว จัดเก็บของเล่นของตัวเอง  เมื่อเด็กโตขึ้นฝึกให้เขาได้ช่วยงานบ้าน  รับผิดชอบหน้าที่หลักในบ้าน  การดูแลตัวเองเมื่อต้องไปโรงเรียน  เป็นต้น
  • เด็กไม่ต้องการให้ใครบงการหรือบังคับในสิ่งที่เขาไม่ชอบ  พ่อแม่ควรให้อิสระให้เขาได้ลองค้นหาตัวเองว่าชอบอะไร ไม่ชอบอะไร และให้เขาได้ตัดสินใจเลือกทำด้วยตัวเขาเอง  โดยที่พ่อแม่เป็นผู้ให้คำแนะนำอยู่ข้างๆ เมื่อเด็กต้องการ   สิ่งที่พ่อ แม่ควรจำให้ขึ้นใจคือ “จะไม่ใช้เด็กมาเติมเต็มในสิ่งที่ตัวเองขาด” 
  • ต้องมีกิจกรรมผ่อนคลายที่สามารถทำร่วมกันได้ ในวันหยุดสุดสัปดาห์
  • เมื่อมีปัญหา เด็กต้องการรับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นภายในบ้านพ่อแม่ ไม่ควรปิดบังเด็ก ควรแชร์เรื่องราวให้เขารับรู้และให้เหตุผลด้วยเสมอการที่เด็กรับรู้ปัญหาในบ้าน เขาจะได้คิดหาหนทางดูแลตัวเองเพื่อจะต้องไม่เป็นภาระของผู้อื่นตามหลักจิตวิทยาคนทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ต้องการศักดิ์ศรี ต้องการคุณค่าในชีวิต

พ่อ แม่ หรือผู้เลี้ยงดูสามารถใช้หลักการคิดง่ายๆ ในการใช้จิตวิทยาเลี้ยงดูเด็กคือ “ใจเขาใจเรา”เราไม่ชอบอะไรก็ไม่ควรทำสิ่งนั้นกับเด็ก


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Why Parenting Styles Matter When Raising Children. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/parenting-styles-2795072)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)