การอภิปรายเรื่องความทรงจำที่ถูกกดไว้และความทรงจำที่กลับคืนมา

ความทรงจำทำงานอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ส.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การอภิปรายเรื่องความทรงจำที่ถูกกดไว้และความทรงจำที่กลับคืนมา

ทางจิตวิทยายังคงมีข้อโต้แย้งกันอยู่พอสมควรในเรื่องความทรงจำที่ถูกกดไว้สามารถกลับคืนมาได้หรือไม่ เช่นเดียวกับเรื่องความทรงจำดังกล่าวจะถูกต้องแม่นยำแค่ไหน การแบ่งแยกที่ชัดเจนที่สุดดูจะเป็นผู้ที่ทำงานทางด้านสุขภาพจิตและนักวิจัย ในการศึกษาหนึ่ง แพทย์มีแนวโน้มที่จะเชื่อมากกว่าว่าคนเก็บกดความทรงจำไว้ซึ่งสามารถรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ได้ด้วยการรักษา ประชาชนทั่วไปก็มีความเชื่อเรื่องความจำที่ถูกเก็บกดไว้เช่นกัน แน่นอนว่ายังต้องการงานวิจัยอีกจำนวนมากสำหรับเรื่องความทรงจำ

การบาดเจ็บสามารถถูกลืมเลือนได้

คนส่วนใหญ่จดจำสิ่งแย่ ๆ ที่เกิดขึ้นกับพวกเขา แต่บางครั้งการบาดเจ็บที่รุนแรงมากจะถูกลืมเลือน นักวิทยาศาสตร์ศึกษาสิ่งนี้ และพวกเรากำลังเริ่มเข้าใจว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อการลืมเลือนเป็นไปจนถึงขีดสุด บางครั้งอาจเกิดโรคทางจิตวิทยาในกลุ่ม dissociative disorder เช่น dissociative amnesia, dissociative fugue, depersonalization disorder and dissociative identity disorder (โรคบุคลิกภาพแตกแยก) โรคเหล่านี้และความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บยังอยู่ระหว่างการศึกษา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความทรงจำทำงานได้อย่างไร

ความทรงจำไม่เหมือนกับเทปบันทึกเสียง สมองจะประมวลข้อมูลและเก็บไว้ด้วยวิธีที่หลากหลาย พวกเราส่วนใหญ่เคยมีประสบการณ์การบาดเจ็บเล็กน้อย และประสบการณ์ดังกล่าวบางครั้งก็ดูเหมือนจะประทับแน่นอยู่ในสมองพร้อมรายละเอียดคมชัด นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมองสองส่วนคือ amygdala และ hippocampus เพื่อทำความเข้าใจว่าทำไม

ข้อความดังต่อไปนี้บรรยายสิ่งที่เรารู้ในขณะนี้

  • การบาดเจ็บระดับปานกลางสามารถเพิ่มความทรงจำระยะยาวได้ นี่เป็นประสบการณ์จากสามัญสำนึกที่พวกเราเกือบทุกคนมี และทำให้เข้าใจได้ยากขึ้นว่าทำไมความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เลวร้ายจึงถูกลืมเลือนไป
  • การบาดเจ็บร้ายแรงสามารถรบกวนแหล่งเก็บความทรงจำระยะยาวและคงเหลือความทรงจำไว้ในรูปแบบอารมณ์และความรู้สึกมากกว่าที่จะเป็นความทรงจำ งานวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ชี้แนะว่าอาจใช้เวลาหลายวันเพื่อเก็บเหตุการณ์ที่ว่าไว้ในความทรงจำระยะยาว
  • สิ่งกระตุ้นทางความรู้สึกในปัจจุบันสามารถทำให้ข้อมูลที่ถูกลืมเลือนกลับมาอีกครั้ง นี่เป็นเพราะว่าข้อมูลดังกล่าวสัมพันธ์กับสิ่งกระตุ้นผ่านทางกระบวนการที่รู้จักกันในชื่อ “state-dependent memory, learning and behavior”
  • “ความทรงจำปลอม” ของเหตุการณ์บาดเจ็บระดับอ่อน ๆ สามารถสร้างขึ้นได้ในห้องปฏิบัติการ ยังไม่แน่ชัดว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นในสถานการณ์อื่นได้มากแค่ไหน
  • การศึกษาบันทึกไว้ว่าในบางครั้งผู้ที่ผ่านการบาดเจ็บร้ายแรงก็ลืมการบาดเจ็บนั้น ความทรงจำของการบาดเจ็บอาจกลับมาในภายหลัง โดยมักเริ่มเป็นความรู้สึกหรืออารมณ์ที่บางครั้งเกี่ยวข้องกับ “เหตุการณ์ในอดีต” ซึ่งพวกเขารู้สึกเหมือนกำลังใช้ชีวิตในความทรงจำนั้นอีกครั้ง ข้อเท็จจริงดังกล่าวจะค่อย ๆ ซึมซาบมากขึ้นเรื่อย ๆ จนคล้ายกับความทรงจำอื่น ๆ

ข้ออภิปรายเรื่องความทรงจำที่กลับคืนมา

ความทรงจำกลับมาได้จริงหรือ ? ยังมีข้อโต้เถียงมากมายในเรื่องนี้ นักบำบัดบางคนที่ทำงานกับผู้ที่รอดจากการบาดเจ็บเชื่อว่าความทรงจำนั้นเป็นของจริง เนื่องจากประกอบกับอารมณ์ที่สุดขั้ว นักบำบัดคนอื่น ๆ รายงานว่าผู้ป่วยของพวกเขาบางคนมีความทรงจำที่กลับคืนมาที่ไม่น่าจะเป็นจริง (ตัวอย่างเช่น ความทรงจำว่ากำลังถูกตัวหัว)

บางกลุ่มอ้างว่านักบำบัดกำลัง “ปลูกถ่ายความทรงจำ” หรือทำให้เกิดความทรงจำปลอมในผู้ป่วยที่เปราะบางโดยกล่าวว่าพวกเขาเป็นเหยื่อของการทำร้าย เมื่อไม่มีการทำร้ายเกิดขึ้นจริง นักบำบัดบางคนชักจูงผู้ป่วยว่าอาการของพวกเขาเกิดจากการถูกทำร้ายซึ่งพวกเขาไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเปล่า สิ่งนี้ไม่ถือเป็นการรักษาที่ดี และนักบำบัดส่วนใหญ่ก็ระมัดระวังที่จะไม่ชี้แนะสาเหตุของอาการจนกว่าผู้ป่วยจะพูดออกมาเอง

ยังมีงานวิจัยบางชิ้นที่อภิปรายว่าความทรงจำปลอมจากการบาดเจ็บอย่างอ่อน ๆ สามารถสร้างขึ้นในห้องปฏิบัติการ ในการศึกษาหนึ่งมีการกล่าวกับเด็ก ๆ ว่าพวกเขาเคยหลงทางในห้างสรรพสินค้า ซึ่งต่อมาเด็กหลายคนก็เชื่อว่านี่เป็นความทรงจำจริง ๆ ข้อสังเกต: การชี้แนะความทรงจำเกี่ยวกับการบาดเจ็บร้ายแรงในห้องปฏิบัติการนั้นผิดจริยธรรม

การค้นหาทางสายกลางของความทรงจำที่กลับคืนมา

ฉันทำงานกับผู้ป่วยบางคนที่มี “ความทรงจำที่กลับคืนมา” ของการถูกกระทำรุนแรงในวัยเด็ก มุมมองของฉันต่อความเป็นจริงของความทรงจำดังกล่าวคือ ฉันไม่รู้ว่าความทรงจำดังกล่าวเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ในกรณีส่วนใหญ่แล้ว ฉันเชื่อว่ามีอะไรบางอย่างเกิดขึ้นกับพวกเขา เนื่องจากอาการของพวกเขาเข้าได้กับความทรงจำ ส่วนใหญ่แล้วพวกเขามีความทรงจำของการถูกกระทำรุนแรงซึ่งเป็นความทรงจำที่ต่อเนื่อง และความทรงจำเหล่านี้ก็กลับคืนมา เราทำงานกับเรื่องราวในอดีตก็ต่อเมื่อเรื่องดังกล่าวมีผลต่อปัจจุบันเท่านั้น ความทรงจำดังกล่าวเป็นเรื่องจริงสำหรับผู้ป่วย และนั่นคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการบำบัด ฉันไม่สนับสนุนให้พวกเขาเผชิญหน้ากับพ่อแม่หรือผู้กระทำรุนแรงคนอื่น ๆ  เพราะอาจไม่ช่วยอะไรและทำให้รู้สึกเจ็บปวดมากขึ้น เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับนักบำบัดที่จะไม่ถามคำถามชี้นำหรือชี้แนะว่าเหตุการณ์บางอย่างอาจเคยเกิดขึ้นจริง ๆ


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Debate Over Repressed and Recovered Memories. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/the-debate-over-recovered-memories-2330516)
The debate over recovered memory of sexual abuse: a feminist-psychoanalytic perspective. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7568540)
Repressed Memories: 5 FAQs. Healthline. (https://www.healthline.com/health/repressed-memories)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
12 สูตรลัดแต่ไม่ลับทางจิตวิทยา สร้างความมั่นใจ และความสุข
12 สูตรลัดแต่ไม่ลับทางจิตวิทยา สร้างความมั่นใจ และความสุข

ทำไม่ยาก แต่จะลองทำรึเปล่า ลองเปลี่ยนตัวเองด้วยเทคนิคเหล่านี้ แล้วดูว่าคุณเป็นคนที่มาราศีจับมากขึ้นไหม

อ่านเพิ่ม