12 สูตรลัดแต่ไม่ลับทางจิตวิทยา สร้างความมั่นใจ และความสุข

ทำไม่ยาก แต่จะลองทำรึเปล่า ลองเปลี่ยนตัวเองด้วยเทคนิคเหล่านี้ แล้วดูว่าคุณเป็นคนที่มาราศีจับมากขึ้นไหม
เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
12 สูตรลัดแต่ไม่ลับทางจิตวิทยา สร้างความมั่นใจ และความสุข

หลายครั้ง การเข้าสังคมหรือการอยู่ร่วมกับผู้อื่น จำเป็นต้องใช้เทคนิคทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อให้คนที่อยู่รอบข้างรู้สึกอยากเข้าใกล้หรือรู้สึกสบายใจที่จะพูดคุยและสร้างมิตรภาพด้วย บางคนอาจมองว่าเป็นเรื่องไม่จำเป็น บ้างก็มองว่า หากจะคบกันไม่ว่าจะด้วยสถานะใดก็ตาม แค่พูดคุยกันถูกคอก็ถือเป็นอันจบ แต่ความจริงแล้ว ยังมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ว่ากันว่า เป็นเทคนิคทางด้านจิตวิทยา ซึ่งจะช่วยรักษาความสัมพันธ์ รวมถึงการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างยืนยาวและเป็นปกติสุข

เด็กสายวิทย์อาจมองว่า เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องของแนวทางทางจิตวิทยา ส่วนเด็กสายศิลป์อาจมองว่าสิ่งเหล่านี้คือศิลปะ อาจเป็นศิลปะทางการแสดงออก หรือวาทศิลป์คือศิลปะด้านคำพูดคำจา วางตนอย่างไร หรือพูดอย่างไรให้คนรอบข้างรักใคร่ รวมถึงทำอย่างไรให้ตัวเราเองมีความสุขไปด้วยในคราวเดียวกัน มาลองดูสูตรลัด 12 ข้อกันเลย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  1. เมื่อเจอผู้คน พยายามสบตาและส่งยิ้มให้พวกเขา แม้จะเป็นเวลาเพียงแค่สั้น ๆ แต่พวกเขาจะรับรู้และสัมผัสได้
  2. ใส่ใจเท้าของคู่สนทนา กล่าวคือ  ในการพูดคุยเมื่อใดก็แล้วแต่ หากเขาหันลำตัวให้คุณแต่เท้าไม่ได้หันมาด้วย นั่นแปลว่าเขาไม่ได้อยากเข้าร่วมวงสนทนาเท่าใดนัก เช่นเดียวกัน หากคุณกำลังคุยกับผู้ร่วมงาน ลำตัวของเขาหันเข้าหาคุณก็จริง แต่หากเท้าของเขานั้นหันไปยังทิศทางอื่น นั่นแปลว่าเขาอาจอยากให้บทสนทนานี้สิ้นสุดโดยไว
  3. คนส่วนมากมีแนวโน้มที่จะร่วมทำงานกับคุณได้ หากงานแรกที่คุณให้เขาทำเป็นงานง่าย ๆ เสียก่อน
  4. เวลาคุณตั้งคำถาม และเขาตอบคุณเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น คุณควรรออยู่อย่างเงียบ ๆ และสบสายตากับเขา เชื่อสิว่า เขาจะหันกลับมาต่อบทสนทนากับคุณอย่างเป็นปกติ
  5. เคี้ยวหมากฝรั่งในสถานการณ์ที่คุณรู้สึกว่ากำลังตกอยู่ในสภาวะวิตกกังวล เช่น การพูดต่อหน้าสาธารณชน การกระโดดบันจี้จัมพ์ หรือการทำอะไรหวาดเสียว ๆ จะช่วยได้มากทีเดียว เพราะการกินอะไรก็แล้วแต่ สมองเราจะประมวลว่า “ฉันจะไม่กินหากฉันกำลังตกอยู่ในอันตราย” ดังนั้นตอนนี้ ฉันไม่ได้กำลังตกอยู่ในอันตราย (เพราะฉันกำลังกิน/เคี้ยวหมากฝรั่งอยู่) ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยคลายความกังวลและช่วยสงบสติอารมณ์ได้ค่อนข้างดีเชียวล่ะ
  6. เมื่อคุณกำลังเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ คุณควรสอนเพื่อนด้วย ให้เพื่อนถามคำถามคุณ และหากคุณสามารถสอนเขาได้ดี นั่นแปลว่าคุณเข้าใจมันดี
  7. หากตัวคุณกำลังมีความสุขและตื่นเต้นมาก ๆ ที่จะได้พบเจอผู้คน นั่นนับเป็นเรื่องดีแล้ว เพราะทุกคนก็จะมีปฏิกิริยาเช่นเดียวกันนั้นส่งกลับมาให้แก่คุณ ในครั้งแรกมันอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้น แต่ครั้งต่อไปคุณจะได้รับปฏิกิริยาดี ๆ กลับมาอย่างแน่นอน
  8. เมื่อคนอื่นโกรธ และคุณมีท่าทีที่สงบนิ่ง นั่นจะทำให้พวกเขายิ่งโกรธ และท้ายที่สุดพวกเขาจะรู้สึกผิดกับมันในภายหลัง (นิ่งสงบสยบความเคลื่อนไหว)
  9. กุญแจสู่ความมั่นใจ คือ คุณต้องเดินเข้าไปในห้องและสมมติว่าทุกคนในห้องนั้นชอบคุณ
  10. กล่าวถึงคนที่คุณเพิ่งพบเจอมาด้วยการกล่าวชื่อของเขา เพราะผู้คนมักชื่นชอบการได้รับการจดจำและการมเรียกขานชื่อ ซึ่งนั่นจะช่วยสร้างความเชื่อใจและมิตรภาพทันที (ใคร ๆ ก็ชอบการเป็นที่จดจำ)
  11. คุณควรยิ้มให้กว้างที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ เพราะนั่นจะทำให้คุณมีความสุขมากขึ้นทันทีโดยอัตโนมัติ
  12. ณ ช่วงขณะที่คุณตื่นนอนขึ้นมา คุณควรลุกขึ้นนั่งทันทีและตะโกนดัง ๆ ว่า “เยยยยยยยย้!!!!”

ส่วนมากแล้ว สูตรลัดดังกล่าวข้างต้นเน้นการควบคุมอารมณ์ของตัวเองและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เช่น ทำอย่างไรเมื่อต้องพูดคุยหรือสร้างบทสนทนากับใครสักคน สังเกตคู่สนทนาว่าเขามีปฏิกิริยาเช่นไร ลดความตื่นเต้นเป็นกังวลของตนเองยามอยูท่ามกลางสาธารณชน เรียนรู้การอยู่กับเพื่อน รู้จักควบคุมอารมณ์เพื่อให้เราสามารถควบคุมสถานการณ์ได้อย่างมีสติ สร้างความมั่นใจให้แก่ตนเอง รู้จักรักษาความสัมพันธ์ด้วยการจดจำชื่อและมอบรอยยิ้ม เป็นต้น ซึ่งหากจะสรุปโดยรวมแล้ว สิ่งเหล่านี้อาจเรียกรวมได้ว่าเป็นบุคคลิกภาพของคุณนั่นเอง

ทั้งนี้ทั้งนั้น คนทุกคนล้วนเติบโตมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ส่งผลให้แต่ละคนย่อมมีพื้นฐานครอบครัวที่ห่างกันเป็นธรรมดา ดังนั้น เราทุกคนสามารถนำข้อปฏิบัติหรือเทคนิคบางอย่างข้างต้นไปปรับใช้เพื่อพัฒนาบุคคลิกภาพและท่าทีของแต่ละบุคคลได้ เพื่อให้ตัวคุณเองมีสัมพันธภาพกับคนรอบข้างที่อยู่แวดล้อมหรือคนที่เข้ามาวนเวียนอยู่ในชีวิตได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็แล้วแต่ จงอย่าสูญเสียความเป็นตัวเองจนเกินไป เพราะจงจำไว้เสมอว่า ... ไม่มีใครบนโลกใบนี้สมบูรณ์แบบทุกกระเบียดนิ้วหรอก


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Control Group in Psychological Experiment. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/what-is-the-control-group-2794977)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป