April 24, 2017 14:54
ตอบโดย
วลีรักษ์ จันทร (พว.)
การรักษานิ่วในถุงน้ำดี
1.การใช้ยาละลายนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งมักไม่ค่อยได้ผล ใช้ได้เฉพาะกับนิ่วบางชนิด และไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยส่วนใหญ่ในบ้านเราที่นิ่วมักมีส่วนประกอบหลักเป็นแคลเซียมซึ่งเป็นนิ่วที่แข็ง อีกทั้งผู้ป่วยยังต้องรับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานาน และเมื่อหยุดยาก็อาจเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้อีกประมาณ 10% ต่อปี หรือประมาณ 50% ในระยะเวลา 5 ปี ฉะนั้นการรักษาที่แน่นอนจึงคือการตัดถุงน้ำดีออกไป
ยาละลายนิ่วในถุงน้ำดีที่ว่า คือ “กรดชีโนดีโอออกซีโคลิก” (Chenodeoxycholic acid – CDCA) ซึ่งพบว่าใช้ได้ผลดีและเหมาะกับผู้ป่วยบางรายเท่านั้น (ส่วนประกอบหลักของนิ่วเป็นคอเลสเตอรอล) และผู้ป่วยอาจต้องกินยานี้นานเป็นปี ๆ โดยตัวยานี้จะช่วยปรับสมดุลของน้ำดีจากน้ำดีที่มีคอเลสเตอรอลอิ่มตัวมาเป็นน้ำดีที่ด้อยไปด้วยคอเลสเตอรอล ซึ่งคอเลสเตอรอลที่ประกอบอยู่ในก้อนนิ่วจะละลายมาอยู่ในน้ำดีทำให้ก้อนนิ่วมีขนาดเล็กลงจนหมดไป
ข้อบ่งชี้ของผู้ป่วยในการรักษาด้วยวิธีนี้ คือ ถุงน้ำดียังทำหน้าที่ได้เป็นปกติ, เป็นนิ่วที่ไม่ทึบรังสี (ส่วนประกอบหลักของนิ่วเป็นคอเลสเตอรอล), เป็นก้อนนิ่วขนาดเล็ก ๆ หลายก้อน (เล็กกว่า 1.7 เซนติเมตร), เป็นผู้ป่วยที่ไม่มีอาการเจ็บปวดรุนแรงหรือมีอาการเจ็บปวดอยู่บ่อย ๆ, เป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัด แต่ผู้ป่วยปฏิเสธการผ่าตัดหรือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการผ่าตัด, ผู้ป่วยต้องไม่มีโรคตับ
ระยะเวลาการรักษาจะขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนนิ่ว ถ้าก้อนนิ่วมีขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร ประมาณ 70-80% จะละลายได้ภายใน 6 เดือน แต่ถ้าก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่อาจจะต้องใช้เวลานานถึง 3 ปี ประมาณ 60% ของผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีนี้ ก้อนนิ่วจะละลายหมดไปแต่ยังคงต้องกินยานี้ต่อไปอีกหลาย ๆ ปี ถ้าหยุดยาก้อนนิ่วก็จะเกิดขึ้นได้อีกในอัตราที่ค่อนข้างสูง
ยานี้มีผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ อาการท้องเสีย (เพราะต้องใช้ยาในขนาดสูง) และตับมีการอักเสบเล็กน้อย
ในบางรายแพทย์อาจรักษาโดยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงสลายนิ่วก่อนแล้วจึงค่อยให้ยาละลายนิ่วตาม
2.การใช้วิธีสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Extracorporeal shock wave lithotripsy – ESWL) เป็นการใช้คลื่นเสียงกระแทกนิ่วให้แตก หลังการทำผู้ป่วยอาจมีอาการปวดท้อง และมีอัตราสำเร็จต่ำ ในปัจจุบันแพทย์จะไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ในการสลายนิ่วในถุงน้ำดีกับผู้ป่วยไทยแล้ว เพราะนิ่วของคนไทยส่วนใหญ่จะไม่ใช่นิ่วที่มีส่วนประกอบหลักเป็นคอเลสเตอรอล แต่มักจะเป็นนิ่วที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมที่สูง ทำให้ก้อนนิ่วมีความแข็งและแตกได้ยาก แม้จะสลายนิ่วให้แตกได้ นิ่วที่เคลื่อนลงมาก็จะมีโอกาสมาติดและทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินน้ำดีจนเกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีอาการรุนแรงได้ นอกจากนี้หลังการรักษาผู้ป่วยยังต้องรับประทานยาละลายนิ่วต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 2 ปี และการที่มีถุงน้ำดีเหลืออยู่ก็มักจะทำให้เกิดนิ่วขึ้นใหม่ได้อีกดังที่กล่าวไป
ข้อบ่งชี้ของผู้ป่วยในการรักษาด้วยวิธีนี้ คือ เป็นนิ่วที่ไม่ทึบต่อรังสี (หรือเข้าใจว่าเป็นนิ่วคอเลสเตอรอล) และถุงน้ำดียังทำหน้าที่ได้เป็นปกติ, สามารถใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ตรวจพบก้อนนิ่วได้ชัดเจนและสามารถใช้เครื่อง ESWL เล็งเข้าที่ก้อนนิ่วได้, เป็นนิ่วที่มีอาการ และก้อนนิ่วมีขนาดไม่เกิน 30 มิลลิเมตร (แม้จะมีหลายก้อน ขนาดรวมกันทุกก้อนแล้วก็ต้องไม่เกิน 30 มิลลิเมตร)
ผู้ป่วยจะต้องได้รับยาละลายนิ่ว (CDCA) ก่อนการรักษาด้วยวิธีนี้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยไม่มีอาการแพ้ยา เพราะหลังจากยิงนิ่วให้แตกแล้วผู้ป่วยจะต้องกินยานี้ต่อไปอีกสักพักเพื่อให้นิ่วหมดไปโดยสมบูรณ์
การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก (Cholecystectomy) เป็นการแก้ปัญหาอย่างถาวรเพื่อไม่ให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดีขึ้นอีกต่อไป และป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่าง ๆ ได้ ซึ่งการผ่าตัดถุงน้ำดีในปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ
การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดหน้าท้อง (Open cholecystectomy) ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดแบบเดิม ในปัจจุบันแพทย์จะเลือกใช้ในการผ่าตัดถุงน้ำดีที่มีอาการอักเสบมากหรือแตกทะลุในช่องท้อง (หลังการผ่าตัดด้วยวิธีนี้ ผู้ป่วยไม่ควรทำงานหนักหรือยกของหนักอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์)
3.การผ่าตัดถุงน้ำดีโดยการส่องกล้อง (Laparoscopic cholecystectomy) ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดแบบใหม่และได้กลายเป็นการรักษามาตรฐานเพื่อรักษาภาวะนิ่วในถุงน้ำดีมานานแล้ว โดยจะเป็นการเจาะรูเล็ก ๆ ที่หน้าท้อง 4 จุด ทำให้เจ็บแผลน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว 1-2 วันก็กลับบ้านได้ และสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติตราบที่ผู้ป่วยยังมีความรู้สึกเป็นปกติ (ยกเว้นในกรณีที่ผู้ป่วยมีถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน ถ้าเป็นมากบางครั้งอาจจำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่ด้วยวิธีการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องหรือแบบเดิม ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป) แต่การผ่าตัดควรทำโดยศัลยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกอบรมมาเฉพาะ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ (เช่น การผ่าตัดโดนท่อน้ำดี ท่อน้ำดีรั่ว หรือท่อน้ำตัน) ในการผ่าตัดด้วยวิธีนี้ถ้าผู้ป่วยไม่มีถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันก็สามารถทำได้สำเร็จถึง 90% ถ้าถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันเกิน 3 วัน โอกาสผ่าตัดโดยวิธีนี้ก็จะสำเร็จได้น้อยลง
วิธีการผ่าตัดถุงน้ำดีโดยการส่องกล้อง ศัลยแพทย์จะทำการเจาะรูเล็ก ๆ บริเวณหน้าท้องด้วยเครื่องมือที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับการเจาะหน้าท้องอย่างปลอดภัย รวม 4 แห่ง (ขนาดของรู 1 เซนติเมตร ที่สะดือ 1 แห่ง และขนาดของรูประมาณ 0.5 เซนติเมตร อีก 3 แห่ง) และใส่กล้องที่มีก้านยาว ๆ และเครื่องมือต่าง ๆ ผ่านรูที่ผนังหน้าท้องลงไป (ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นถุงน้ำดีและอวัยวะต่าง ๆ ได้จากหน้าจอโทรทัศน์ที่กล้องส่งสัญญาณภาพมา) แล้วจึงเลาะแยกถุงน้ำดีออกจากตับ และใช้คลิปหนีบห้ามเลือดแทนการใช้ไหมเย็บแผล ก่อนจะตัดขั้วของถุงน้ำดี แล้วเลาะส่วนที่เหลือให้ออก เมื่อตัดถุงน้ำดีได้แล้ว จะบรรจุใส่ถุงที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ แล้วดึงออกจากร่างกายบริเวณรูสะดือ จากนั้นศัลยแพทย์จะตรวจความเรียบร้อยเป็นขั้นสุดท้ายก่อนที่จะดึงเครื่องมือและกล้องออกแล้วค่อยเย็บปิดแผล (ในผู้ป่วยบางรายถ้ามีการอักเสบมาก อาจต้องมีการใส่ท่อระบายไว้ 2-3 วัน)
ข้อดีของการผ่าตัดถุงน้ำดีโดยการส่องกล้อง คือ อาการปวดแผลหลังการผ่าตัดจะน้อยกว่า (เพราะแผลมีขนาดเล็กกว่า), แผลมีขนาดเล็ก ดูแลได้ง่าย และมีโอกาสติดเชื้อได้น้อยกว่าแผลขนาดใหญ่จากการผ่าตัดแบบเดิม, เมื่อแผลหายจะเป็นรอยเล็ก ๆ บนหน้าท้องเท่านั้น, ผู้ป่วยอยู่โรงพยาบาลเพียง 1-2 วัน (การผ่าตัดแบบเดิมจะต้องอยู่โรงพยาบาลนาน 7-10 วัน), ใช้เวลาพักฟื้นหลังการผ่าตัดเพียง 1 สัปดาห์ (ทำให้กลับไปทำงานตามปกติได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเดิมที่ต้องใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 1 เดือน)
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ค่าใช้จ่าย
ในการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
อยากทราบค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้องค่ะ
ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีตัดถุงน้ำดีเค้าผ่าตัดกี่จุดคะ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เป็นนิ่วในถุงน้ำดีต้องผ่าตัดธรรมดา หรือส่องกล้องผ่า หรือใช้เลเซอร์ได้ไหมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)