November 22, 2018 04:46
ตอบโดย
วิภา สุวรรณชีวะศิริ (พญ.)
สวัสดีค่ะ อาการเจ็บหน้าอกเกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ ถ้ามีประวัติได้รับอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บก็มีความเป็นไปได้ว่าอาการดังกล่าวเกิดจากการบาดเจ็บนั้นๆ แต่ถ้าไม่มีประวัติได้รับบาดเจ็บใดๆ ก็เป็นได้ตั้งแต่ กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอกมีการอักเสบ ยืด ซึ่งเกิดจากการใช้งานผิด หรือยกของหนักๆ ก็ได้ค่ะ
แต่ถ้าในคนอายุมาก มีอาการเจ็บหน้าอก โดยสัมพันธ์กับการออกแรง เป็นเวลาใช้แรง เจ็บแบบแน่นๆ เหมือนมีคนเอาเท้ามาเหยียบ ก็อาจจะเป็นจากเส้นหัวใจตีบได้ค่ะ
ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุค่ะ ซึ่งการบอกเพียงอาการเดียวไม่เพียงพอต่อการวินิจฉัย ต้องอาศัยการซักประวัติและตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้นค่ะ
สำหรับผู้ป่วยสิทธิประกันสังคมสามารถขอรับการตรวจได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
ในการตรวจรักษาอาการเจ็บหน้าอกนั้นสามารถใช้สิทธิประกันสังคมเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามสิทธิได้ครับ
ทั้งนี้จะต้องมีการซักถามอาการเพิ่มเติมจากแพทย์ ตรวจร่างกาย รวมถึงอาจต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจร่วมด้วย เพื่อให้บอกสาเหตุของอาการเจ็บหน้าอกให้ได้ชัดเจนมากที่สุดครับ เช่น อาการปวดจากกล้ามเนื้อหรือกระดูกซี่โครง กรดไหลย้อน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เมื่อทราบสาเหตุก็จะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ถ้าจะเข้ารับการตรวจตรงหน้าอก เพราะผมเจ็บหน้าอกตลอดเวลา ผมเคยใช่บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้วไปรักษาที่ รพ. เเพทย์ปัญญา โดยให้ยาคลายกล้ามเนื้อมากินตลอดครับ พอทำงานแล้วย้ายมาทำประกันสังคม สามารถรับการตรวจได้ไหมครับ เพราะผมอยากทราบว่าเป็นอะไรกันแน่ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)