July 08, 2019 00:32
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ความวิตกกังวลที่มีมากเกินปกติ จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หากมีอาการต่อเนื่องนานเกิน 6 เดือน อาจบ่งถึงโรควิตกกังวลก็เป็นได้ค่ะ
โรควิตกกังวลมีสาเหตุหลักจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ สารเคมีตัวที่ทำให้เกิดความเครียดหลั่งออกมามากเกินไป ก่อให้เกิดความผิดปกติทางด้านความคิด วิตกตกกังวลง่าย เครียดง่าย ค่ะ
การรักษาอาจใช้ยาเพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ร่วมกับการทำจิตบำบัดฝึกปรับความคิด ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้ค่ะ
ดังนั้นในกรณีนี้มีอาการเรื้อรังมานาน แนะนำพบจิตแพทย์ ประเมินอาการอื่นๆเพิ่มเติม ซึ่งอาจต้องประเมินในเรื่องของซึมเศร้าเพิ่มเติมด้วย ให้คุณหมอวินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
การรับมือกับความเครียด ความกดดันเป็นจุดหนึ่งที่หากว่ารับมือกับมันได้ไม่ดีก็จะนำมาสู่โรคต่างๆทางจิตเวชได้ครับ ซึ่งในตอนนี้ความเครียดเหล่านี้ก็ค่อนข้างเข้ามากระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันของคุณมากขึ้นทำให้มีปัญหาในเรื่องความกลัว ความกังวลว่าจะนอนไม่นอนหลับ ซึ่งความกังวลตรงนี้ครับจะเป็นจุดหนึ่งที่คุณน่าจะต้องรับมือ ซึ่งวิธีการก็เช่น การปล่อยวาง และการทำสติอยู่กับปัจจุบัน ซึ่งหากคุณรู้สึกว่าต้องการตัวช่วยในการปรับความคิด หรือพูดคุยเพื่อลดความวิตกกังวล เพื่อให้ความวิตกกังวลนี้ลดลง ก็สามารถ เข้าพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการประเมินและการช่วยเหลือ เช่น ยาหรือการทำจิตบำบัดได้ครับ
นอกจากการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญ คุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาที่ตนเองจะรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือรู้สึกสนุกผ่อนคลายให้ และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความตึงเครียดและความวิตกกังวลลดน้อยลงได้ การทำแบบนี้จะให้ผลการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการดูแลตนเองควบคู่กันไปด้วยกับการรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะเป็นการช่วยให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตได้ในระยะยาวอีกด้วยครับ
ในส่วนของการนอนหลับ ถึงแม้ว่าตอนนี้จะยังนอนหลับได้ปกติ สิ่งที่สำคัญมากๆ ก็คือการลองปรับสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมก่อนนอน โดยจัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนไม่ให้มีแสงสว่างเข้า ไม่มีเสียงรบกวน และนอนในที่นอนที่เรารู้สึกสบายและผ่อนคลายครับ ควรงด ชา กาแฟ หรือน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมของคาเฟอีกก่อนช่วงเวลานอนครับ การอาบน้ำอุ่น ทานนมอุ่นๆหรือกล้วย การออกกำลังกายในช่วงเย็น ก็จะสามารถช่วยให้ร่างกายมีอาการง่วงมากขึ้นได้ครับ แต่พยายามอย่าออกกำลังกายหักโหมก่อนเวลานอนนะครับเพราะการออกกำลังกายหนักๆจะเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายทำงานและอาจจะทำให้หลับได้ยากขึ้น ด้านล่างนี้ผมได้แนบบทความเกี่ยวกับการนอนไม่หลับไว้นะครับหากต้องการข้อมูลก็สามารถเข้าไปศึกษาได้ครับ
https://www.honestdocs.co/insomnia-psychiatric-disorders-sleep-deprivation
สุดท้ายนี้หากมีคำถามอื่นๆเพิ่มเติมก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ผมมีอาการนอนไม่หลับเมื่อสองปีที่แล้ว แต่ปัจจุบันก็ยังมีความกังวลและความกลัวเรื่องการนอนไม่หลับอยู่ แต่เท่าที่ผมรู้สึกตัวเอง คือหลังๆมาผมรับความกดดัน ความเครียดได้น้อยลงมากๆ นิดๆหน่อยๆก็จะเครียด วิตกบ่อยครั้งมาก กังวลเรื่องวันพรุ่งนี้ พอกังวลก็กลัวว่าจะนอนไม่หลับ ไปกันใหญ่(เคยรู้สึกแบบนี่ตั้งแต่เด็กแล้วแต่ไม่มากเท่าปัจจุบัน) แม้แต่การจะออกไปข้างนอกในวันถัดไป ก็จะกังวลเอามาคิดตลอด บางครั้งเวลาคิดมากๆ จะมีอาการเสียวเท้าด้วยครับ อาการแบบนี้จะรักษาหายไหมครับ มันเป็นอุปสรรคต่อขีวิตมากๆเลยครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)