July 24, 2019 19:46
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
อารมณ์หงุดหงิดง่าย รู้สึกแย่กับตัวเอง รู้สึกว่าตนเองไม่มีความสำคัญ ลักษณะการคิด อารมณืเช่นนี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุนะคะ เช่น จากความผิดปกติของการปรับตัว ขาดความมั่นใจหรือทักษะในการร่วมวงสนทนากับเพื่อน จากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ซึ่งอาจเป็นที่มาของอาการผิดปกติทางบุคลิกภาพและการปรับตัว ความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า ก็เป็นไปได้ค่ะ
ในกรณีนี้หากเพิ่งเริมมีอาการ อยากให้หนูลองประเมินความเครียดด้วยตนเอง ดังนี้นะคะ
โดยสำรวจจากอาการภายใน 1-2 เดือน ว่ามีอาการเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน โดยให้คะแนนตามระดับความรุนแรงของอาการดังนี้
ไม่เคยเลย 0 คะแนน
ครั้งคราว 1 คะแนน
บ่อยๆ 2 คะแนน
ประจำ 3 คะแนน
1. นอนไม่หลับ เพราะมีเรื่องกังวลใจหรือคิดมาก
2. รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ
3. ทำอะไรไม่ได้เลย เพราะประสาทตึงเครียด
4. รู้สึกวุ่นวายใจ
5. ไม่อยากพบปะผู้คน
6. ไม่มีความสุข รู้สึกเศร้าหมอง
7. ปวดหัวข้างเดียวหรือปวดขมับ 2 ข้าง
8. รู้สึกหมดหวังในชีวิต
9. รู้สึกว่าชีวิตตนเองไร้คุณค่า
10. กระวนกระวายตลอดเวลา
11. ขาดสมาธิ
12. อ่อนเพลีย ไม่มีแรงที่จะทำอะไร
13. เหนื่อยหน่ายไม่อยากทำอะไร
14. ใจเต้นแรง
15. เสียงสั่น ปากสั่น มือสั่นเมื่อรู้สึกไม่พอใจ
16. กลัวผิดพลาดในการทำสิ่งต่างๆ
17. ปวดเกร็งบริเวณท้ายทอย หลัง ไหล่
18. ตื่นเต้นง่ายกับเหตุการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
19. มึนงง วิงเวียนศีรษะ
20. ความสุขทางเพศลดลง ขาดความใส่ใจในการดูแลตัวเอง
หากรวมคะแนนได้มากกว่า 17 คะแนน หมายความว่ามีความเครียดในระดับที่สูงกว่าปกติ ควรหาเวลาผ่อนคลายความเครียด เช่น การฝึกสมาธิ การออกกำลังกาย การหาที่ปรึกษาพูดคุย การฝึกปรับความคิดแง่บวก เป็นต้น
และควรสังเกตอาการต่อเนื่อง หากยังคงมีอาการต่อเนื่องเกือบทุกวัน ควรพบจิตแพทย์ ประเมินอาการอื่นๆเพิ่มเติม โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้า ให้คุรหมอวินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไปนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
ตอนนี้กำลังขาดความมั่นใจตัวเองอยู่ใช่ไหมครับ และอย่างที่บอกว่ารู้สึกว่าตอนนี้เพื่อนที่สนิทกันเริ่มห่างเหินและคำพูดนั้นของเพื่อนก็ยิ่งเป็นสิ่งที่ตอกย้ำในเรื่องของความคิดที่ว่าเราไร้ตัวตนเข้าไปอีก
ตรงนี้ที่ฟังมาเหมือนเราเองเป็นคนที่ถูกกระทำ สิ่งสำคัญคือหากเรารู้สึกไม่พอใจหรือรู้สึกว่าการกระทำของเพื่อนทำให้เรารู้สึกว่าไม่พอใจ ก็อาจจะต้องพูดออกมานะครับ ลองดูว่าจริงๆแล้วเพื่อนของเรานี้เหมาะสมกับเราหรือเปล่า เพราะถึงแม้ว่าเพื่อนเราคนนี้จะเป็นเพื่อนสนิทของเรา แต่ถ้าหากว่าวันหนึ่งเขาเริ่มปฎิบัติตัวกับเราไม่ดี ก็อยากให้ตระหนักไว้นะครับว่าเราสามารถสร้างเพื่อนใหม่ได้เช่นกัน แต่ก่อนที่จะไปถึงขั้นนั้นก็อยากให้เราได้ลองพูดคุยกับเพื่อนเราดูก่อน เปิดใจและลองดูว่าเขาจะตอบกลับความรู้สึกของเรามาอย่างไรครับ
นอกจากนั้นในการบริหารจัดการกับอารมณ์ของเราก็คือ การหันกลับมาดูแลตนเองให้มากขึ้น โดยเราสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาให้ตนเองรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือสนุกผ่อนคลาย และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะช่วยให้เรารู้ว่าเราก็สามารถมีความสุขกับตนเองได้ ซึ่งจะเป็นการทำให้สภาพจิตใจของตนเองโดยรวมค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวครับ
สุดท้ายนี้หากว่าไม่สามารถจัดการกับเรื่องนี้ได้จริงๆ การรับคำแนะนำจากนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ครับ หากมีคำถามอื่นๆก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมอค่ะหนูรู้สึกเหมือนตัวเองหงุดหงิดง่ายมากและช่วงนี้เพื่อนที่หนูสนิทก็เหมือนจะทำตัวห่างเหิน ตอนหนูนั่งเรียนหนูรู้สึกว่าตัวเองไร้ตัวตนมากๆเลยค่ะไม่มีใครสนใจ พอจะพูดเพื่อนสนิทก็จะแย่งซีน และเวลาหนูได้พูดเพื่อนข้างหลังก็จะพูดว่า "มึงคุยกับใครอ่ะ"ทุกครั้งเลยค่ะหนูควรทำไงดีค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)