เทคนิคออกแบบเพื่อฝึกระเบียบให้เหมาะกับนิสัยของลูก

เผยแพร่ครั้งแรก 9 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เทคนิคออกแบบเพื่อฝึกระเบียบให้เหมาะกับนิสัยของลูก

เคยสงสัยไหมว่าทำไมเด็กแต่ละคนที่ใช้วิธีการฝึกระเบียบวิธีเดียวกัน แต่กลับให้ผลลัพธ์ที่ต่างกัน นั่นก็เพราะลักษณะนิสัยที่แตกต่างของพวกเขานั่นเอง ดังนั้นการจะฝึกให้ลูกมีระเบียบวินัยได้จึงต้องคำนึงถึงนิสัยของเขาด้วย เพื่อจะได้เลือกวิธีการฝึกระเบียบได้อย่างเหมาะสมและให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ

ทำความเข้าใจกับนิสัยของลูก

เนื่องจากการฝึกระเบียบมีความสัมพันธ์กันกับลักษณะนิสัยของเด็ก ดังนั้นอันดับแรกจึงต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพวกเขามีนิสัยอย่างไร โดยมี 9 ข้อที่จะต้องทำความเข้าใจเพื่อประเมินนิสัยของลูก ดังนี้

1พฤติกรรม : สังเกตว่าลูกมักจะตื่นขึ้นมากลางดึกบ่อยแค่ไหนเมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน

2ความสม่ำเสมอ : ลูกมักจะกิน และนอนในเวลาเดียวกันทุกวันหรือไม่ ซึ่งหากไม่แน่นอนก็แสดงว่าเขามีนิสัยที่ขาดวินัยพอสมควร

3ความสนใจ : ลูกมีความสนใจในสิ่งใหม่ๆ และชอบที่จะพบปะผู้คนใหม่ๆ หรือไม่

4. การปรับตัว : ลูกสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว หรือผิดหวังและเสียใจเมื่อเจอกับความเปลี่ยนแปลง

5ความรุนแรงในการตอบสนอง : ลูกสามารถตอบสนองต่ออารมณ์ได้ดีหรือไม่ ทั้งในเรื่องดีและไม่ดี

6ความไวในการตอบสนอง : ลูกมีความไวในกรตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากแค่ไหน เช่น รสชาติ กลิ่น และรูปร่างลักษณะ

7สิ่งที่ทำให้ไข้เขว : ลูกมักจะมุ่งอยู่กับสิ่งที่สนใจโดยไม่สนใจสิ่งรอบข้าง หรือไขว้เขวได้ง่ายเมื่อมีอะไรมารบกวน

8ระยะเวลาของความสนใจ : เมื่อลูกให้ความสนใจกับบางสิ่ง เขาจะทำมันจนสำเร็จหรือล้มเลิกความสนใจไปได้โดยง่าย

9อารมณ์ : ลูกสามารถปรับอารมณ์ไปตามสภาพแวดล้อมโดยรอบได้ดีหรือปรับอารมณ์ได้ช้า

จาก 9 ข้อนี้ จะทำให้เราสามารถจำแนกนิสัยของลูกได้โดยง่าย และทราบว่าลูกมีนิสัยที่จัดอยู่ในกลุ่มไหน ควรเลือกวิธีการฝึกระเบียบอย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุด

นักวิจัยได้แบ่งเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

        กลุ่มที่ 1 : เด็กส่วนใหญ่จะมีนิสัยที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ประมาณ 40% ซึ่งพวกเขาจะมีอารมณ์ที่มั่นคงและมองโลกในแง่ดีเสมอ โดยสามารถที่จะปรับเปลี่ยนอารมณ์และพฤติกรรมไปตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้โดยง่าย หรืออาจเรียกได้ว่าพวกเขาสามารถที่จะปรับตัวได้เร็วนั่นเอง

                การฝึกระเบียบที่เหมาะกับเด็กกลุ่มนี้ สามารถใช้วิธีการใดก็ได้ เพราะพวกเขามีการเรียนรู้และตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงได้ง่ายอยู่แล้ว แต่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด อาจใช้วิธีการให้รางวัลเมื่อพวกเขาทำสำเร็จและการลงโทษเมื่อทำผิดผสมกันไป

                กลุ่มที่ 2 : เด็กกลุ่มนี้จะมีประมาณ 15% โดยพวกเขามักจะไม่ค่อยสนใจสิ่งรอบข้างมากนักและสามารถเรียนรู้ได้ช้า ซึ่งก็จะมีการปรับตัวเข้าสู่สังคมได้ยากพอสมควร แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาก็ชอบที่จะเรียนรู้จากการสังเกตเช่นกัน

                การฝึกระเบียบที่เหมาะกับเด็กกลุ่มนี้ จะต้องใช้วิธีการกระตุ้นให้พวกเขาได้ลองสิ่งใหม่ๆ และใช้ระบบการให้รางวัลเป็นหลัก ซึ่งพบว่าพวกเขาจะมีการตอบสนองต่อการให้รางวัลมากที่สุด เพราะการให้รางวัลที่เขาสนใจ จะทำให้เขาเกิดแรงดึงดูดที่จะทำการฝึกระเบียบให้สำเร็จมากขึ้น

                กลุ่มที่ 3 : เด็กกลุ่มนี้จะมีประมาณ 10% ซึ่งพวกเขามักจะมีอารมณ์ที่รุนแรง หงุดหงิดง่าย มีความไวต่อสิ่งเร้า แต่กลัวที่จะพบปะกับผู้คนใหม่ๆ ทำให้เข้าสังคมได้ยากพอสมควร นอกจากนี้พวกเขาก็มักจะมีการตอบสนองอย่างรุนแรงต่อคนที่ไม่ชอบอีกด้วย

                การฝึกระเบียบที่เหมาะกับเด็กกลุ่มนี้ จะต้องใช้วิธีการค่อยเป็นค่อยไป ให้พวกเขาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ไปทีละนิด และที่สำคัญควรเลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาทางด้านอารมณ์เป็นหลัก เพื่อลดความรุนแรงทางด้านอารมณ์ของลูกให้น้อยลงนั่นเอง

การฝึกระเบียบวินัยให้กับลูกเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม แต่จะฝึกอย่างไรให้ได้ผลลัพธ์ที่โดนใจและทำให้ลูกเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น จะต้องทำความเข้าใจกับลักษณะนิสัยของเขาให้ได้ก่อน เพื่อจะได้เลือกวิธีการฝึกได้อย่างเหมาะสมและให้ผลลัพธ์ที่ไม่ผิดหวังนั่นเอง นอกจากนี้การเลือกวิธีที่เหมาะสม ก็ไม่ทำให้ลูกรู้สึกแย่กับการฝึกระเบียบอีกด้วย


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
10 Ways to Help Your Child Succeed in Elementary School (for Parents). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/parents/school-help-elementary.html)
8 Ways to Teach Kids Self-Discipline Skills. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/teach-kids-self-discipline-skills-1095034)
Healthy Parenting: 10 Principles of Good Parenting. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/parenting/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)