May 19, 2018 11:24
ตอบโดย
วิภา สุวรรณชีวะศิริ (พญ.)
สวัสดีค่ะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ ตั้งแต่ความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น ไทรอยด์ หรือการมีฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงในกรณีที่เข้าสู่วัยหนุ่มสาว หรือวัยทอง โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว หรือที่เรียกว่า Bipolar รวมถึงการตกอยู่ในสถานการณ์ตึงเครียด ภาวะกดดันต่าง ๆ ก็ส่งผลต่ออารมณ์ได้ค่ะ เบื้องต่นให้ลองหากิจกรรมทำ เช่น ออกกำลังกาย ไปเที่ยว หรือลองปรึกษาคนใกล้ชิด หาอาการยังคงอยู่จนรบกวนชีวิตประจำวัน รบกวนการทำงาน กินนอนหลับ การรับประทานอาหาร แนะนำว่าควรไปพบจิตแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและแนวทางการรักษาที่เหมาะสม
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
เพิ่มเติมนะคะ..สาเหตุของอารมณ์หงุดหงิด ได้แก่
1 ปัจจัยภายใน ได้แก่ ลักษณะบุคลิกภาพ อารมณ์ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ความผิดปกติของสารสื่อนำประสาทในสมอง การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตหรือโรคทางจิตเวช
2 ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การเลี้ยงดู สภาพปัญหาที่ต้องเผชิญ (การเรียน การทำงาน การสร้างสัมพันธภาพกับคนรอบข้าง) ความเครียด ความกดดันจากครอบครัว เป็นต้น
หากรู้ว่าหงุดหงิด โดยที่ยังไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและไม่กระทบกับคนรอบข้าง ก้สามารถฝึกตนเองให้เป็นคนใจเย็น มีทักษะในการจัดการปัญหาอย่างเป็นระบบ ระบายความในใจกับคนที่ไว้วางใจได้ ออกกำลังกาย ฝึกสำรวจอารมณ์ ของตัวเองบ่อยๆ และรู้เท่าทันสภาวะอารมณ์ตัวเอง ค่อยๆปรับไปทีละน้อย แต่หากความขี้หงุดหงิดมันส่งผลกระทบต่อชีวิตอย่างมากก็แนะนำให้พบจิตแพทย์ให้คุณหมอประเมินอาการดูก่อนก็ได้นะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ถ้ามีอารมณ์หงุดหงิดง่ายสาเหตุค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)