กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

มีการเชื่อมโยงระหว่างบุคลิกภาพชนิดก้ำกึ่ง (BPD) และการนอกใจไหม?

ผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติแบบก้ำกึ่งมักติดอยู่กับพฤติกรรมอารมณ์รุนแรง
เผยแพร่ครั้งแรก 4 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
มีการเชื่อมโยงระหว่างบุคลิกภาพชนิดก้ำกึ่ง (BPD) และการนอกใจไหม?

การมีความสัมพันธ์กับคนที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (BPD) อาจเจอสถานการณ์ที่น่าผิดหวัง ภาวะอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายเป็นเรื่องปกติของหลายๆ คู่ แต่ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งมักทำให้ปัญหาของความสัมพันธ์รุนแรงขึ้น 

อย่างไรก็ตาม การอยู่กับคนมีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งไม่ได้หมายความว่า ความสัมพันธ์สุดท้ายจะล้มเหลวเสมอไป หลายๆ คนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนมีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง แต่หลายคนก็มีความสัมพันธ์เชิงลบจากการถูกนอกใจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คนที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งมักเจ้าชู้จริงหรือไม่?

ยังไม่มีการวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงระหว่างภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งกับการนอกใจ หรือเจ้าชู้ อัตราการนอกใจจากผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึงยังเป็นอัตราเดียวกับคนทั่วไป

มีการศึกษาถึงความชุกของการนอกใจ พบว่า 70% ของชายและหญิงที่แต่งงานแล้วมีการนอกใจคู่รักของตนเอง จึงเป็นไปได้ว่า คนที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งจะเจ้าชู้ เนื่องจากสภาพและอาการของโรคก่อให้เกิดการนอกใจมีปัญหาความสัมพันธ์ที่เจ็บปวด สถานการณ์แย่ลง

คุณสมบัติสองอย่างที่สำคัญของผู้มีบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง คือ มักมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและมีอารมณ์รุนแรง สองอาการนี้เป็นต้นเหตุของการนอกใจ อารมณ์รุนแรงมักเกิดผลกระทบต่อสัมพันธภาพ

คนที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึงมักต้องการความรักและการยอมรับจากคนอื่น พร้อมกับมีความสัมพันธ์แบบขึ้นๆ ลงๆ แปรปรวนง่าย และเมื่อรู้สึกว่าจะถูกทอดทิ้ง หรือถูกปฏิเสธจะมีอารมณ์รุนแรงและเริ่มกระทำพฤติกรรมเสี่ยงๆ อาจจะทำสิ่งต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบเพียงเพื่อรู้สึกดีขึ้นในระยะสั้น

การนอกใจจึงอาจเกิดขึ้นผู้มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งจะคิดว่าคู่รักเจ้าชู้ด้วยไหม?

ผู้มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งมักนอกใจคนอื่น จึงมีแนวโน้มสูงที่จะสงสัยว่า คู่รักมีการนอกใจด้วย ส่วนหนึ่งของอาการ BPD คือ มีสมมติฐานที่เลวสุดต่อผู้อื่น อาการไม่นับถือตนเอง ทำให้ยากที่จะเชื่อว่า มีคนที่รักและซื่อสัตย์ด้วยจริงจังและมีแนวโน้มที่จะคิดว่า คู่รักจะทำร้ายตนในทางใดทางหนึ่ง

อาการกลัวถูกทอดทิ้งทำให้ผู้มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งเป็นคนขี้สงสัยและไม่ไว้ใจคนอื่น มักหวาดระแวงว่า คู่รักจะหักหลัง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดังนั้นผลกระทบเชิงลบต่อคู่รักและความสัมพันธ์มักเกิดขึ้นหากคู่รักที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งกล่าวหาว่า คุณนอกใจ หรือหลอกลวง 

คุณมักจะมีอารมณ์โกรธและอาจจะคิดถึงการสิ้นสุดความสัมพันธ์

ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งมักทำให้ปัญหาความสัมพันธ์เลวลงอาจถึงสิ้นสุด ผู้มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งมักไม่นอกใจคู่รักมากขึ้น แต่จะอยู่บนความสัมพันธ์ของสองคนที่ตึงเครียดมากกว่า หากคุณ หรือคู่รักมีอาการของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง ควรติดต่อนักบำบัด หรือจิตแพทย์

การรักษาจะช่วยให้คุณผ่านพ้นปัญหาเรื่องความสัมพันธ์และทำให้เข้าใจคู่รักถึงที่มาของอาการภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งดีขึ้น 

การบำบัดทำให้คุณได้เรียนรู้ทั้งการสื่อสารและทักษะที่จำเป็นในการรับมือกับปัญหา ช่วยให้คุณผ่านเวลาที่ยากลำบากและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แข็งแร่งขึ้น


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Kimberly Holland, What You Need to Know About Borderline Personality Disorder and Relationships (https://www.healthline.com/health/mental-health/borderline-personality-disorder-relationships) 13 June 2019
Randy A. Sansone, Sexual Behavior in Borderline Personality (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3071095/)
Kristalyn Salters-Pedneault, Borderline Personality Disorder and Cheating (https://www.verywellmind.com/are-people-with-bpd-more-likely-to-cheat-425228)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ (Personality Disorder)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ (Personality Disorder)

มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักในตำราวินิจฉัยด้านความผิดปกติทางจิตฉบับที่ 5 (DSM-5)

อ่านเพิ่ม
สถิติของโรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่ง
สถิติของโรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่ง

โรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่งพบได้บ่อยกว่าที่คุณคิด

อ่านเพิ่ม
10 ทักษะการรับมือที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพสำหรับโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง
10 ทักษะการรับมือที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพสำหรับโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง

วิธีที่จะช่วยจัดการอาการของโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งของคุณในทุก ๆ วัน

อ่านเพิ่ม