การตรวจ Antiphospholipid antibodies ทางเลือด ทำเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุของการมีเกล็ดเลือดต่ำ การแท้งซ้ำ และการมีภาวะเลือดแข็งตัวที่ไม่เหมาะสม คนทั่วไปที่ไม่มีอาการจำเพาะไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจ และไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดๆ ก่อนตรวจทั้งสิ้น
ชื่ออื่น: APA, Phospholipid antibodies
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ชื่อทางการ: Antiphospholipid antibodies
จุดประสงค์การตรวจ Antiphospholipid antibodies
การตรวจ Antiphospholipid antibodies ทำเพื่อวินิจฉัยสาเหตุของภาวะดังต่อไปนี้
- เลือดแข็งตัวไม่เหมาะสม
- ภาวะแท้งซ้ำ
- เกล็ดเลือดต่ำ
- การตรวจ Prolonged PTT
หากตรวจพบ Antiphospholipid antibody ก็จะต้องมีการตรวจซ้ำหลังผ่านไป 12 สัปดาห์ เพื่อดูว่ายังคงมี Antiphospholipid antibody อยู่หรือไม่
นอกจากนี้แพทย์อาจตรวจ Antiphospholipid antibody เพื่อช่วยวินิจฉัย หรือประเมินโรคแพ้ภูมิตัวเอง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นควบคู่กับโรคอื่นๆ เช่น โรคลูปัส หากผลตรวจ Antiphospholipid antibodies ของผู้ที่เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองเป็นลบ ก็อาจต้องตรวจซ้ำเพื่อหาว่าร่างกายผลิตแอนติบอดีในช่วงที่เป็นโรคหรือไม่
เมื่อไรที่ต้องตรวจ Antiphospholipid antibodies?
แพทย์อาจตรวจ Antiphospholipid antibodies เมื่อพบว่าผู้เข้ารับการตรวจ มีสัญญาณดังนี้
- มีสัญญาณและอาการที่บ่งชี้ว่ามีลิ่มเลือด เช่น ปวดและบวมในแขนและขา หายใจลำบาก และปวดศีรษะ
- มีภาวะแท้งซ้ำ
- ติดตาม Prolonged PTT test
- มีสัญญาณที่บ่งชี้ถึงการเป็น Antiphospholipid syndrome
เมื่อหนึ่งในผลการตรวจเหล่านี้เป็นบวก ก็อาจต้องตรวจซ้ำหลังจากผ่านไปหลายสัปดาห์เพื่อตัดสินว่ามีแอนติบอดีชั่วคราวหรือต่อเนื่อง กรณีที่มีผลตรวจเป็นลบ ก็อาจต้องตรวจซ้ำในช่วงเวลาปกติเพื่อตรวจหา Antiphospholipid antibody
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
วิธีเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ Antiphospholipid antibodies
แพทย์จะตรวจ Antiphospholipid antibodies จากเลือดโดยการแทงเข็มเข้าไปในเส้นเลือดดำที่แขน ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวล่วงหน้า
รายละเอียดการตรวจ Antiphospholipid antibodies
Antiphospholipid antibodies เป็นกลุ่มของโปรตีนภูมิคุ้มกันที่ร่างกายผลิตขึ้น ซึ่งจะไปทำลายเนื้อเยื่อของตัวเองเมื่อภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อฟอสโฟลิพิด (Phospholipids) ที่เป็นองค์ประกอบโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ช่วยให้เลือดแข็งตัว และยังจำเป็นต่อการทำงานของเกล็ดเลือดเนื่องจากเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เลือดแข็งตัว
Antiphospholipid antibodies จะไปขัดขวางกระบวนการแข็งตัวของเลือด ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะกลับมามีลิ่มเลือดภายในเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และหรือภาวะแท้ง
แพทย์สามารถตรวจพบ Antiphospholipid antibodies จากภาวะทางการแพทย์ต่างๆ ได้ ดังนี้
- โรคแพ้ภูมิตัวเอง เช่น โรคลูปัส โรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรค Systemic sclerosis
- การติดเชื้อ เช่น HIV Mononucleosis Rubella
- มะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ปอด รวมถึงมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- การใช้ยาบางชนิด เช่น Procainamide Phenothiazines และยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน
ความหมายของผลตรวจ Antiphospholipid antibodies
การแปลผลของ Antiphospholipid antibody จะต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะการมีผลลบหมายความว่าแอนติบอดีที่จำเพาะยังไม่ปรากฏตอนที่ตรวจสอบ แต่หากพบแอนติบอดีหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งที่มีระดับต่ำ กรณีนี้อาจเกิดขึ้นชั่วคราวเนื่องจากการติดเชื้อ ยา หรือเมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งจะต้องมีการนำไปพิจารณาควบคู่กับองค์ประกอบอื่นต่อไป
ส่วนการมีหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่ง Antiphospholipid antibodies ระดับปานกลางถึงสูง บ่งชี้ได้ถึงแนวโน้มที่จะมีแอนติบอดีที่จำเพาะอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะยังคงมีระดับข้างต้นเมื่อตรวจอีกครั้งหลังจากผ่านไป 12 สัปดาห์ ซึ่งหมายความว่ามีความเสี่ยงในการเกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำ แท้งซำ หรือกลับมามีลิ่มเลือดเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้แพทย์อาจพบ Antiphospholipid antibodies ชั่วคราวในคนที่ร่างกายอักเสบ เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง ติดเชื้อ หรือเป็นโรคมะเร็ง
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Antiphospholipid antibody
สารเคมีที่ถูกนำมาใช้ตรวจหาซิฟิลิสมีฟอสโฟลิพิด ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลบวกลวงในผู้ที่มี Antiphospholipid antibodies และอาจพบผลบวกลวงในผู้ที่รับประทานยาดังต่อไปนี้
- Quinidine
- Procainamide
- Phenytoin
- Penicillin