ยาคุมต้านการบวมน้ำ

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาคุมต้านการบวมน้ำ

ผลข้างเคียงจากยาคุมกำเนิด โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจนในยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม อาจลดการขับน้ำออกไปเป็นปัสสาวะ และเพิ่มการดูดกลับของน้ำจากปัสสาวะที่ท่อไต ทำให้ร่างกายมีปริมาณน้ำสูงขึ้นจนเกิดภาวะบวมน้ำ

อย่างไรก็ตาม ฮอร์โมนโปรเจสตินรุ่นใหม่ อย่าง Drospirenone มีฤทธิ์ Antimineralocorticoid จึงลดการคั่งบวมน้ำได้ดี และนอกจากนี้ ยังมีฤทธิ์ Antiandrogen จึงช่วยลดปัญหาสิว, ผิวมัน และขนดกได้อีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาคุมที่ใช้ Drospirenone ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยในปัจจุบัน (ตุลาคม 2561) จะมีอยู่ 5 ยี่ห้อ ดังนี้ค่ะ

ยาสมิน

(Yasmin)

เมโลเดีย

(Melodia)

จัสติมา

(Justima)

ยาส

(Yaz)

ซินโฟเนีย

(Synfonia)

ใน 1 แผง มี 21 เม็ด

เป็น “เม็ดยาฮอร์โมน” ทั้งหมด

ไม่มี “เม็ดแป้ง”

ใน 1 แผง มี 28 เม็ด

เป็น “เม็ดยาฮอร์โมน” 24 เม็ด

และ “เม็ดแป้ง” 4 เม็ด

Ethinylestradiol 0.030 มิลลิกรัม

Drospirenone 3 มิลลิกรัม

Ethinylestradiol 0.020 มิลลิกรัม

Drospirenone 3 มิลลิกรัม

320 – 360 บาท

280 – 350 บาท

250 – 320 บาท

400 – 450 บาท

350 – 390 บาท

ยาคุมต้านการบวมน้ำ ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

จากตาราง จะเห็นได้ว่ายาคุมต้านการบวมน้ำที่มีจำหน่ายในประเทศไทย มี 2 รูปแบบนะคะ นั่นคือ

  • ยาคุมแบบ 21 เม็ด ได้แก่ ยาสมิน, เมโลเดีย และจัสติมา ทั้ง 3 ยี่ห้อ เป็นยาสูตรเดียวกันค่ะ นั่นคือ มีตัวยาฮอร์โมนชนิดเดียวกัน และมีปริมาณยาเท่ากัน ดังนั้น จึงสามารถใช้แทนกันได้
  • ยาคุมแบบ 28 เม็ด ได้แก่ ยาส และซินโฟเนีย ทั้ง 2 ยี่ห้อ เป็นยาสูตรเดียวกัน ใช้แทนกันได้เช่นกันนะคะ

ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือยี่ห้อใดก็ตาม หากมีการรับประทานถูกต้องและตรงเวลาสม่ำเสมอ ก็มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดไม่ต่างกัน นั่นคือ ผู้ใช้มีโอกาสตั้งครรภ์น้อยมาก เพียง 0.3% เท่านั้น

แต่สิ่งที่แตกต่างกัน ก็คือ...

  1. รูปแบบและวิธีการใช้

    สำหรับยาสมิน, เมโลเดีย และจัสติมา ที่เป็นยาคุมแบบ 21 เม็ด เมื่อรับประทานหมดแล้ว จะต้องเว้นว่าง 7 วัน ก่อนต่อยาคุมแผงใหม่ ประจำเดือนจะมาในช่วงที่เว้นว่าง โดยมักจะมาหลังใช้ยาหมดไปแล้ว 2 – 3 วัน หรือคลาดเคลื่อนเล็กน้อย

    ส่วนยาสและซินโฟเนีย ที่เป็นยาคุมแบบ 28 เม็ด เมื่อรับประทานหมดแผงแล้ว จะต้องต่อแผงใหม่ในวันถัดมา ไม่ต้องเว้นว่างเพิ่มอีก ประจำเดือนจะมาในช่วงที่รับประทาน “เม็ดแป้ง” โดยมักจะมาหลังใช้ “เม็ดยาฮอร์โมน” หมดไปแล้ว 2 – 3 วัน หรือคลาดเคลื่อนเล็กน้อย

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

    แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

    และเนื่องจากยาสและซินโฟเนีย มี “เม็ดยาฮอร์โมน” 24 เม็ด ซึ่งต่างจากยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมส่วนใหญ่ที่มี 21 เม็ด ดังนั้น ผู้ใช้ยาสและซินโฟเนียจึงมีประจำเดือนมาช้ากว่ายาคุมหลาย ๆ ยี่ห้อนะคะ แต่ไม่มีปัญหาค่ะ ไม่ต้องกังว

  2. ผลข้างเคียง

    ยาสและซินโฟเนียจะมีปริมาณ Ethinylestradiol 0.020 มิลลิกรัม/เม็ด ในขณะที่ยาสมิน, เมโลเดีย และจัสติมา จะมี Ethinylestradiol 0.030 มิลลิกรัม/เม็ด การที่ยาสและซินโฟเนียมีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยกว่า ทำให้ผลข้างเคียงจากเอสโตรเจน เช่น คลื่นไส้, อาเจียน, ปวดศีรษะ และฝ้า พบได้น้อยกว่านะคะ

  3. ความยืดหยุ่นในการใช้

    การที่ยาสและซินโฟเนียมีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนในเม็ดยาน้อยกว่ายาสมิน, เมโลเดีย และจัสติมา ทำให้ความยืดหยุ่นในการใช้น้อยกว่าเช่นกันนะคะ

    นั่นคือ หากพิจารณาตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO 2016) ยาคุมที่มีปริมาณ Ethinylestradiol ไม่เกิน 0.020 มิลลิกรัม/เม็ด อย่างยาสและซินโฟเนีย จะไม่มีผลคุมกำเนิดต่อเนื่องหากลืมรับประทาน “เม็ดยาฮอร์โมน” ติดต่อกันตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป

    ในขณะที่ยาคุมที่มีปริมาณ Ethinylestradiol ตั้งแต่ 0.030 มิลลิกรัม/เม็ด ขึ้นไป อย่างยาสมิน, เมโลเดีย และจัสติมา แม้จะลืมรับประทานติดต่อกัน 2 วัน ก็ยังถือว่ามีผลคุมกำเนิดต่อเนื่องค่ะ แต่ถ้าลืมรับประทานติดต่อกันตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปก็จะไม่มีผลคุมกำเนิดต่อเนื่องแล้วนะคะ

  4. ราคา
    เมื่อมองในภาพรวม ยาส/ซินโฟเนีย จะมีราคาสูงกว่า ยาสมิน/เมโลเดีย/จัสติมา ค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Oral Contraceptives: Mode of Action & Dermatologic Applications. Medscape. (https://www.medscape.com/viewarticle/502371_5)
Oral Contraceptives and Antiandrogens Most Effective for Hirsutism Pharmacotherapy. American Academy of Family Physicians (AAFP). (https://www.aafp.org/afp/2019/0101/p55.html)
Types of Progestin in Combination Birth Control Pills. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/different-progestin-types-906936)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)