การเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจสภาวะของทารกในครรภ์เป็นการทดสอบที่เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ เพื่อตรวจสอบว่าเด็กทารกมีความผิดปรกติทางพันธุกรรมอย่างดาวน์ซินโดรมหรือไม่
กระบวนการของมันมีการนำและทดสอบตัวอย่างเซลล์จากน้ำคร่ำซึ่งเป็นน้ำที่ห้อมล้อมตัวอ่อนในครรภ์ (ภายในมดลูก)
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
จะมีการเจาะน้ำคร่ำตรวจเมื่อไร?
การเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจสภาวะของทารกนั้นอาจไม่ได้ดำเนินการกับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ทุกคน โดยมักจะดำเนินการกับกลุ่มที่คาดว่ามีความเสี่ยงที่เด็กจะมีความผิดปรกติทางพันธุกรรมเท่านั้น
ซึ่งอาจเกิดมาจาก:
การทดสอบคัดกรองก่อนหน้าพบแนวโน้มของภาวะปัญหาอย่างโรคดาวน์ซินโดรม มีความบกพร่องที่กระดูกสันหลัง หรือโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว เป็นต้น หากแม่ที่อุ้มท้องเคยคลอดบุตรที่มีภาวะปัญหามาก่อน หากประวัติครอบครัวของเด็กมีภาวะความผิดปรกติทางพันธุกรรมอย่างเช่นโรคซิสติกไฟโบรซิส หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และพบความผิดปรกติที่ตัวทารกระหว่างการทำอัลตร้าสแกน
อย่าลืมว่าการเจาะน้ำคร่ำตรวจสภาวะของทารกนั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของมารดา (คุณ) เอง โดยทางแพทย์ผดุงครรภ์ของคุณจะเป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับการทดสอบที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ และชี้แจงถึงประโยชน์และความเสี่ยงจากการดำเนินการเจาะน้ำคร่ำ เพื่อช่วยในการตัดสินใจของคุณ
การเจาะน้ำคร่ำตรวจดำเนินการอย่างไร?
การเจาะน้ำคร่ำมักดำเนินการกับสตรีที่ตั้งครรภ์ระหว่างสัปดาห์ที่ 15 และ 20 และอาจดำเนินการในช่วงหลังจากนั้นได้ตามความจำเป็น แต่สำหรับการเจาะตรวจก่อนหน้าระยะเวลาดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของการเจาะน้ำคร่ำได้ จึงไม่ควรทำเร็วเกินไป
ระหว่างการทดสอบ จะมีการใช้เข็มเรียวยาวแทงผ่านผนังช่องท้องลงไป โดยจะมีการใช้เทคนิคอัลตราสแกนช่วยนำทางเข็ม โดยเข็มจะเจาะผ่านถุงน้ำคร่ำที่หุ้มตัวทารกอยู่ และจะทำการดูดเอาตัวอย่างน้ำคร่ำออกมาเพื่อวิเคราะห์ การทดสอบมักใช้เวลาประมาณ 10 นาที
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การเจาะตรวจน้ำคร่ำมักไม่สร้างความเจ็บปวดหรือความไม่สบายตัว แต่ผู้หญิงบางคนก็อาจรู้สึกเจ็บคล้ายปวดประจำเดือน หรือรู้สึกถึงแรงดันขณะที่แพทย์ถอนเข็มออกได้
การรับผลการตรวจ
ผลการตรวจครั้งแรกมักจะออกมาภายในสามวัน ซึ่งสามารถบอกได้ว่ามีการพบโรคใดบ้าง (ดาวน์ เอ็ดเวิร์ด หรือพาทัวซินโดรม) หากเป็นการทดสอบหาภาวะความผิดปรกติที่หายากกว่านั้น อาจใช้เวลาสองถึงสามอาทิตย์กว่าผลจะออก
ถ้าหากผลการตรวจน้ำคร่ำออกมาแสดงให้เห็นว่าลูกของคุณมีความผิดปรกติทางพันธุกรรมชนิดรุนแรง แพทย์จะชี้แจงผลการตรวจและอาการที่ลูกคุณต้องประสบให้แก่คุณ ซึ่งสภาวะส่วนมากที่พบจากการตรวจน้ำคร่ำจะไม่มีทางรักษา
คุณอาจเลือกอุ้มท้องต่อไปพร้อมกับการค้นหาแนวทางรับมือกับภาวะของบุตร หรืออาจเลือกอีกทางขึ้นอยู่กับคุณเอง ดังนั้นคุณต้องพิจารณาและตัดสินใจหาทางออกที่ดีและถี่ถ้วนที่สุด
ความเสี่ยงของการเจาะนำคร่ำเพื่อตรวจสภาวะทารกมีอะไรบ้าง?
แพทย์ต้องชี้แจงเรื่องของความเสี่ยงและภาวะข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังการเจาะให้กับผู้ที่ต้องการทำการเจาะตรวจน้ำคร่ำก่อนการตัดสินใจทุกครั้ง ความเสี่ยงของการเจาะตรวจที่สำคัญที่สุดคือการแท้งบุตร หรือก็คือการสูญเสียบุตรในครรภ์ในช่วงอายุ 23 สัปดาห์แรก โดยคาดประมาณว่าสตรีที่แท้งบุตร 1% มาจากการเจาะน้ำคร่ำไปตรวจ
ความเสี่ยงอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่นการติดเชื้อ หรือการต้องทำการเจาะซ้ำเนื่องจากผลการทดสอบในครั้งแรกอาจไม่ได้ให้ผลที่แม่นยำที่สุด ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการเจาะตรวจน้ำคร่ำจะมีสูงขึ้นหากดำเนินการเจาะตรวจขณะที่ตั้งครรภ์เพียง 15 สัปดาห์ จึงเป็นเหตุผลที่การเจาะตรวจน้ำคร่ำสามารถเริ่มทำได้หลังจากอายุครรภ์เลยช่วงนี้ไปแล้ว
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ทางเลือกอื่น ๆ มีอะไรบ้าง?
วิธีการเจาะตรวจน้ำคร่ำอีกวิธีเรียกว่าการตรวจชิ้นเนื้อรก (CVS) ซึ่งจะเป็นการใช้ตัวอย่างเซลล์จากพลาเซนต้าหรือรก (อวัยวะที่เชื่อมเส้นทางส่งถ่ายเลือดจากแม่สู่ทารกในครรภ์)
วิธีการนี้มักดำเนินการระหว่างช่วงสัปดาห์ที่ 11 และ 14 ของการตั้งครรภ์ และสามารถดำเนินเมื่ออายุครรภ์เลยจากที่กล่าวไปได้หากจำเป็น
เทคนิค CVS นี้จะมีความเสี่ยงที่ทำให้แท้งอยู่ที่ประมาณ 1 – 2% ซึ่งสูงกว่าอัตราการแท้งบุตรเนื่องจากเจาะน้ำคร่ำเล็กน้อย แต่วิธีการตรวจเช่นนี้สามารถดำเนินการได้เร็วกว่าทำให้คุณมีเวลาพิจารณาผลลัพธ์มากกว่า
หากคุณถูกแนะนำให้เข้าตรวจเพื่อหาความผิดปรกติทางพันธุกรรมของลูกของคุณ ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่ตรวจให้คุณเข้ามาชี้แจงตัวเลือกการตรวจต่าง ๆ และเพื่อช่วยในการตัดสินใจของคุณ
ทำไมถึงแนะนำให้ทำการตรวจสภาวะทารก?
การเจาะตรวจน้ำคร่ำทำให้แม่ที่กำลังตั้งครรภ์เข้าใจถึงความเสี่ยงที่ลูกจะออกมามีภาวะความผิดปรกติทางพันธุกรรม และเพื่อวินิจฉัยภาวะที่อาจมีตั้งแต่ช่วงแรก ๆ
การเจาะตรวจน้ำคร่ำไม่ใช่กระบวนการบังคับที่ต้องให้คุณแม่ท้องทุกคนปฏิบัติก่อนคลอด มันเป็นเพียงข้อเสนอที่ควรทำการตรวจก็ต่อเมื่อมีประวัติทางการแพทย์ของพ่อแม่หรือของครอบครัวอยู่ในกลุ่มเสี่ยง
ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณเองว่าการตรวจนี้จำเป็นจริง ๆ หรือไม่
การเจาะตรวจน้ำคร่ำสามารถตรวจพบภาวะใดได้บ้าง?
การเจาะตรวจน้ำคร่ำสามารถวินิจฉัยและหาภาวะความผิดปรกติทางพันธุกรรมร้ายแรงได้หลายประเภทดังนี้:
- ดาวน์ซินโดรม: ซึ่งเป็นภาวะที่ส่งผลต่อความบกพร่องทางระดับการเรียนรู้และบุคลิกภาพการแสดงออก
- เอ็ดเวิร์ด ซินโดรม และพาทัวซินโดรม: ภาวะที่ส่งผลให้แท้งบุตร การเสียชีวิตในครรภ์ หรือ (กรณีที่ทารกรอดออกมา) มีปัญหาทางร่างกายรุนแรง และมีความบกพร่องทางการเรียนรู้
- โรคซิสติกไฟโบรซิส: ภาวะที่ทำให้ปอดและระบบย่อยอาหารเกิดอุดตันด้วยเมือกเหนียว
- โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง: ภาวะที่ทำให้เกิดอาการอ่อนแรงที่กล้ามเนื้อและทำให้พิการ
- โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว: ที่ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดแดงพัฒนาขึ้นอย่างผิดปรกติ ทำให้ไม่สามารถส่งผ่านออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้คนทั่วไป
- ทัลลาสซิเมีย: ภาวะที่ส่งผลต่อเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งส่งผลทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง จำกัดการเจริญเติบโต และสร้างความเสียหายแก่อวัยวะ
การเจาะตรวจน้ำคร่ำยังสามารถทดสอบหาภาวะหลอดประสาทไม่ปิดได้อีกเช่นกัน ซึ่งประเภทของภาวะที่พบบ่อยคือความบกพร่องที่กระดูกสันหลัง ซึ่งก่อให้เกิดอาการอัมพาต (อ่อนแรง) ที่ช่วงล่าง และมีความบกพร่องทางการเรียนรู้
การตัดสินใจว่าควรเข้ารับการเจาะตรวจน้ำคร่ำหรือไม่
หากคุณถูกแนะนำให้รับการตรวจ CVS ให้คุณปรึกษาแพทย์หรือหมอผดุงครรภ์ของคุณถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่ได้รับ แต่สำหรับการตัดสินใจนั้น คุณต้องเป็นคนเลือกเอง
เหตุผลที่ควรรับการเจาะตรวจน้ำคร่ำ
การทดสอบมักจะบอกได้ว่าทารกจะเกิดมาพร้อมภาวะทางพันธุกรรมอะไรบ้างโดย ผลการตรวจที่สรุปว่าพบความผิดปรกติจะช่วยให้คุณสามารถมีเวลาตัดสินใจหาแนวทางดูแลการตั้งครรภ์ครั้งนี้อย่างไรบ้างมากขึ้น
เหตุผลที่ไม่ควรรับการเจาะตรวจน้ำคร่ำ
หลังกระบวนการจะมีความเสี่ยงที่จะแท้งบุตร 1% หากคุณรู้สึกว่าความเสี่ยงเท่านี้สูงกว่าประโยชน์ที่จะได้รับก็สามารถเลือกที่จะไม่เข้ารับการตรวจก็ได้
เกิดอะไรขึ้นบ้าง?
การเจาะน้ำคร่ำตรวจสภาวะของทารกในครรภ์จะมีการดึงตัวอย่างน้ำคร่ำปริมาณเล็กน้อยเพื่อทดสอบกับเซลล์ที่ติดขึ้นมา ซึ่งน้ำคร่ำดังกล่าวก็คือของเหลวที่ห้อมล้อมตัวอ่อน (เด็กในครรภ์) ที่อยู่ในมดลูกเอาไว้
การเตรียมตัวเพื่อเข้ารับการเจาะตรวจน้ำคร่ำ
ผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ คุณสามารถดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารก่อนเข้าตรวจได้ตามปรกติ ในบางกรณีแพทย์อาจจะห้ามไม่ให้คุณเข้าห้องน้ำทำธุระก่อนหน้าการตรวจจริงไม่กี่ชั่วโมง เนื่องจากเมื่อกระเพาะปัสสาวะเต็มอยู่จะทำให้การเจาะตรวจเป็นไปได้ง่ายขึ้น โดยหากต้องปฏิบัติเช่นนี้ ทางแพทย์ผดุงครรภ์จะเป็นผู้ชี้แจงล่วงหน้า อีกทั้งผู้เข้ารับการตรวจก็สามารถพาเพื่อน หรือครอบครัวเข้าไปในห้องปฏิบัติการณ์ได้เพื่อเป็นกำลังใจขณะตรวจ
การสแกนอัลตร้าซาวด์
จะมีการสแกนอัลตราซาวด์ก่อนและระหว่างการเจาะตรวจน้ำคร่ำ โดยการสแกนอัลตราซาวด์จะใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการสร้างภาพภายในครรภ์ออกมาบนหน้าจอ อีกทั้งการใช้อัลตราซาวด์ยังสามารถ:
ตรวจสอบตำแหน่งของตัวอ่อน มองจุดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเจาะตรวจน้ำคร่ำ และเพื่อให้แพทย์มั่นใจได้ว่าเข็มที่ใช้จะสามารถผ่านทะลุผนังช่องท้องและผนังครรภ์ได้
ยาชา
ก่อนที่แพทย์จะแทงเข็มลงไปยังช่องท้อง ผิวบริเวณที่ต้องเจาะจะถูกทำให้ชาด้วยยาชา ซึ่งจะมาในรูปแบบของการฉีดเข้าไป โดยในกรณีส่วนมาก การใช้ยาชาก็อาจไม่ได้ผล ทำให้มันเป็นกระบวนการที่ไม่จำเป็นต้องฉีดก่อนก็ได้
การเจาะน้ำคร่ำตรวจสภาวะทารกดำเนินการอย่างไร?
จะมีการใช้ยาฆ่าเชื้อเพื่อทำความสะอาดผิวหนังช่วงท้องที่จะทำการเจาะเข็มลงไปเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อลง โดยเข็มที่ใช้จะเป็นเข็มกลวงยาวและบางมาก ซึ่งจะแทงผ่านผนังช่องท้องไปสู่ครรภ์ โดยอาจมีความรู้สึกเจ็บนิดหน่อย
จะมีการใช้เทคนิคอัลตราซาวด์ในการนำทางเข็มลงไปให้ถึงถุงน้ำคร่ำที่หุ้มตัวอ่อนอยู่ เมื่อมาถึง แพทย์จะใช้หลอดฉีดยาติดที่ปลายด้านนอกของท่อเพื่อดูดเอาน้ำคร่ำตัวอย่างออกมา ซึ่งจะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการณ์เพื่อทำการวิเคราะห์ต่อไป
โดยผู้หญิงตั้งครรภ์ที่เข้าตรวจน้ำคร่ำ 8 จาก 100 คนจะต้องเข้าตรวจซ้ำเนื่องจากปริมาณของเหลวที่ดูดออกมาในครั้งแรกไม่เพียงพอ หากเกิดกรณีเช่นนี้ จะต้องดำเนินการตามข้างต้นซ้ำอีกครั้ง
การเจาะตรวจน้ำคร่ำเจ็บหรือไม่?
อาจมีความรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัวขณะดำเนินการบ้าง ผู้หญิงบางคนเทียบความรู้สึกขณะถูกเจาะตรวจว่าเหมือนปวดประจำเดือน หรือรู้สึกถึงแรงดันขณะที่เข็มถูกถอนออก
กระบวนการกินเวลานานเพียงใด?
โดยทั่วไปนั้นกระบวนการนี้มักใช้เวลาประมาณ 10 นาที แต่หลังกระบวนการ คุณจะถูกเฝ้ามองอาการเป็นเวลาอีก 1 ชั่วโมง เพื่อระวังกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นอย่างภาวะเลือดออกอย่างหนัก ซึ่งหากปลอดภัย คุณก็สามารถกลับบ้านได้ ควรพาบุคคลที่สามหรือคนใกล้ชิดมาในวันตรวจด้วย เนื่องจากคุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวหลังการดำเนินงานได้
การพักฟื้นตัวหลังการเจาะตรวจน้ำคร่ำ
หลังการเจาะตรวจ มักจะเกิดอาการแน่นท้องคล้ายปวดประจำเดือนได้ และอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อยเป็นเวลาประมาณหนึ่งถึงสองวัน โดยระหว่างนี้คุณสามารถใช้ยาแก้ปวดทั่วไปอย่างพาราเซตตามอลได้ (แต่ไม่ควรทานอิบูโพรเฟนหรือแอสไพริน) ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงในช่วงนี้ ให้ติดต่อไปยังแพทย์ผดุงครรภ์หรือโรงพยาบาลที่ทำการตรวจเจาะทันทีหากเกิดอาการดังต่อไปนี้:
- มีอาการเจ็บปวดรุนแรงหลายวัน
- มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
- มีอาการหนาวสั่น
- มีของเสีย หรือมีน้ำใส ๆ ออกจากช่องคลอด
- เกิดการหดรัดตัวขึ้น (อาการที่ช่วงท้องเกิดการเกร็งและผ่อน)
การรับผลตรวจ
ผลการตรวจน้ำคร่ำครั้งแรกมักจะเข้ามาภายในเวลาไม่กี่วัน และแพทย์จะเป็นผู้แจ้งกับคุณว่าพบปัญหาทางโครโมโซมอย่างโรคดาวน์ซินโดรมหรือไม่ หากเป็นการตรวจหาสภาวะโรคที่หายาก ผลการตรวจอาจใช้เวลาวิเคราะห์นานถึงสองหรือสามสัปดาห์จนกว่าได้
คุณสามารถเลือกรับฟังผลจากทางโทรศัพท์หรือไปพบแพทย์ตัวต่อตัวที่โรงพยาบาลก็ได้ คุณยังจะได้รับจดหมายแจ้งผลการตรวจอีกเช่นกัน
ผลการตรวจมีความน่าเชื่อถือเพียงใด?
การเจาะตรวจน้ำคร่ำมักให้ผลที่แม่นยำประมาณ 98 – 99% อย่างไรก็ตาม การตรวจประเภทนี้ก็ไม่สามารถทดสอบความผิดปรกติก่อนคลอดได้ทุกอย่าง และในบางกรณีการตรวจเพียงครั้งเดียวก็ไม่อาจได้ผลที่สามารถสรุปภาวะของทารกได้ อีกทั้งผลการตรวจที่ออกมาปรกติ ก็ไม่ได้หมายความว่าทารกในครรภ์จะมีสุขภาพสมบูรณ์ดี เนื่องจากการทดสอบไม่ได้ตรวจหาร่องรอยของโรคทางพันธุกรรมทุกอย่างที่มี
หากผลการตรวจออกมาเป็น “บวก” แสดงให้เห็นว่าทารกของคุณมีภาวะความผิดปรกตินั้น ๆ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้จะมีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่คุณ เพื่อให้คุณทำการตัดสินใจหาแนวทางรับมือหรือจัดการกับเรื่องนี้ต่อไป
จะเกิดอะไรขึ้นหากพบปัญหาในน้ำคร่ำ?
หากผลการตรวจสรุปออกมาว่าลูกของคุณจะมีภาวะความผิดปรกติทางพันธุกรรม คุณจะได้รับฟังข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจเป็นกุมารแพทย์ นักพันธุศาสตร์ หรือผู้ปรึกษาด้านพันธุศาสตร์ก็ได้ โดยพวกเขาเหล่านี้จะสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะดังกล่าวได้ รวมไปถึงปัญหาที่ลูกของคุณต้องเผชิญ การรักษา และการช่วยเหลือต่าง ๆ ที่พวกเขาต้องได้รับ อีกทั้งยังให้ความคิดเห็นในมุมมองการใช้ชีวิตของเด็กในอนาคตต่อไป ทั้งหมดนี้เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจการกระทำของคุณด้วย
โรคทางพันธุกรรมส่วนมากไม่มีทางรักษาให้หายได้ ดังนั้นคุณแม่ทุกคนต้องพิจารณาทางเลือกของตนเองและลูกอย่างถี่ถ้วน ดังนี้:
อุ้มท้องต่อไปโดยพยายามรวบรวมข้อมูลและทำความเข้าใจภาวะดังกล่าว เพื่อเตรียมการตัวคุณให้รับมือกับการดูแลเด็กน้อยคนนี้ หรือทำแท้ง มันเป็นการตัดสินใจที่ยากมาก ซึ่งคุณแม่ไม่จำเป็นต้องตัดสินใจเองคนเดียว คุณควรเริ่มมองหาความช่วยเหลือต่าง ๆ อย่างการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ พูดคุยกับคู่สมรส ครอบครัว หรือเพื่อนสนิท เพื่อเป็นแรงสนับสนุนและตัวช่วยในการตัดสินใจของคุณ
ความเสี่ยง
ก่อนที่คุณจะตัดสินใจทำการตรวจน้ำคร่ำเพื่อดูสภาวะของทารกในครรภ์ คุณจะได้รับแจ้งเกี่ยวกับความเสี่ยงและภาวะข้างเคียงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
โดยความเสี่ยงสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเจาะตรวจมีดังนี้:
การแท้งบุตร
การเจาะตรวจน้ำคร่ำมีความเสี่ยงเล็กน้อยที่จะทำให้เกิดการแท้งลูกได้ หากคุณทำการเจาะตรวจน้ำคร่ำในช่วงอายุครรภ์ผ่านไปแล้ว 15 สัปดาห์ โอกาสของการแท้งบุตรจะอยู่ที่ประมาณ 1% ซึ่งอัตราความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหากดำเนินการตรวจเร็วกว่าช่วงอายุครรภ์ดังกล่าว ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงว่าทำไมการเจาะน้ำคร่ำจึงทำให้แท้งบุตรได้ ซึ่งคาดกันว่าอาจเป็นเพราะการติดเชื้อ เลือดออกภายใน หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับถุงน้ำคร่ำที่หุ้มตัวอ่อนอยู่ก็เป็นได้ การแท้งบุตรส่วนมากเกิดขึ้นหลังจากดำเนินการเจาะน้ำคร่ำตรวจไปแล้ว 72 ชั่วโมง แต่บางกรณีก็แท้งบุตรในช่วงเวลาหลังจากนั้นก็เป็นได้ (มากที่สุดคือหลังจากผ่านการตรวจไปแล้ว 2 สัปดาห์)
ไม่อาจสรุปผลการตรวจได้
หลังการเจาะตรวจน้ำคร่ำ มักจะได้ผลลัพธ์ที่สามารถบ่งชี้ถึงความผิดปรกติทางโครโมโซมของลูกคุณได้ แต่ก็มีโอกาสที่การเจาะตรวจน้ำคร่ำเพื่อดูสภาวะเด็กในครรภ์จะไม่สามารถทดสอบหาร่องรอยของสภาวะได้ทั้งหมด ซึ่งทำให้ผลการตรวจออกมาไม่สามารถยืนยันว่าเด็กจะเกิดมาแข็งแรงสมบูรณ์จริงหรือไม่
การบาดเจ็บจากเข็ม
ระหว่างกระบวนการเจาะน้ำคร่ำ รก (หรืออวัยวะที่เชื่อมระบบส่งถ่ายเลือดของแม่สู่เด็กในครรภ์) อาจเกิดการฉีกขาดจากเข็มได้ โดยกระบวนการจริง ๆ นั้นต้องให้เข็มแทงทะลุไปยังส่วนรก เพื่อทำการดูดของเหลวภายในออกมา ซึ่งการฉีกขาดที่กเกิดขึ้นมักหายเองได้โดยไม่มีปัญหาแทรกซ้อนใด ๆ ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ได้มีการใช้เทคนิคอัลตราซาวด์ช่วยนำทางเข็มไปสู่รกแล้ว ทำให้โอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บเช่นนี้ลดลงอย่างมาก
การติดเชื้อ
เช่นเดียวกับกระบวนการผ่าตัดต่าง ๆ การเจาะตรวจเองก็มีความเสี่ยงที่คนไข้จะเกิดการติดเชื้อขึ้นระหว่างหรือหลังจากการเจาะตรวจ การติดเชื้อมักเกิดขึ้นจากแบคทีเรียบนผิวหนัง หรือจากเครื่องมือทางการแพทย์เอง
โรครีซัส
หากเลือดของแม่เป็น RhD ลบ แต่ทารกมีเลือดเป็น RhD บวก จะมีโอกาสที่จะมีภาวะแพ้เกิดขึ้นระหว่างการเจาะตรวจน้ำคร่ำ เนื่องมาจากเลือดของเด็กบางส่วนไหลเข้าสู่กระแสเลือดของแม่ ทำให้ร่างกายของแม่สร้างแอนติบอดีเพื่อทำลายเลือดแปลกปลอม ซึ่งหากไม่รักษาจะทำให้ทารกเป็นโรครีซัสได้
หากคุณไม่ทราบกรุ๊ปเลือดของคุณมาก่อน จะมีการตรวจเลือดก่อนดำเนินการเจาะน้ำคร่ำเพื่อมองหาความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเช่นนี้ โดยหากจำเป็น จะมีการฉีดยาที่เรียกว่า anti-D immunoglobulin ซึ่งช่วยยับยั้งอาการแพ้ดังกล่าวได้
เท้าปุก
หากทำการเจาะตรวจน้ำคร่ำเพื่อดูสภาวะทารกเร็วเกินไป (ก่อนอายุครรภ์ 15 สัปดาห์) จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเท้าปุกของทารก
โดยภาวะเท้าปุกเป็นความพิการที่ข้อเท้าและเท้าที่เป็นตั้งแต่กำเนิด และด้วยเหตุผลเช่นนี้ทำให้การเจาะตรวจน้ำคร่ำจึงไม่เป็นที่แนะนำสำหรับผู้ที่อายุครรภ์ยังไม่ถึง 15 สัปดาห์