กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

แพ้อากาศ ต่างจาก โรคไข้หวัดอย่างไร

จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ มีเสมหะ อันไหนเป็นอากาศแพ้อากาศ หรือไข้หวัด ใช่โรคเดียวกันหรือไม่ หาคำตอบได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 13 ก.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
แพ้อากาศ ต่างจาก โรคไข้หวัดอย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการแพ้อากาศกับไข้หวัดแม้จะมีอาการที่คล้ายคลึงกัน เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม แต่เกิดจากสาเหตุต่างกัน ทำให้มีวิธีรักษาที่ต่างกัน
  • อาการแพ้อากาศมักเกิดในช่วงเช้า หรือกลางคืน (อากาศเปลี่ยน) หรือหลังจากสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ การหลีกเลี่ยงสารเหล่านี้จะช่วยลดอาการได้
  • ไข้หวัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย มักมีไข้ เจ็บคอ เสมหะ ปวดตัว และต่อมทอนซินบวมแดง ร่วมด้วย
  • การที่เราสามารถจำแนกได้ว่า อาการที่เกิดขึ้นเป็นโรคชนิดใด จะช่วยให้ควบคุมโรคได้ และสามารถเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ 

อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม เจ็บคอ คันตา ฯลฯ เมื่ออากาศเปลี่ยน อาจไม่ได้เป็นอาการของไข้หวัด แต่เป็นอาการของโรคภูมิแพ้ทางระบบทางเดินหายใจอย่าง "โรคแพ้อากาศ" ก็ได้

หากสามารถแยกแยะอาการไข้หวัดกับอาการแพ้อากาศได้ ก็จะช่วยให้สามารถควบคุมอาการของโรค และดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคไข้หวัดกับโรคแพ้อากาศ

คนส่วนมากมักเข้าใจผิดว่า โรคหวัดกับโรคแพ้อากาศเป็นโรคชนิดเดียวกัน เพราะอาการของทั้งสองโรคมีบางส่วนที่คล้ายคลึงกัน

แต่ความจริงแล้วทั้งสองโรคแตกต่างกันทั้งสาเหตุของโรค และวิธีการรักษา

หากผู้ป่วยโรคแพ้อากาศเข้าใจผิดคิดว่า ตนเองเป็นไข้หวัดและดูแลด้วยการกินยารักษาอาการหวัด อาการของโรคก็จะไม่ดีขึ้น เพราะส่วนผสมในตัวยารักษาหวัดไม่มีผลในการรักษาโรคแพ้อากาศนั่นเอง

ความแตกต่างระหว่างโรคไข้หวัดกับโรคแพ้อากาศ

โรคไข้หวัด ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดธรรมดา (Common cold) หรือไข้หวัดใหญ่ (Flu) ล้วนเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งการติดเชื้อแต่ละชนิดก็มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป

โรคไข้หวัดจากเชื้อไวรัสจะรักษาตามอาการ ร่วมกับพักผ่อน และดื่มน้ำตามมากๆ แต่ถ้าเป็นโรคหวัดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียก็ต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อ

โรคหวัดสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แตกต่างจากโรคแพ้อากาศ หรือเรียกอีกชื่อว่า “โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis)” ที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไวต่อสารก่อภูมิแพ้รอบข้าง เช่น อากาศร้อน-เย็น ฝุ่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ หรือเกสรดอกไม้

เมื่อสูดสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้เข้าไปก็จะทำให้เกิดอากาศแพ้ วิธีรักษาเพียงหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้เหล่านั้น และกินยาแก้แพ้อาการก็จะดีขึ้น

เปรียบเทียบอาการของโรคหวัดกับโรคแพ้อากาศ

ถึงแม้ว่าอาการของโรคหวัดกับโรคแพ้อากาศจะมีบางส่วนที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็มีหลายอาการที่ไม่เหมือนกัน และเป็นจุดสังเกตให้เราแยกแยะได้ว่า อาการที่กำลังเกิดขึ้นเป็นอาการของโรคใดได้

อากาศของโรคหวัด

  • จาม
  • น้ำมูกไหล โดยหากเป็นเชื้อไวรัสน้ำมูกจะใส แต่ถ้าเป็นเชื้อแบคทีเรียน้ำมูกจะมีสีเหลือง
  • คัดจมูก
  • ไอ
  • เจ็บคอ
  • เป็นไข้
  • มีเสมหะ
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ปวดศีรษะ
  • อ่อนเพลีย
  • ต่อมทอนซิลบวมแดง
  • โรคหวัดจากเชื้อไวรัสมักหายเป็นปกติภายใน 1-2 สัปดาห์ ส่วนโรคหวัดจากเชื้อแบคทีเรียจะต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

อาการของโรคแพ้อากาศ

ผู้ป่วยโรคแพ้อากาศมักจะมีอาการแพ้ตลอดทั้งปี โดยอาจมีอาการแพ้เล็กน้อยเป็นช่วงๆ และอาการแพ้จะรุนแรงขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นจากสารก่อภูมิแพ้ โดยมีลักษณะอาการดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • คันจมูก
  • จามติดๆ กันหลายครั้ง
  • มีน้ำมูกใสๆ หากน้ำมูกเยอะก็อาจมีอาการน้ำมูกไหลลงคอด้วย
  • คัดจมูก
  • จมูกไม่ได้กลิ่น
  • ไอ หรือเจ็บคอเรื้อรัง
  • อาจมีอาการหูอื้อ หรือมีเสียงดังในหู
  • ปวดศีรษะ
  • เสียงเปลี่ยน
  • ผื่นลมพิษ 
  • รอยคล้ำใต้ตา 
  • เคืองตา
  • น้ำตาไหล

หากเป็นโรคแพ้อากาศจะต้องดูแลตัวเองให้ดี โดยการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นสาเหตุ เพราะการปล่อยให้อาการแพ้กำเริบบ่อยๆ จนส่งผลต่อการใช้ชีวิต การนอนหลับ หรือการทำงานก็อาจทำให้มีโรคระบบทางเดินอากาศหายใจอื่นๆ ตามมาได้

แต่ถ้าไม่แน่ใจว่า ตัวเองแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใดกันแน่ สามารถปรึกษาแพทย์โรคภูมิแพ้และเข้ารับการตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ได้

ปกติแล้ว หากมีอาการไข้ขึ้น น้ำมูกมีสีเหลือง เจ็บคอ มักเป็นอาการของหวัด ส่วนโรคแพ้อากาศนั้นมักจะเกิดในช่วงเช้า หรือค่ำ ซึ่งเป็นเวลาที่อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลง จะมีอาการจามติดต่อกันและน้ำมูกไหลเป็นหลัก ลักษณะน้ำมูกจะใสเหมือนน้ำ

สิ่งที่ควรทำคือ รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่คนส่วนมากมักจะแพ้ เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ เกสรดอกไม้

ถ้าหากร่างกายไม่แข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นโรคหวัด โรคแพ้อากาศ หรือโรคอื่นๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Stuart H. Agren, M.D., Allergic Rhinitis vs. Common Cold (https://www.allergyeasy.com/allergy/allergic-rhinitis-vs-common-cold/), 4 July 2020.
Melinda Ratini, DO, MS, Is It a Common Cold or Allergies? (https://www.webmd.com/cold-and-flu/cold-guide/common-cold-or-allergy-symptoms), 4 July 2020.
Kristeen Moore, Allergic Rhinitis (https://www.healthline.com/health/allergic-rhinitis), 4 July 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)