พฤติกรรมก้าวร้าว (Aggressive Behavior)

พฤติกรรมก้าวร้าวคืออะไร เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กและวัยรุ่นเกิดจากอะไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 6 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
พฤติกรรมก้าวร้าว (Aggressive Behavior)

พฤติกรรมก้าวร้าว คืออะไร

ความก้าวร้าว เป็นพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ทรัพย์สิน และความรู้สึกของคนรอบข้าง ซึ่งการมีพฤติกรรมก้าวร้าวนั้น สามารถทำให้ความสัมพันธ์ของคุณกับบุคคลอื่นๆ แย่กว่าเดิมหรือสิ้นสุดลง

เมื่อคุณเข้าสู่ช่วงที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว คุณจะรู้สึกหงุดหงิดและกระสับกระส่าย รู้สึกหุนหันพลันแล่น และยากที่จะควบคุมพฤติกรรมของตัวเอง ในช่วงนี้คุณอาจไม่สามารถคิดหรือยับยั้งใจได้เลยว่า พฤติกรรมใดที่เหมาะสมต่อผู้อื่นบ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความก้าวร้าว เป็นพฤติกรรมที่สามารถแสดงออกได้อย่างชัดเจน หรือเก็บกดไว้ภายในใจก็ได้ ในกรณีที่เกิดการระเบิดอารมณ์อย่างรุนแรงเป็นครั้งคราว ถือเป็นเรื่องปกติในบางสถานการณ์ที่เหมาะสม แต่ถ้าหากคุณสังเกตว่าตนเองก้าวร้าวบ่อยครั้ง หรือตระหนักว่าไม่ใช่เรื่องปกติ ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อทำความเข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรมก้าวร้าวของคุณ เพื่อจะได้หาแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมต่อไป

สาเหตุของพฤติกรรมก้าวร้าวและอารมณ์รุนแรง

มีปัจจัยหลายอย่าง ที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์และพฤติกรรมของคุณ ได้แก่

  • สุขภาพกาย
  • สุขภาพจิต
  • สภาพครอบครัว
  • ความสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • สภาพแวดล้อมในที่ทำงานหรือโรงเรียน
  • ปัจจัยทางสังคมหรือเศรษฐกิจ
  • คุณลักษณะส่วนบุคคล
  • ประสบการณ์ชีวิต

ในผู้ใหญ่บางคน อาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวเพื่อตอบโต้ต่อเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เช่น การก้าวร้าวเมื่อรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง การก้าวร้าวเมื่อรู้สึกเครียด พฤติกรรมนี้อาจเชื่อมโยงกับภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง (PTSD) หรือภาวะสุขภาพจิตอื่นๆ ได้

ความผิดปกติทางการแพทย์ ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว

ภาวะทางการแพทย์บางอย่าง อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตจนสามารถนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวได้ เช่น

นอกจากนี้ ความเสียหายในสมองก็อาจส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ก้าวร้าวได้เช่นกัน โดยอาจเกิดจาก

ภาวะความผิดปกติที่แตกต่างกัน อาจทำให้เกิดความก้าวร้าวในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น หากคุณเป็นโรคออทิสติกหรือโรคอารมณ์สองขั้ว คุณอาจแสดงอาการก้าวร้าวเมื่อรู้สึกหงุดหงิด หรือไม่สามารถอธิบายความรู้สึกตัวเองได้ แต่หากคุณเป็นโรคเกเรก้าวร้าว คุณจะก้าวร้าวก็ต่อเมื่อมีวัตถุประสงค์อะไรบางอย่าง

พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก เกิดจากอะไร

ความก้าวร้าวในเด็ก อาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่

  • ความสามารถในการอยู่ร่วมสังคมต่ำ
  • ความผิดปกติหรือโรคที่ซ่อนอยู่
  • ความเครียดหรือความอึดอัดทางกายและอารมณ์

ลูกของคุณอาจเลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าวหรือพฤติกรรมรุนแรงตามตัวอย่างที่พบเจอในชีวิตประจำวัน เพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้าง เช่น สมาชิกในครอบครัว ครูประจำชั้น หรือเพื่อนร่วมชั้น และจะยิ่งกระตุ้นให้เขามีพฤติกรรมเหล่านี้มากขึ้น หากคุณเผลอส่งเสริมพฤติกรรมดังกล่าวโดยไม่ตั้งใจ ด้วยการเพิกเฉยไม่ใส่ใจ หรือให้รางวัลพวกเขาเมื่อมีพฤติกรรมก้าวร้าว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แต่บางครั้งเด็ก ๆ ก็อาจระเบิดอารมณ์รุนแรงออกมา เนื่องจากความกลัวหรือความหวาดระแวง คุณอาจพบว่าลูกของคุณแสดงอาการก้าวร้าวในช่วงที่พวกเขาต้องการจะจัดการกับปัญหาหรือความสับสนต่างๆ ด้วยตัวเอง

พฤติกรรมก้าวร้าวจะพบได้บ่อยมากในกลุ่มเด็กออทิสติกหรือกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เมื่อไรก็ตามที่พวกเขารู้สึกหงุดหงิด ไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ หรือไม่สามารถอธิบายสิ่งใดที่ทำให้เกิดความหงุดหงิดได้ รวมถึงการอยู่ในสถานการณ์ที่พฤติกรรมของพวกเขาไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคม พวกเขาจะแสดงความก้าวร้าวออกมาอย่างชัดเจน

พฤติกรรมก้าวร้าวในวัยรุ่น เกิดจากอะไร

พฤติกรรมก้าวร้าวในวัยรุ่นถือเป็นเรื่องธรรมดาที่พบได้ทั่วไป มีวัยรุ่นมากมายที่แสดงท่าทีหยาบคายหรือชอบโต้เถียงในบางครั้ง แต่ถ้าหากลูกวัยรุ่นของคุณมีพฤติกรรมเหล่านี้เป็นประจำ อาจเป็นไปได้ว่าเขากำลังมีพฤติกรรมก้าวร้าวที่เป็นปัญหาอยู่

  • ใช้เสียงตะคอกขณะโต้เถียง
  • ใช้กำลังต่อสู้
  • รังแกคนอื่น

ในบางกรณี พวกเขาอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวขึ้น เพื่อตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ เช่น

  • ความตึงเครียด
  • แรงกดดันจากเพื่อน
  • การติดสารเสพติด
  • ความสัมพันธ์ที่แย่กับสมาชิกครอบครัวหรือคนอื่น

ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงเวลาในการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่อาจทำให้หลายคนรู้สึกเครียดและวิตกกังวล หากไม่เข้าใจหรือไม่รู้วิธีรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ก็อาจนำไปสู่การแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา ยิ่งถ้าหากมีปัญหาสุขภาพจิตร่วมด้วย ก็ยิ่งกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวได้ง่ายยิ่งขึ้น

วิธีการจัดการกับพฤติกรรมก้าวร้าว

การจัดการกับพฤติกรรมก้าวร้าวที่ดีที่สุด คือการหาสาเหตุที่เป็นต้นตอของปัญหานี้ก่อน เพราะการรักษาพฤติกรรมก้าวร้าวจะแตกต่างกันไปตามสาเหตุของการมีพฤติกรรมนี้ โดยเริ่มจากพูดคุยกับแพทย์เพื่อทำความเข้าใจกับปัญหาของพฤติกรรมนี้ สำหรับบางคน การได้พูดคุยกับใครบางคนเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกหงุดหงิดหรือไม่พอใจ เช่น จิตแพทย์ ก็อาจทำให้รู้สึกดีขึ้นแล้ว

ในบางกรณี คุณอาจต้องหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่น่าหงุดหงิดด้วยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหรืออาจจำเป็นต้องเปลี่ยนงานที่คุณทำ นอกจากนี้ คุณควรเรียนรู้เกี่ยวกับการรับมือในสถานการณ์ที่น่าผิดหวัง เช่น การใช้เหตุผลอธิบายทุกสิ่งอย่างตรงไปตรงมาในสิ่งที่ต้องการ โดยไม่ต้องพูดจาก้าวร้าวหรือใช้อารมณ์

ในกรณีที่พฤติกรรมก้าวร้าวเกิดจากความคิดของคุณเอง แพทย์อาจแนะนำให้ทำการรักษาทางจิตบำบัดร่วมด้วย เช่น การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive-Behavioral Therapy (CBT)) ที่ช่วยให้คุณเรียนรู้ถึงวิธีการควบคุมพฤติกรรมตนเอง และช่วยให้คุณเข้าใจและระลึกถึงผลของการกระทำของคุณ

ในบางกรณี แพทย์อาจสั่งยาเพื่อรักษาพฤติกรรมก้าวร้าวของคุณ เช่น ยากลุ่มกันชัก (AED) หรือยาควบคุมอารมณ์ หากคุณเป็นโรคจิตเภท โรคอัลไซเมอร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว

แนวโน้มของพฤติกรรมก้าวร้าวในอนาคต

หากไม่จัดการพฤติกรรมก้าวร้าวของตัวเองตั้งแต่วันนี้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม อาจนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวที่รุนแรงมากขึ้น จนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อตัวคุณเองหรือกับผู้อื่นในอนาคตได้

ที่มาของข้อมูล

Amber Erickson Gabbey and Tim Jewell, Aggressive behavior (https://www.healthline.com/symptom/aggressive-behavior), January 17, 2016.


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Factors That Lead to Aggression. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/what-is-aggression-2794818)
Aggressive Behavior | Definition & Patient Education. Healthline. (https://www.healthline.com/health/aggressive-behavior)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)