โรคกรดไหลย้อนระหว่างตั้งครรภ์-ภาพรวม
โรคกรดไหลย้อนนอกจากจะพบในคนทั่วไปแล้ว ยังพบมากในหญิงตั้งครรภ์ด้วย เพราะหญิงตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง และมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นจนมาเบียดกระเพาะอาหาร ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมา โดยอาการที่พบบ่อยคือ อาการแสบร้อนกลางอก
หญิงตั้งครรภ์จำนวนมากประสบกับอาการของโรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease (GERD)) โดยเฉพาะอาการแสบร้อนกลางอก อาการของกรดไหลย้อนอาจเกิดขึ้นได้ทุกช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ และอาการมักจะแย่ลงระหว่างการตั้งครรภ์ อาการแสบร้อนกลางอกคืออาการที่พบได้บ่อยขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์ไปมีผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง กล้ามเนื้อที่ใช้ในการผลักดันอาหารจากหลอดอาหารลงสู่ทางเดินอาหารส่วนล่างทำงานได้ช้าลงขณะตั้งครรภ์ และขนาดของมดลูกที่ขยายขนาดขึ้นมาเบียดกระเพาะอาหาร ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการของโรคกรดไหลย้อนพบได้บ่อยขณะตั้งครรภ์ บางครั้งอาจทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหารได้ แต่ก็พบน้อย ส่วนใหญ่แล้วอาการแสบร้อนกลางอกจะดีขึ้นเมื่อคลอดทารกออกมาแล้ว
การรักษาหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการกรดไหลย้อนก็เหมือนกับการรักษาผู้ป่วยทั่วไปที่เป็นโรคกรดไหลย้อน โดยมุ่งเน้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรักษาโดยไม่ใช้ยา คุณสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อช่วยบรรเทาอาการของกรดไหลย้อน ต่อไปนี้คือสิ่งที่แนะนำให้ลองทำ:
- เปลี่ยนนิสัยการรับประทานอาหาร
- แนะนำให้แบ่งรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ หลายมื้อแทนการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ 2-3 มื้อ
- หลังจากรับประทานอาหารแล้ว ให้เว้นระยะเวลา 2-3 ชั่วโมงก่อนที่จะนอนลง และไม่แนะนำให้รับประทานของว่างมื้อดึก
- ช็อกโกแลตและมินต์สามารถทำให้อาการของกรดไหลย้อนแย่ลงได้ เพราะจะไปคลายหูรูดที่กั้นระหว่างกระเพาะอาหารกับหลอดอาหาร
- อาหารเผ็ด รสจัด ประกอบด้วยกรดจำนวนมาก (เช่น มะเขือเทศและส้ม) และกาแฟก็สามารถทำให้อาการของกรดไหลย้อนแย่ลงได้ในผู้ป่วยบางราย ถ้าอาหารของคุณแย่ลงหลังจากรับประทานอาหารบางชนิด คุณจำเป็นต้องหยุดการรับประทานอาหารชนิดนั้นเพื่อดูว่าอาการดีขึ้นหรือไม่หลังจากหลีกเลี่ยงอาหารนั้น
- ให้หยุดสูบบุหรี่
- ถ้าคุณมีอาการของกรดไหลย้อนตอนกลางคืน ให้นอนยกหัวสูง 6 นิ้ว (15 เซนติเมตร) จนถึง 8 นิ้ว (20 เซนติเมตร) โดยการเพิ่มแผ่นโฟมเสริมที่บริเวณศีรษะ (การเสริมด้วยหมอนนั้นไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ)
- ยาลดกรดส่วนใหญ่ที่มีขายทั่วไปปลอดภัยในการใช้ระหว่างตั้งครรภ์ แต่ยาลดกรดที่ประกอบไปด้วย โซเดียม ไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) อาจทำให้เกิดการสร้างของเหลวเพิ่มขึ้น ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงยานี้ แต่สามารถใช้ยาลดกรดที่ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate) ได้
แพทย์บางท่านอาจแนะนำยาบางรายการ เช่น ซูคราลเฟต (sucralfate) ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและยาที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์อื่นๆ เพื่อรักษาอาการกรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์
รายชื่อยาต่อไปนี้โดยทั่วไปปลอดภัยสำหรับการใช้ระหว่างตั้งครรภ์ แต่ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้ยาใดเสมอ
- ยาลดการหลั่งกรด เช่น แรนิทิดีน (ranitidine)
- ยายับยั้งการหลั่งกรด ในกลุ่ม proton pump inhibiors เช่น โอเมพราโซล (omeprazole) หรือ แลนโซพราโซล (lansoprazole)
https://www.webmd.com/baby/tc/gastroesophageal-reflux-disease-gerd-during-pregnancy-topic-overview