8 วิธีช่วยให้ไม่ง่วงนอนขณะขับรถ

เผยแพร่ครั้งแรก 5 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
8 วิธีช่วยให้ไม่ง่วงนอนขณะขับรถ

เมื่อเราต้องเดินทางไปต่างจังหวัด การขับรถถือเป็นหนึ่งในวิธีการสัญจรที่นิยมมากที่สุด แม้ว่ามันจะเป็นวิธีที่สะดวก และช่วยประหยัดค่าตั๋วเครื่องบินได้มากทีเดียว แต่การขับรถเป็นเวลานานก็อาจทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยหรือรู้สึกง่วงนอนได้ และนั่นก็อาจทำให้ถึงขั้นเกิดอุบัติเหตุได้เลยค่ะ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรเตรียมพร้อมก่อนออกเดินทาง สำหรับวิธีที่ช่วยให้คุณไม่ง่วงนอนขณะขับรถมีดังนี้

1. นอนให้เพียงพอก่อนขับรถ

หากคุณต้องขับรถทางไกล คุณควรนอนให้ได้อย่างน้อยวันละ 7 ชั่วโมงก่อนออกเดินทาง การนอนหลับอย่างเพียงพอจะช่วยให้คุณมีความกระตือรือร้นไปอีกหลายชั่วโมง ทั้งนี้มีการพิสูจน์แล้วว่า คนที่นอนน้อยตอนกลางคืนมีแนวโน้มที่จะมีสมาธิแย่ลงมากถึง 3 เท่าในวันถัดมา เมื่อร่างกายอ่อนเพลีย ความสามารถในการขับรถ และการตอบสนองขณะขับรถอาจได้รับผลกระทบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. ทานอาหารเบาๆ

คนที่ขับรถทางไกล และทานอาหารแบบจัดเต็มตลอดทาง มีแนวโน้มที่จะง่วงนอนแม้ว่าจะขับรถในระหว่างวัน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ระบบย่อยอาหารจำเป็นต้องใช้พลังงานเยอะ ส่งผลให้คุณรู้สึกเหนื่อย ดังนั้นการทานอาหารไม่ให้อิ่มเกินไปจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

3. ทานอาหารเช้า

การทานอาหารมื้อแรกของวันจะทำให้คุณได้รับพลังงาน และทำให้คุณได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกายและจิตใจในระหว่างเดินทาง การทานอาหารเช้าที่อุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และแร่ธาตุ จะช่วยให้คุณตื่นตัวในช่วงครึ่งแรกของวัน

4อากาศในรถจะต้องเย็นสบาย

การขับรถท่ามกลางอุณหภูมิที่ร้อนจัดหรือไม่มีแอร์ สามารถไปจำกัดการขนส่งออกซิเจนในร่างกาย ทำให้คุณมีอาการเซื่องซึมได้ ในทางกลับกัน การอยู่ในรถที่มีลมเย็นสบายจะช่วยให้คุณตื่นตัว ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรกำจัดปัจจัยภายนอกที่สามารถทำให้เรารู้สึกเหนื่อยหรือหมดแรง ซึ่งการสัมผัสกับความร้อนที่รุนแรงสามารถเพิ่มความตึงเครียด ทำให้เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแต่เพิ่มความเสี่ยงให้คุณสูญเสียการควบคุมตัวเองในขณะขับรถ

5. จอดพักระหว่างทาง

การใช้สมาธิไปกับการขับรถทางตรงเป็นเวลานานสามารถทำให้คุณรู้สึกเหนื่อย และทำให้คุณใช้พลังงานเยอะ อย่างไรก็ดี เราสามารถป้องกันโดยจอดพักเพื่อลดความเครียด และได้มีโอกาสสูดอากาศที่สดชื่น ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า การพักเป็นประจำสามารถเพิ่มสมาธิและกิจกรรมในสมอง การหยุดพัก 10-15 นาที ทุก 2 ชั่วโมง สามารถช่วยให้สมองปลอดโปร่ง และทำให้ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ดีขึ้นในกรณีที่คุณจำเป็นต้องตอบสนองต่อสถานการณ์แบบฉับพลัน

6. ขับรถโดยใช้ความเร็วปานกลาง

การขับรถด้วยความเร็วสูงถือเป็นการบังคับให้คุณต้องหลบหลีกรถคันอื่น และต้องมีความตื่นตัวตลอดเวลา ซึ่งการทำเช่นนี้สามารถทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยเร็วกว่าปกติ ดังนั้นการขับรถโดยใช้ความเร็วปานกลางจึงเป็นวิธีที่ดีกว่า และคุณยังรักษาพลังงานไว้ได้นานขึ้น

7. หลีกเลี่ยงการขับรถในช่วง 2.00-5.00 น.

ร่างกายจะต้องการนอนในช่วง 2.00-5.00 น. ซึ่งมักเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้พักผ่อน และเป็นช่วงที่ระยะการนอนอยู่ในช่วง REM หรือช่วงที่เรานอนหลับลึก เมื่อระบบประสาทผ่อนคลาย มันก็จะยิ่งทำให้ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น ดังนั้นหากเป็นไปได้ ให้คุณหลีกเลี่ยงการขับรถในช่วงเวลาดังกล่าว

8. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์สามารถทำให้คุณตื่นตัวน้อยลง นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังมีฤทธิ์กดประสาท และยับยั้งการทำงานของร่างกาย เบียร์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่นๆ ส่งผลต่อสารสื่อประสาทที่เรียกว่า GABA ซึ่งช่วยควบคุมความวิตกกังวล ผลที่ตามมาคือ มันจะทำให้คุณไม่ตื่นตัวขณะขับรถ ในขณะที่การทานยารักษาโรคซึมเศร้า ยานอนหลับ และยาแก้แพ้ ก็สามารถทำให้เกิดอันตรายได้พอกัน

การเกิดความรู้สึกเหนื่อยล้าหรือง่วงนอนนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนขณะขับรถ หากคุณรู้ตัวว่ามักมีอาการตามที่เรากล่าวไป การนำวิธีที่เราแนะนำไปลองทำตามก็อาจช่วยให้คุณขับรถทางไกลโดยไม่รู้สึกง่วงนอน ทำให้โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุลดลงตามไปด้วย

ที่มา: https://steptohealth.com/9-tip...


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to Avoid Falling Asleep While Driving. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/avoid-falling-asleep-while-driving-2224270)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป