8 ปัญหาชวนสงสัยเรื่องสุขภาพ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

1. ดื่มน้ำระหว่างออกกำลังหรือกินอาหารได้หรือไม่

a10.gif เราจะหิวน้ำขณะออกกำลังกาย เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำออกไปทางเหงื่อและทางลมหายใจ น้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็น ความจริงกลับเป็นโทษเสียอีกถ้าเราออกกำลังกายแล้วหิวน้ำแต่ไม่ดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำให้เพียงพอแต่ต้องไม่มากเกินไป การดื่มน้ำระหว่างกินอาหารก็เช่นเดียวกัน น้ำไม่ได้ไปรบกวนการย่อยอาหารในกระเพาะ นอกเสียจากว่าจะดื่มมากเกินไปเท่านั้น

 
 

2. จริงไหม ที่กินน้ำตาลก่อนออกกำลังจะช่วยเสริมพลังงาน

a10.gif อาจจะไม่เป็นความจริง การกินน้ำตาลมาก ๆ เป็นเวลานาน ๆ ทำให้ร่างกายต้องหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมามากผิดปกติ อาจทำให้เกิดเป็นโรคเบาหวานขึ้นได้ ถึงแม้จะยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่นอน แต่ไม่น่าเป็นไปได้ที่กินน้ำตาลแล้วจะทำให้มีพละกำลังเพิ่มขึ้น

 

3. จำเป็นไหมที่หลังอาบน้ำอุ่นแล้วต้องอาบน้ำเย็น

a10.gif เป็นเรื่องที่ไม่มีความจำเป็น มีหลายคนเชื่อว่าหลังจากน้ำอุ่นแล้วต้องอาบน้ำเย็นตาม เพื่อให้รูขนปิด ความจริงรูขนนั้นเปิดปิดไม่ได้
 
 
 

4. จำเป็นไหม ที่หลังออกกำลังแล้วต้องสวมเสื้อวอร์ม

a10.gif การปล่อยให้ร่างกายเย็นสบายภายหลังออกกำลังกายแล้วไม่มีอันตรายอะไร ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่ต้องสวมเสื้อวอร์มเลย ความจริงแล้วหลังจากออกกำลังใหม่ ๆ ควรปล่อยให้เหงื่อระเหยออกจากตัว ซึ่งจะพาความร้อนออกจากร่างกาย ทำให้รู้สึกเย็นสบาย เมื่อเหงื่อแห้งดีแล้วค่อยสวมเสื้อวอร์มจะดีกว่า

5. ความเชื่อที่ว่าไม่ควรยุ่งเกี่ยวทางเพศก่อนแข่งขันกีฬา

a10.gif ความเชื่อที่ว่าการละเว้นการร่วมเพศ จะทำให้นักกีฬาแข็งแรงและมีสมรรถภาพดีขึ้นนั้น ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน ความจริงกลับพบว่านักกีฬาที่ยังมีการร่วมเพศอยู่นั้นแม้จะปฏิบัติตอนเช้าก่อนวันแข่งขัน กลับทำให้สถิติการแข่งขันดีขึ้น

 

6. คนที่มีกล้ามเนื้อใหญ่ คือคนแข็งแรงกว่าจริงหรือ

a10.gif กล้ามเนื้อใหญ่นั้นเหมาะสมกับงานหนัก แต่บรรดาแชมป์เปียนทั้งหลายทุกวันนี้ ยอมรับกันว่ากล้ามเนื้อเล็กดีกว่า ร่างกายแข็งแรงไม่ได้อยู่ที่กล้ามเนื้อใหญ่โต แต่อยู่ที่คุณสมบัติซึ่งสามารถอดทนต่อความเครียดและความกดดันทั้งหลายได้

7. การออกกำลังกาย ทำให้สตรีขาดความเป็นหญิง

a10.gif เป็นความคิดที่ไร้สาระ การออกกำลังกายจะทำให้สตรีมีทรวดทรงที่งดงามท่วงทีการเดินมีสง่าราศี การออกกำลังทำให้คลายความตึงเครียด จิตใจสบาย เป็นการเพิ่มเสน่ห์ดึงดูดแก่ผู้พบเห็น

8. ห้ามออกกำลังกายขณะดวงอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะ

a10.gif คำแนะนำว่าไม่ควรออกกำลังกายตอนเที่ยงวัน หรือขณะที่ดวงอาทิตยอยู่ตรงศีรษะเพราะจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งล้วนไม่เป็นความจริง เพราะว่าดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงอยู่ตรงศีรษะนั้น อาจป้องกันได้โดยสวมหมวกเสียหน่อย แต่ดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงเฉียง ๆ ตอนสายและตอนบ่ายนั้นเรากลับป้องกันไม่ได้ การออกกำลังกายตอนเที่ยงวัน จะไม่มีโทษต่อร่างกายแต่อย่างไร ตราบใดที่เรายังไม่รู้สึกว่าร้อนจนเกินไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ten threats to global health in 2019. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/news-room/feature-stories/ten-threats-to-global-health-in-2019)
Travelers' Health. Centers for Disease Control and Prevention. (https://wwwnc.cdc.gov/travel)
8 Things to Know About Meditation for Health. National Center for Complementary and Integrative Health (NCCIH). (https://nccih.nih.gov/health/tips/meditation)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?

ทำความรู้จักเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือเครื่องวัดชีพจร และอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกายแต่ละโซน

อ่านเพิ่ม
อุปกรณ์ออกกำลังกายพกพาสำหรับนักกีฬาที่ต้องเดินทาง
อุปกรณ์ออกกำลังกายพกพาสำหรับนักกีฬาที่ต้องเดินทาง

ไอเดียอุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับนักเดินทาง

อ่านเพิ่ม
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด

ความทนแทนแบบแอโรบิกของคุณคืออะไร

อ่านเพิ่ม