กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

8 สาเหตุที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

เผยแพร่ครั้งแรก 29 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
8 สาเหตุที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

หนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบได้ทั่วไปก็คือ การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นโรคเบาหวานและวัดระดับน้ำตาลในเลือดทุกวัน หรือคุณแค่กังวลเกี่ยวกับการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ดีต่อสุขภาพ การตระหนักถึงปัจจัยที่ไม่คาดคิดที่สามารถทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงอย่างรวดเร็วถือเป็นเรื่องสำคัญอยู่ดี เราลองมาดูพร้อมกันดีกว่าว่ามีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

1.ไม่ทานอาหารเช้า

มีงานวิจัยเมื่อปี ค.ศ.2013 พบว่า ผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานที่ไม่ทานอาหารเช้าจะมีระดับของอินซูลินและน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นหลังจากทานอาหาร 2-3 ชั่วโมง ซึ่งมากกว่าวันที่ทานอาหารเช้า นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่นๆ ที่ถูกเผยแพร่ใน The American Journal of Clinical Nutrition พบว่า ผู้ชายที่ไม่ทานอาหารเช้าเป็นประจำมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานมากกว่าคนที่ทานอาหารเช้า 21% อย่างไรก็ดี การทานอาหารเช้าโดยเฉพาะอาหารที่มีโปรตีนสูงและมีไขมันชนิดดี สามารถช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีความเสถียรตลอดวัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2.สารให้ความหวานแทนน้ำตาล

มีงานวิจัยที่น่าสนใจของชาวอิสราเอลพบว่า สารให้ความหวานแทนน้ำตาลสามารถส่งผลเสียต่อร่างกาย และเป็นหนึ่งในอาหารที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เมื่อนักวิจัยให้หนูกินสารให้ความหวานแบบสังเคราะห์ พวกมันมีน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าหนูที่กินน้ำเปล่าหรือน้ำผสมน้ำตาล นอกจากนี้นักวิจัยยังทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ลดลงโดยใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสารให้ความหวานอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแบคทีเรียในลำไส้ สุดท้ายแล้วมันก็อาจส่งผลต่อการจัดการกับกลูโคส อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการค้นพบดังกล่าว แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าการทานอาหารที่เป็นน้ำตาลแท้จะมีประโยชน์มากกว่า แต่เราแค่อยากให้คุณจำกัดปริมาณการทานให้อยู่ในระดับปานกลาง

3.อาหารที่มีไขมันสูง

คนที่เป็นโรคเบาหวานอาจกังวลเกี่ยวกับคาร์บในอาหาร แต่มีงานวิจัยพบว่า ไขมันสามารถส่งผลต่อน้ำตาลในเลือดเช่นกัน และเป็นหนึ่งในอาหารที่ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ทั้งนี้มีงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่เมื่อปี ค.ศ.2011 พบว่า ผู้เข้าร่วมทดลองที่ทานเครื่องดื่มที่มีไขมัน แล้วทานเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหลังจากนั้น 6 ชั่วโมง ผลปรากฏว่า ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าตอนที่ไม่ได้ทานเครื่องดื่มที่มีไขมันมากถึง 32% นอกจากนี้การมีระดับของไขมันในเลือดสูงยังส่งผลต่อความสามารถในการกำจัดน้ำตาลออกจากเลือดเช่นกัน

4.กาแฟ

แม้ว่ามีหลายงานวิจัยพบว่า การดื่มกาแฟสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานประเภท 2 ได้ในระยะยาว แต่มีหลักฐานระบุว่า สำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว คาเฟอีนคือหนึ่งในอาหารที่ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล เพราะระดับน้ำตาลในเลือดของบางคนอาจไวต่อฤทธิ์ของคาเฟอีนมากกว่าคนอื่น

5.ติดเชื้อ

ไม่ว่าคุณจะป่วยเป็นโรคหวัดธรรมดา โรคไข้หวัดใหญ่ หรือแม้แต่การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ ระบบภูมิคุ้มกันก็จะหลั่งสารเคมีที่ช่วยสู้กับเชื้อโรค ซึ่งสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเสียสมดุล เมื่อเราป่วย ตับจะผลิตกลูโคสเพื่อมอบพลังงานให้ร่างกายมากขึ้น ในเวลาเดียวกัน ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียดที่ทำให้เซลล์ดื้อต่ออินซูลินมากขึ้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ น้ำตาลในเลือดจะทะยานสูงขึ้นได้ในที่สุด ทั้งนี้การดื่มน้ำถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมันช่วยกำจัดกลูโคสส่วนเกิน และช่วยให้ร่างกายทำงานดีขึ้น

6.นอนไม่เพียงพอ

การนอนให้เพียงพอถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคเบาหวานหรือกังวลว่าจะเป็น เพราะมีงานวิจัยของชาวดัตช์พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท 1 ที่นอนแค่คืนละ 4 ชั่วโมง จะมีความไวต่ออินซูลินลดลง 20% เมื่อเทียบกับคนที่นอนได้เต็มอิ่ม อย่างไรก็ดี การนอนไม่เพียงพอทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะเครียดเรื้อรัง และเมื่อใดก็ตามที่คุณเพิ่มความเครียดให้ร่างกาย มันก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

7.สูบบุหรี่

จริงอยู่ที่ว่าการสูบบุหรี่เป็นนิสัยที่ไม่ดีต่อสุขภาพของทุกคน แต่มันกลับทำให้เกิดอันตรายต่อคนที่เป็นโรคเบาหวานมากเป็นพิเศษ ซึ่งมีงานวิจัยจาก California State Polytechnic University พบว่า ยิ่งเลือดของผู้เข้าร่วมทดลองมีสารนิโคตินมากเท่าไร มันก็จะทำให้ระดับของ A1C มากขึ้นเท่านั้น (หน่วยที่ใช้ควบคุมน้ำตาลในเลือด) ซึ่งมันจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงอื่นๆ เช่น ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมอง ไตวาย ฯลฯ

8.ยาบางชนิด

ยาที่ใช้ทั่วไปอย่างสเตียรอยด์ที่ช่วยควบคุมโรคหอบหืด ยาสแตตินที่ช่วยทำให้ระดับคอเลสเตอรอลดีขึ้น และยาไดยูเรติกที่ช่วยลดความดันโลหิต ล้วนแต่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ดังนั้นหากคุณต้องทานยาเหล่านี้ คุณอาจต้องติดตาม และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้ชิดมากกว่าเดิม

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คุณจะเห็นได้ว่าอาหารบางชนิดและไลฟ์สไตล์ของเราก็มีส่วนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ดังนั้นใครที่เป็นโรคเบาหวาน หรืออยากรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม ให้คุณพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่เรากล่าวไปควบคู่กับการรักษาโดยแพทย์ เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาอยู่ในระดับที่ดีต่อสุขภาพ ที่มา: https://www.rd.com/health/cond...


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
High blood sugar: Symptoms, causes, and healthy levels. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/313138)
10 High Blood Sugar Symptoms, Signs, Causes, and Treatment. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/hyperglycemia/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
น้ำตาลจากมะพร้าวมีคาร์โบไฮเดรตต่ำจริงหรือ? ดีสำหรับเราจริงไหม?
น้ำตาลจากมะพร้าวมีคาร์โบไฮเดรตต่ำจริงหรือ? ดีสำหรับเราจริงไหม?

น้ำตาลจากมะพร้าวเหมาะสำหรับคนต้องการอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำหรือไม่?

อ่านเพิ่ม
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล

สำรวจความหมาย และปริมาณดัชนีน้ำตาลในอาหารต่างๆ

อ่านเพิ่ม