รู้แล้วเลิกด่วน….8 พฤติกรรมทำร้ายสมองที่เราอาจมองข้าม

เผยแพร่ครั้งแรก 14 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
รู้แล้วเลิกด่วน….8 พฤติกรรมทำร้ายสมองที่เราอาจมองข้าม

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า “สมอง” เป็นอวัยวะที่สำคัญมากที่สุด เพราะมันมีหน้าที่ควบคุมทุกการกระทำของเรา ไม่ว่าจะเป็นการหายใจ เดิน ทานอาหาร นอน ฯลฯ หรือถ้าจะให้พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ สมองเป็นศูนย์กลางของการทำงานภายในร่างกาย อย่างไรก็ตาม นอกจากสมองของเราจะเสื่อมสภาพไปตามวัยแล้ว คุณรู้หรือไม่ว่า บางนิสัยหรือพฤติกรรมของเราก็เป็นตัวเร่งให้สมองมีประสิทธิภาพการทำงานลดลง เริ่มสงสัยแล้วใช่ไหมว่ามีอะไรบ้าง เราลองมาดูพร้อมกันเลยค่ะ

1. สูบบุหรี่

เราต่างก็รู้ดีอยู่แล้วว่า การสูบบุหรี่สามารถทำให้เราเป็นโรคมะเร็ง แต่คุณรู้หรือไม่ว่า การทำเช่นนี้ก็ส่งผลกระทบต่อสมองของเราเช่นกัน สารนิโคตินที่พบได้ในบุหรี่จะไปทำให้สมองของเราหดเล็กลง สิ่งที่น่ากลัวคือ หากสมองหดตัวเป็นเวลานาน มันก็สามารถทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ในที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. ไม่ค่อยพูด

คนที่โลกส่วนตัวสูง หรือคนที่ไม่ค่อยได้เข้าสังคม มีความเสี่ยงที่สมองจะมีประสิทธิภาพการทำงานลดลง ดังนั้นถ้าไม่อยากให้สมองเสื่อม หรือมีปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับสมองตามมาในอนาคตอันใกล้ การหมั่นพูดคุยหรือพบปะผู้คนก็สามารถช่วยได้ บทสนทนาที่ประเทืองปัญญาช่วยให้สมองได้ออกกำลังกาย ถ้าให้เทียบก็คงเหมือนกับการไปยิมเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ

3. ไม่ทานอาหารเช้า

มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทานอาหารเช้า โดยอาจเป็นเพราะว่ากำลังอยู่ในช่วงลดน้ำหนักหรือต้องการประหยัดเวลา แต่หารู้ไม่ว่า การไม่ทานอาหารเช้าเป็นการทำร้ายสมอง หลังจากที่คุณนอนหลับ สมองจำเป็นต้องได้รับสารอาหาร การอดอาหารเช้าจะทำให้สมองไม่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ นอกจากนี้การไม่ทานมื้อเช้ายังทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ดีต่อสุขภาพค่ะ

4.ทานน้ำตาลมากเกินไป

การทานน้ำตาลมากเกินไปจะรบกวนการดูดซึมสารอาหารและโปรตีน รวมถึงยังทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ หากร่างกายขาดสารอาหาร มันก็จะไปขัดขวางพัฒนาการของสมอง ดังนั้นถ้าอยากมีสมองดีและไม่อ้วน คุณก็ควรจำกัดการทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง

5. นอนคลุมโปง

การนอนคลุมโปงอาจทำให้คุณรู้สึกสบายและอุ่น แต่การนอนโดยมีผ้าคลุมศีรษะจะทำให้คุณได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น และลดการนำก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งออกซิเจนเป็นก๊าซที่สำคัญต่อการทำงานของสมอง และการไม่ได้รับก๊าซชนิดนี้อย่างเพียงพอก็สามารถทำให้เซลล์สมองเสียหาย

6. ไม่ใช้ความคิด

สมองของคุณมีความเหมือนกับกล้ามเนื้อ หากคุณไม่ให้สมองออกกำลังกาย มันก็จะหดลง ยิ่งคุณคิดได้ล้ำลึกมากเท่าไร สมองของคุณก็จะได้ออกกำลังกายดีขึ้นเท่านั้น และมันจะดีต่อสุขภาพของสมองในระยะยาว ดังนั้นให้คุณอ่านหนังสือ ดูสารคดี หรือเล่มเกมที่ต้องใช้ความคิดเป็นประจำ

7. นอนไม่เพียงพอ

การนอนถือเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี การนอนให้ได้วันละ 8 ชั่วโมง เป็นเรื่องสำคัญต่อสมอง และอวัยวะภายในอื่นๆ ของร่างกาย ทั้งนี้มีการค้นพบว่า สมองจะกำจัดสารพิษเพียงแค่ในช่วงที่เรานอนหลับลึก การนอนไม่เพียงพอยังไปเร่งให้เซลล์สมองตายเร็ว ซึ่งสามารถทำให้ความจำไม่ดี และลดศักยภาพของสมอง

8. ทำงานขณะที่ป่วย

ผู้ใหญ่และนักเรียนเป็นจำนวนมากมีแนวโน้มที่จะละเลยสุขภาพของตัวเอง เมื่อคุณป่วย ร่างกายและจิตใจจำเป็นต้องได้พักผ่อน ดังนั้นการดันทุรังอ่านหนังสือหรือทำงานในช่วงที่เจ็บป่วยจะลดประสิทธิภาพของสมอง และแม้แต่ทำให้สมองเสียหายในระยะยาว หากรู้ตัวว่าป่วย คุณก็อย่าฝืน และพักผ่อนให้เพียงพอค่ะ

จากที่กล่าวไป หลายคนอาจคิดไม่ถึงว่า มีบางนิสัยหรือพฤติกรรมของตัวเองที่สามารถส่งผลต่อสมอง หากคุณลองสำรวจตัวเองแล้วพบว่ากำลังทำสิ่งที่เรากล่าวไป คุณก็ควรหลีกเลี่ยงเพื่อที่จะได้มีสมองดีและไม่เสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร

ที่มา: http://www.ba-bamail.com/conte...13123


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lead poisoning and health. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/lead-poisoning-and-health)
Introduction to Behavioral Addictions. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3164585/)
10 Similarities Between Sugar, Junk Food and Abusive Drugs. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/10-similarities-between-junk-foods-and-drugs)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป