7 สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อเป็นโรคไมเกรน

เผยแพร่ครั้งแรก 29 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
7 สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อเป็นโรคไมเกรน

โรคไมเกรน หรือเรียกอีกชื่อว่า โรคปวดศีรษะข้างเดียว ถือเป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่หลายคนน่าจะรู้จักกันดี ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะระดับปานกลางไปจนถึงระดับรุนแรง รวมถึงอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ไวต่อแสง หรือไม่สามารถทนต่อเสียงดัง อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีบางสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคไมเกรน หรือทำให้อาการแย่ลง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรรู้ว่ามีสิ่งใดที่ไม่ควรทำเมื่อเป็นโรคไมเกรน เราลองมาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

1. ไม่ดื่มน้ำ

น้ำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพโดยรวมของทุกคน แต่มันจะยิ่งสำคัญมากเป็นพิเศษถ้าคุณเป็นโรคไมเกรน ทั้งนี้มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า เมื่อคนดื่มน้ำเพิ่มขึ้นจากเดิม 6 แก้ว หรือ 1.5 ลิตร พวกเขาพบว่าจำนวนครั้งที่ปวดศีรษะลดลง อีกทั้งยังเกิดความรู้สึกเจ็บปวดในขณะที่เป็นโรคไมเกรนน้อยลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. อดอาหาร

การไม่ทานอาหารไม่เพียงแต่ทำให้คุณไม่มีเรี่ยวแรงทำสิ่งต่างๆ เท่านั้น แต่มันยังทำให้โรคไมเกรนกำเริบได้อีกด้วย ซึ่งมีนักวิจัยบางคนเชื่อว่า การมีระดับของน้ำตาลกลูโคสในเลือดต่ำลงอาจมีผลต่อสมอง และทำให้เกิดไมเกรนได้ในที่สุด

3. ทานยาแก้ปวดมากกว่า 3-4 วัน

ยาที่ซื้อได้ตามร้านขายยาอย่างพาราเซตามอล แอสไพริน หรือไอบูโพรเฟนสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ และมันจะดีที่สุดถ้าคุณทานยาเหล่านี้ทันทีเมื่อโรคไมเกรนกำเริบ แต่การทานยามากกว่า 3–4 วันติดต่อกันสามารถนำไปสู่การเกิด “Rebound headaches” ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะเพราะใช้ยาเกินความจำเป็น ร่างกายจะเริ่มเรียกร้องหายาแก้ปวด และไมเกรนสามารถเกิดขึ้นเมื่อคุณไม่ทานยา ถ้าคุณปวดศีรษะไมเกรนมากกว่า 3– 4 ครั้งต่อเดือน คุณก็ควรไปพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จะจ่ายยาที่เหมาะสมให้ค่ะ

4. นอนมากหรือน้อยเกินไป

การนอนมากหรือน้อยเกินไปสามารถกระตุ้นให้เป็นโรคไมเกรน ซึ่งมันเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรจัดตารางนอนให้ได้เวลาเดิม หากคุณไม่สามารถนอนหลับ หรือนอน 7-8 ชั่วโมงแต่ก็ยังรู้สึกเหนื่อย คุณก็อย่าลังเลที่จะไปพบแพทย์ค่ะ เพราะคุณอาจมีโอกาสเป็นโรคนอนไม่หลับ หรือโรคหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งล้วนแต่ทำให้ปวดศีรษะ โดยหมายความรวมถึงการปวดศีรษะไมเกรน ซึ่งการรักษาโรคที่เกี่ยวกับการนอนก็จะพลอยช่วยให้อาการปวดศีรษะบรรเทาลงตามไปด้วย

5. เพิกเฉยต่อความเจ็บปวด

การเพิกเฉยต่ออาการปวดศีรษะไมเกรน อย่างการเห็นแสง เดินเซ ได้ยินเสียงดังในหู หรือรู้สึกเวียนศีรษะและไม่สามารถทรงตัวได้ สามารถทำให้อาการปวดศีรษะแย่ลง ถ้าเป็นไปได้ ให้คุณนอนราบกับพื้นในห้องที่มืดและเงียบ จนกว่าอาการจะหายไป หรือคุณจะใช้ผ้าชุบน้ำเย็นวางไว้บนหน้าผากก็ได้ค่ะ ทั้งนี้บางคนพบว่าการนวดที่หนังศีรษะสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้เช่นกัน

6. ได้รับธาตุแมคนีเซียมไม่เพียงพอ

มันเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและทานให้สมดุล โดยเฉพาะการทานอาหารที่มีธาตุแมคนีเซียมอย่างเพียงพอ เพราะมีงานวิจัยพบว่าการทานแมคนีเซียมออกไซด์ที่ซื้อตามร้านขายยาประมาณ 400 มิลลิกรัมต่อวัน สามารถช่วยให้คุณปวดหัวน้อยลง ซึ่งแมคนีเซียมมีประโยชน์สำหรับช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรน และป้องกันการปวดศีรษะไมเกรนที่มีความสัมพันธ์กับการมีประจำเดือน อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกที่คุณทานแมคนีเซียม คุณอาจพบว่าตัวเองท้องเสีย ทางที่ดีคุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานอาหารเสริมหรือยาชนิดใดๆ ก็ตามค่ะ

7. ลืมจดอาหารที่ทาน

การจดอาหารที่ทานในแต่ละวันสามารถช่วยให้คุณรู้ได้ว่าอาหารบางชนิดกำลังเป็นตัวการที่ทำให้คุณปวดศีรษะหรือไม่ อย่างไรก็ดี อาหารที่ขึ้นชื่อว่าเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้โรคไมเกรนกำเริบก็ได้แก่อาหารจำพวกชีส ถั่ว แอลกอฮอล์ สารที่ใส่ในอาหารอย่างไนเตรต ซึ่งมักพบได้ในไส้กรอก เบคอน และเนื้อแปรรูปชนิดอื่นๆ

หากคุณรู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคไมเกรน คุณก็ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่เรากล่าวไป เพื่อให้อาการปวดศีรษะทุเลาลง แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น หรือเกิดขึ้นติดต่อกันเป็นเวลานาน คุณก็ควรไปพบแพทย์ค่ะ

ที่มา :https://www.webmd.com/migraine...


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Serotonin Syndrome: 7 Things You Need to Know. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/depression-pictures/serotonin-syndrome-things-you-need-to-know.aspx)
7 things you can do to avoid drug interactions. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/7-things-you-can-do-to-avoid-drug-interactions)
7 Things You Didn't Know About Motion Sickness. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/seven-things-you-dont-know-about-motion-sickness-1192151)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป