7 เคล็ดลับ ห่างไกลจากโรคหัวใจ ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
7 เคล็ดลับ ห่างไกลจากโรคหัวใจ ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม

ทราบหรือไม่ว่านอกจากมะเร็งจะเป็นโรคร้ายคร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 1 แล้ว ยังมีโรคหัวใจ และสารพัดโรคที่เกี่ยวกับหัวใจตามมาติดอันดับต้นๆ ทุกปีเช่นกัน เนื่องจากวิถีชีวิต พฤติกรรม และความเครียดจึงทำให้คนไทยมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้สูงมาก แต่ทั้งนี้ยังมี 7 เคล็ดลับง่ายๆ ที่สามารถช่วยให้หลีกหนีจากโรคหัวใจได้

1. นอนเร็ว ตื่นเช้า

เป็นเรื่องที่ดูง่ายๆ แต่มีหลายคนอาจทำไม่ได้ อาจเพราะงานยุ่ง หรือมีเวลาในชีวิตที่ไม่ปกติ ทำให้เรื่องง่ายๆ เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่หลายคนทำได้ยาก แต่หากทำได้สุขภาพจะดีขึ้นแน่ๆ เพราะหัวใจจะแข็งแรง เนื่องจากร่างกายได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ระบบภายในจะไม่แปรปรวน หัวใจจึงไม่ต้องทำงานหนัก นอกจากนี้หากตื่นเช้า ก็จะมีเวลาทานอาหารเช้า ซึ่งเป็นมื้อสำคัญที่สุดของร่างกายอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. ออกกำลังกาย

หากร่างกายไม่ได้ออกกำลังกาย ก็จะอ้วน ไม่เข็งแรง เป็นหวัดคัดจมูก ได้ง่าย เช่นเดียวกันหากหัวใจ ไม่ได้ออกกำลัง ก็จะไม่แข็งแรง และไม่สามารถต่อสู้กับโรคภัยต่างๆ ดังนั้นจึงควรเพิ่มกล้ามเนื้อหัวใจ ด้วยการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอบ้าง เพื่อหัวใจจะได้สูบฉีดเลือดให้หัวใจได้เต้นถี่ๆบ้าง หัวใจจะได้แข็งแรง แต่คนที่มีโรคประจำตัว ที่เกี่ยวกับหัวใจอยู่แล้ว ควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสมในการออกกำลังกายต่อไป

3. ผ่อนคลายบ้าง

สำหรับคนที่ต้องนั่งอยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ควรจะลุกขึ้นยืน เดิน ยืดเส้นยืดสาย หรือพักสายตาทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ถึงแม้งานจะเร่งมาก ขนาดไหนก็ตาม ก็ควรจะพัก เบรกสั้นๆ บ้าง เพื่อจะเป็นการผ่อนคลายสมอง และเมื่อหลังเบรกแล้วจะทำงานได้คล่องขึ้น สมองลื่นไหนขึ้นอย่างแน่นอน นอกจากนี้แล้วเย็นวันศุกร์ หรือวันเสาร์อาทิตย์ ก็ควรหากิจกรรมทำกับคนรัก ครอบครัว หรือเพื่อนๆ กันบ้าง แค่ได้พูดคุย ได้หัวเราะกับคนที่รัก นอกจากความสัมพันธ์ จะดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้หัวใจกระปรี้กระเปร่า ไม่เหี่ยวเฉา และผ่อนคลายทั้งใจและสมองได้จริงๆ

4. ดื่มน้ำเยอะๆ

หลายคนเมื่อทำงานรีบเร่ง แถมรีบกินเพื่อจะได้กลับไปทำงานต่อจนลืมดื่มน้ำ เป็นสิ่งไม่ดี อยากให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยให้หัวใจสูบฉีดโลหิตได้ง่ายขึ้น และหัวใจจะได้ทำงานน้อยลง แถมยังทำให้มีผิวพรรณเปล่งปลั่ง ขับถ่ายคล่องขึ้นด้วย

5. ลดของมัน ของทอด หรือแป้งขัดสี

เนื่องจากอาหารอุดมไปด้วยไขมันเหล่านี้ จะก่อให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งทำให้หัวใจต้องบีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกายหนักขึ้น และเมื่อหัวใจต้องเหนื่อยมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า จึงเสี่ยงต่อโรคหัวใจล้มเหลวได้อีก ดังนั้นควรหันไปหาอาหารที่ย่อยง่าย อาทิ ผักผลไม้ ข้าวไม่ขัดสีรับประทาน เพื่อช่วยให้หัวใจทำงานได้สะดวกขึ้น

6. นั่งสมาธิ

การนั่งสมาธิไม่ใช่เพียงแค่ช่วยฝึกจิตใจให้สงบอย่างเดียว แต่ยังส่งผลดีต่อร่างกายคือ สมอง และหัวใจ อีกด้วย เพราะการนั่งสมาธิจะเป็นการฝึกกำหนดจังหวะการหายใจเข้าและออกอย่างสม่ำเสมอ จึงผ่อนคลายสมอง คิดถึงแต่เรื่องการหายใจ ไม่คิดฟุ้งซ่าน หัวใจก็จะได้ทำงานอย่างเป็นระบบ สงบนิ่ง โดยจะทำก่อนนอนวันละ 10 นาที ก็ช่วยหัวใจได้มากแล้ว

7. มองโลกในแง่ดี

สาเหตุหลักของโรคหัวใจ นอกจากมีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตที่แย่แล้ว ยังมาจาก ความคิด ของตัวเองอีกด้วย หากเจอปัญหาแล้วมัวแต่คิดว่าคือปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ หรือคิดลบ ก็จะไม่มีอะไรดีขึ้นแน่นอน ความเครียดก็สะสม จนส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ดังนั้นลองปรับทัศนคติที่มีต่อปัญหาต่างๆ ให้ดีขึ้น มองหามุมดีๆ ของเหตุการณ์นั้นๆ ค่อยๆ แก้ปัญหาอย่างมีสติ ก็อาจช่วยแก้ปัญหาได้ และไม่ทำร้ายหัวใจตัวเองอีกด้วย

แค่หมั่นทำตาม 7 เคล็ดลับเหล่านี้บ่อยๆ พร้อมทั้งพักผ่อนอย่างเพียงพอ คุณก็จะมีสุขภาพที่แข็งแรง ห่างไกลจากโรคหัวใจอย่างแน่นอน นอกจากนี้ก็อย่าลืมตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำด้วย


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
My Life Check | Life's Simple 7. American Heart Association. (https://www.heart.org/en/healthy-living/healthy-lifestyle/my-life-check--lifes-simple-7)
Heart disease prevention: Strategies to keep your heart healthy. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-disease/in-depth/heart-disease-prevention/art-20046502)
8 Ways to Lower Your Heart Disease Risk. WebMD. (https://www.webmd.com/heart-disease/guide/heart-disease-risk-factors#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)