6 วิธีช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 วิธีช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นเมื่อมีบางสิ่งไปขัดขวาง หรือทำให้เลือดลำเลียงไปยังสมองลดลง เมื่อสมองได้รับออกซิเจนและสารอาหารน้อยกว่าที่เคย เนื้อเยื่อของสมองก็จะเสียหายอย่างรุนแรง ซึ่งสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต สำหรับปัจจัยเสี่ยงหลักของการเป็นโรคดังกล่าวประกอบไปด้วยการมีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือโรคอ้วน การไม่ออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การใช้ยาเสพติดอย่างโคเคนหรือเมทามเฟตามีน มีคอเลสเตอรอลสูง มีความดันโลหิตสูง ติดบุหรี่ เป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ เป็นโรคเบาหวาน การเป็นโรคหรือเกิดปัญหาที่เกี่ยวกับหัวใจอย่างโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หัวใจทำงานบกพร่อง การติดเชื้อที่หัวใจ เป็นต้น

อาการ

  • มีปัญหากับการพูดหรือการเข้าใจ
  • ชาที่ใบหน้า แขน หรือขา
  • มองเห็นยากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตาข้างเดียวหรือสองข้าง
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • มีปัญหากับการเดินหรือการทรงตัว

1.ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นหนึ่งในนิสัยที่มีประสิทธิผลที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การสละเวลา 150 นาทีต่อสัปดาห์ก็นับว่าเพียงพอที่จะช่วยให้คุณได้รับประโยชน์ โดยให้คุณออกกำลังกายวันละ 30 นาที สำหรับกิจกรรมที่เราอยากแนะนำ เช่น ปั่นจักรยาน กระโดดเชือก เดินเร็ว ว่ายน้ำ เต้นซุมบ้า ยกน้ำหนัก ฯลฯ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2.ระวังคอเลสเตอรอล

การมีคอเลสเตอรอลสูงคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง เพราะมันจะไปสะสมอยู่ในเส้นเลือดแดง ส่งผลให้เกิดการอุดตันที่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ตัวอย่างของวิธีที่สามารถช่วยควบคุมคอเลสเตอรอล

  • จำกัดการทานอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอล
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • เพิ่มการทานไฟเบอร์
  • รักษาน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่ดีต่อสุขภาพ

3.ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

การให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารเป็นเรื่องที่จำเป็น เพราะการทานอาหารอย่างเหมาะสมถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยปกป้องสุขภาพสมอง ทั้งนี้การทานอาหารอย่างสมดุลและควบคุมแคลอรีสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสิ่งที่คุณควรทำมีดังนี้

  • ทานผลไม้สดและผักปริมาณมาก
  • ทานอาหาร 5-6 ครั้งต่อวัน
  • จำกัดการทานอาหารแปรรูปและเกลือ
  • ดื่มน้ำเป็นจำนวนมาก
  • ทานโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตปริมาณปานกลาง

4.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

สารพิษในบุหรี่ส่งผลต่อสุขภาพหลอดเลือดโดยตรง เพราะมันจะทำลายและทำให้เส้นเลือดแข็งตัว เพิ่มความเสี่ยงในการแข็งตัวของเลือด โรคหัวใจ และภาวะเส้นโลหิตแดงโป่งพอง ดังนั้นคุณควรพยายามเลิกบุหรี่ให้ได้เพื่อที่จะได้มีร่างกายที่แข็งแรง

5.ควบคุมความดันโลหิต

ความดันโลหิตสูงถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง การที่คุณจะลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวนั้น คุณจำเป็นต้องทำตามที่แพทย์แนะนำเพื่อควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ดีต่อสุขภาพ

6.รักษาน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่ดีต่อสุขภาพ

คนที่มีน้ำหนักมากกว่ามาตรฐานและเป็นโรคอ้วนเป็นกลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ไขมันที่ก่อตัวขึ้นส่งผลต่อการหมุนเวียนโลหิต และทำให้ความเสี่ยงในการแข็งตัวของเลือดซึ่งสามารถทำให้หลอดเลือดเสียหายเพิ่มขึ้น หากดัชนีมวลกายมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 30 คุณก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและสมองมากขึ้น ทางที่ดีคุณควรควบคุมค่าดัชนีมวลกายให้มีค่าต่ำกว่า 25

จากที่กล่าวไปคุณจะเห็นได้ว่า การนำนิสัยที่ดีต่อสุขภาพมาปรับใช้ การควบคุมและเฝ้าระวังโรคที่เป็นอยู่แล้วเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมองที่ดีที่สุด หากคุณรู้ตัวว่าเสี่ยงต่อการเป็นโรคดังกล่าวมากเป็นพิเศษ คุณจำเป็นต้องไปตรวจร่างกายเป็นประจำ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
7 things you can do to prevent a stroke. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/womens-health/8-things-you-can-do-to-prevent-a-stroke)
Stroke - Prevention. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/stroke/prevention/)
Stroke Prevention: How To Lower Your Risk of Having a Stroke. WebMD. (https://www.webmd.com/stroke/guide/understanding-stroke-prevention#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป