ดูแลสุขภาพจิตของคุณด้วย 5 ขั้นตอน เพื่อเสริมสร้างความสดชื่นแจ่มใส

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ดูแลสุขภาพจิตของคุณด้วย 5 ขั้นตอน เพื่อเสริมสร้างความสดชื่นแจ่มใส

เราคงจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า ความไม่มีโรคคือลาภอันประเสริฐ เราทุกคนไม่ปฏิเสธว่า หนึ่งในข้อที่สำคัญของชีวิตคนเราคือ การมีสุขภาพที่ดี และแน่นอนว่าการมีสุขภาพที่ดีไม่ได้หมายถึงร่างกายภายนอกเท่านั้น สุขภาพทางด้านจิตใจ และอารมณ์ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน

หากเรามีสุขภาพจิตใจที่ดี สิ่งที่ตามมาย่อมส่งผลต่อภาวะอารมณ์ในการจัดการกับชีวิตประจำวันของเราได้อย่างดี สดชื่น แจ่มใสค่ะ เรามาทำตามขั้นตอนเหล่านี้ไปพร้อมกัน เพื่อสร้างความสมดุลของสุขภาพจิตใจที่ดี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ออกกำลังกายทางจิตใจ

การรักษาใจให้มีความยืดหยุ่น ขั้นตอนนี้เราสามารถดูแลจิตใจของเราให้มีความยืดหยุ่นได้ ด้วยการออกกำลังกายทางจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นลองฝึกกิจกรรมที่ทดสอบจิตใจ ทั้งเล่นเกมด้วย หรือฟังดนตรีด้วย หากเคยอ่านหนังสือแบบทั่วไป ก็ลองเสริมอ่าน นวนิยายลึกลับที่ทดสอบจิตใจในหลากหลายอารมณ์ เพื่อสังเกตจิตใจของตนเองในสภาวะต่างๆ

เสริมสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น

ความสัมพันธ์ของเราที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว หรือเพื่อนฝูง สังคมล้อมรอบเรา ให้เราเสริมสร้างชีวิตให้มีความสุข เปิดใจกับความรู้สึกของตนเอง และเข้าใจถึงจิตใจของผู้ที่ล้อมรอบตัวเรา รู้จักให้เวลาตนเอง และคนสำคัญในชีวิต ให้มีเวลา กิจกรรม ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

ทำตามความฝันของคุณให้ได้

บางครั้งชีวิตของคนเราในความเป็นชีวิตจริง อาจไม่มีโอกาสได้ทำตามความฝัน ดังนั้นให้เวลากับส่วนหนึ่งในชีวิตของคุณ ให้ได้ทำตามความสนใจในกิจกรรมที่คุณชอบ อาจจะเป็นการถ่ายรูปสวยๆ ในเวลาสบายๆ การทำอาหารในครัวเล็กๆ ในบ้านของคุณ ให้วันของคุณมีกิจกรรมที่คุณสนใจ ตามความฝันส่วนหนึ่งของคุณ

เรียนรู้วิธีเข้าใจอารมณ์ของตัวเอง

เรียนรู้ในการจัดการกับอารมณ์ในแต่ละขณะ ความรู้สึกเป็นสิ่งสำคัญ ควรมีเวลาแต่ละวันในการทำสมาธิ มุ่งเน้นจัดการความคิดในเชิงบวก จัดเรียงอารมณ์ ความรู้สึก ให้สามารถจัดการทั้งอารมณ์ที่ขุ่นมัว และอารมณ์รื่นเริงได้อย่างเข้าใจสภาวะจิตใจในแต่ละช่วงขณะ

เพิ่มกิจกรรมเพื่อสร้างความดี

[caption id="" align="aligncenter" width="657"]

อาสาสมัครรุ่นจิ๋ว @Greenpeace[/caption]

กิจกรรมทำความดี จะทำให้เราได้รับพลังงานทางบวก เป็นพลังงานดีดี ที่จะปรับปรุงสภาพจิตใจของคุณ ให้มีความสุข ดังนั้นหากมีเวลาว่าง จงอย่ารีรอที่จะจัดสรรเวลานั้น อาจจะเป็นอาสาสมัครทำสิ่งดีๆ ให้กับน้องๆ ที่ขาดโอกาส ลองหากิจกรรมทำดี แล้วคุณจะรู้สึกถึงพลังงานบางอย่างที่เกิดขึ้นในตัวคุณ

ผลของการบริหารจิตใจ จะทำให้คุณกลายเป็นคนที่มีสภาวะจิตใจที่เข้มแข็ง ยิ้มรับกับโลกใบนี้ ในทุกๆสถานการณ์

5 ขั้นตอนการรักษาสมดุลทางด้านสุขภาพจิตใจนั้น หากเราได้ทำตาม รักษาสมดุลจิตใจ ไปในแต่ละข้อ แน่นอนว่า เมื่อจิตใจได้รับการปรับปรุง พัฒนา จัดการ บริหารรักษาสุขภาพจิตในแต่ละวัน ให้แข็งแรงแล้ว ผลที่เกิดขึ้นต่อผู้ปฏิบัติตาม คงจะทำให้ผู้นั้นได้รับวัคซีนป้องกันโรคร้ายๆ ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับจิตใจ ให้มีความแข็งแรง ต่อสู้กับโรคทางจิตใจที่เป็นทางลบไม่ให้กล้ำกราย จนเกิดภาวะควบคุมไม่ได้ได้อย่างแน่นอน


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Make Yourself Happier - Four Ways To Happiness. Health.com. (https://www.health.com/mind-body/brighten-your-winter-mood)
10 Simple Ways to Improve Your Mood When You're Feeling Down. Psychology Today. (https://www.psychologytoday.com/us/blog/hide-and-seek/201701/10-simple-ways-improve-your-mood-when-youre-feeling-down)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป