สิ่งที่เรียกว่า สิทธิบัตรทอง 30 บาท เริ่มมีใช้อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2545 ชื่ออย่างเป็นทางการคือ “สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” สนับสนุนโดยกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
สิทธิบัตรทอง ทำหน้าที่บริหารให้คนไทยเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัย การรักษาพยาบาล รวมไปถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าบริการ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
สิทธิบัตรทองมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ โดยส่วนใหญ่เป็นการขยายความคุ้มครองให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น สามารถตรวจสอบสิทธิล่าสุดได้จาก สปสช. ได้ทุกวัน 24 ชั่วโมง โทร. 1330
ผู้มีสิทธิ์ลงทะเบียนบัตรทอง
สิทธิบัตรทองเป็นสิ่งที่รัฐบาลจัดให้คนไทยทุกคนตั้งแต่แรกเกิด โดยผู้สามารถลงทะเบียนบัตรทองได้จะต้องอยู่ในเงื่อนไขต่อไปนี้
- มีสัญชาติไทย
- มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ไม่มีสิทธิ์ประกันสุขภาพอื่นๆ ที่เบิกจ่ายโดยหน่วยงานรัฐ เช่น สิทธิ์ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ข้าราชการการเมือง
ลงทะเบียนบัตรทองแล้ว เมื่อเจ็บป่วยจะไปรักษาได้ที่ไหน?
สถานที่ให้บริการด้านสุขภาพสำหรับสิทธิบัตรทอง เรียกว่า “หน่วยบริการ” จะมีทั้งโรงพยาบาล สถานีอนามัย คลินิกชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง ที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ผู้มีสิทธิ์ลงทะเบียนบัตรทองจะมีการเลือกหน่วยบริการประจำของตัวเอง เพื่อเป็นสถานที่เข้ารับบริการเกี่ยวกับสุขภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามสิทธิที่กำหนด ส่วนใหญ่แล้วมักเลือกที่ที่ใกล้บ้าน หากย้ายที่อยู่สามารถเปลี่ยนหน่วยบริการได้ปีละไม่เกิน 4 ครั้ง
สิทธิบัตรทองครอบคลุมอะไรบ้าง?
สิทธิบัตรทองให้บริการทางสุขภาพตั้งแต่การป้องกันความเจ็บป่วย ให้การตรวจรักษาเมื่อมีอาการป่วยแล้ว ให้บริการด้านยา แพทย์ทางเลือก รวมไปถึงการฟื้นฟูดูแลสุขภาพให้กลับมาแข็งแรง ตามสิ่งที่สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทองคุ้มครอง สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้
- การป้องกันโรค เช่น ให้บริการตรวจสุขภาพ ตรวจคัดกรองโรค ให้คำแนะนำเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนเกิดโรค ให้วัคซีนและยาบำรุง โดยมีแผนที่เหมาะสมเฉพาะสำหรับคนแต่ละกลุ่มอายุ
- การรักษาอาการเจ็บป่วย ให้บริการตั้งแต่โรคทางกายทั่วไป โรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า ไปจนถึงโรคร้ายแรง เรื้อรัง ค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคมะเร็ง เอดส์ ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน โรคหัวใจ โดยคุ้มครองค่าใช้จ่ายตามการวินิจฉัยทางการแพทย์ และประกาศของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- การให้บริการทำคลอด สิทธิบัตรทองครอบคลุมเรื่องทำคลอด โดยสามารถใช้สิทธิได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
- การให้บริการทันตกรรม เช่น ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน เคลือบหลุมร่องฟัน ผ่าฟันคุด ใส่เพดานเทียมเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ ทำฟันปลอมฐานพลาสติก ฯลฯ
- การให้บริการแพทย์แผนไทย เช่น การให้ยาสมุนไพร การนวด อบ ประคบ ซึ่งอยู่ในเงื่อนไขว่าเป็นการบริการเพื่อการรักษา
- การให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ เป็นการให้บริการแก่คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู ด้วยวิธีบำบัดด้านต่างๆ หรือให้อุปกรณ์ช่วยเหลือ ตามเกณฑ์ที่ สปสช. กำหนด
นอกจากนี้สิทธิบัตรทองยังครอบคลุมค่าใช้จ่ายด้านยาและเวชภัณฑ์ รวมไปถึงค่าอาหารและห้องสามัญอีกด้วย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
จริงๆ แล้วเราต้องจ่ายเงินกี่บาทในการรักษา?
แม้จะเรียกกันติดปากว่า “บัตรทอง 30 บาท” แต่จริงๆ แล้วคุณสามารถรับการรักษา ตามที่สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติคุ้มครองได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ตรวจสอบสิทธิ์ของคุณได้ที่เบอร์ 1330)
ส่วนตัวเลข 30 บาทนั้น จากเอกสารของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2562 ระบุว่า คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดให้ผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ่ายค่าบริการเมื่อรับบริการรักษาพยาบาล และได้รับยา ครั้งละ 30 บาท
โดยเงินจำนวน 30 บาท ให้จ่ายแก่หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่ระดับโรงพยาบาลชุมชนขึ้นไป (หมายถึงสถานพยาบาลที่มีเตียงนอนตั้งแต่ 10 เตียงขึ้นไป) โดยยกเว้นบุคคล 21 กลุ่ม ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขไม่ต้องจ่าย
และผู้ที่มีความประสงค์ไม่จ่ายค่าบริการ 30 บาท สามารถแจ้งความจำนงได้เช่นกัน
บัตรทองครอบคลุมเรื่องอุบัติเหตุหรือไม่?
ไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถใช้สิทธิ์เข้ารับบริการได้ที่หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ใกล้ที่สุด ตามความจำเป็น ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ไม่จำเป็นต้องไปที่หน่วยบริการประจำที่เลือกไว้
และถ้าเจ็บป่วยฉุกเฉินรุนแรงถึงแก่ชีวิต สามารถเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดไปก่อนได้เลย เมื่อพ้นจากภาวะวิกฤติแล้ว โรงพยาบาลจึงจะส่งผู้ป่วยไปยังหน่วยบริการประจำ หรือหน่วยที่มีความพร้อมจะดูแลผู้ป่วยต่อ
สิ่งที่สิทธิบัตรทองไม่คุ้มครอง
บัตรทองจะให้ความคุ้มครองการรักษาในกรณีที่อยู่ในระดับความจำเป็นทางการแพทย์เท่านั้น สิ่งที่ไม่คุ้มครอง มีดังนี้
- รักษาการมีบุตรยาก ผสมเทียม
- การแปลงเพศ
- การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้า ทดลอง วิจัย
- การศัลยกรรมความงาม
- การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด ยกเว้นบางกรณีตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- โรคเดียวกันที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน เกินกว่า 180 วัน ยกเว้นกรณีมีความจำเป็น เช่น เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
- การปลูกถ่ายอวัยวะ ยกเว้น บางกรณีตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น ปลูกถ่ายไตรักษาไตวายระยะสุดท้าย ปลูกถ่ายตับในเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีที่เป็นโรคท่อน้ำดีตีบตันแต่กำเนิด
อย่างไรก็ตาม เรื่องสิทธิบัตรทองมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ คุณสามารถสอบถามข้อมูลและความคุ้มครองล่าสุด รวมถึงสามารถตรวจสอบสิทธิของตัวเองได้ เพียงแจ้งชื่อและเลขที่บัตรประชาชน จาก สปสช. ทุกวัน 24 ชั่วโมง โทร. 1330
ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั้งผู้หญิง และผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android