17-Hydroxyprogesterone

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ 17-Hydroxyprogesterone ทางเลือด เพื่อวินิจฉัยภาวะ Congenital Adrenal Hyperplasia (CAH) พร้อมรายละเอียดการตรวจ และอาการของผู้ที่มีภาวะนี้
เผยแพร่ครั้งแรก 7 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
17-Hydroxyprogesterone

การตรวจ 17-Hydroxyprogesterone โดยเก็บตัวอย่างจากเลือดไปทดสอบ เพื่อวินิจฉัยภาวะ Congenital Adrenal Hyperplasia (CAH) ที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมหมวกไตจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตต้องทำอย่างไร มีวิธีการตรวจอย่างไรบ้าง HonestDocs มีคำตอบให้

ชื่ออื่น: 17-OHP หรือ 17-OH Progesterone

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อทางการ: 17-Hydroxyprogesterone

จุดประสงค์ของการตรวจ 17-Hydroxyprogesterone

การตรวจ 17-Hydroxyprogesterone (17-OHP) ถูกนำมาใช้เพื่อตรวจหาโรค Congenital Adrenal Hyperplasia (CAH) ที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมหมวกไต และอาจถูกนำมาใช้ควบคู่กับการตรวจสอบอื่นๆ เพื่อช่วยวินิจฉัยและติดตาม CAH โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • การตรวจหาโรค
    • การตรวจ 17-OHP เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจหาโรค CAH ที่เกิดจากการขาดแคลน 21-Hydroxylase ในทารกแรกเกิดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
    • การตรวจ 17-OHP อาจถูกนำมาใช้ตรวจหาโรค CAH ในเด็กโต หรือผู้ใหญ่ก่อนที่อาการจะปรากฏ
  • การวินิจฉัย
    • การวัดระดับของ 17-OHP ในเลือด สามารถช่วยวินิจฉัยโรค CAH ในเด็กโตและผู้หญิงที่อาจมีอาการของโรค CAH ในระดับเบา
  • การติดตาม
    • หากแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยขาดเอนไซม์ 21-Hydroxylase ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการตรวจสอบ 17-OHP ควบคู่กับการตรวจ Plasma Renin Activity, Androstenedione และ Testosterone เป็นประจำ เพื่อติดตามประสิทธิผลของการรักษา

เมื่อไรที่ต้องตรวจ 17-Hydroxyprogesterone?

การตรวจ 17-OHP เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจร่างกายเด็กแรกคลอด และเด็กอาจต้องถูกตรวจซ้ำหากทารกหรือเด็กเล็กมีสัญญาณและอาการของภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องหรือโรค CAH ที่ประกอบไปด้วย

  • กระสับกระส่ายหรือไม่มีเรี่ยวแรง
  • ทานอาหารน้อย
  • สีผิวดูแทนมากกว่าปกติ
  • มีภาวะขาดน้ำ
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • มีอวัยวะเพศที่ไม่ชัดเจนว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง
  • มีสิว

บางครั้งแพทย์อาจทำการตรวจในเด็กผู้หญิง หรือผู้หญิงวัยผู้ใหญ่เมื่อสงสัยว่าเป็นโรค CAH ระดับเบา หรือเกิดจากโรคอื่นๆ เช่น PCOS ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีขนขึ้นตามใบหน้าและร่างกายเป็นจำนวนมากกว่าปกติ
  • ไม่มีประจำเดือน หรือประจำเดือนมาผิดปกติ
  • มีลักษณะทุติยภูมิทางเพศชาย หรือลักษณะที่แสดงถึงความเป็นเพศชาย
  • มีบุตรยาก

เช่นเดียวกับเด็กผู้ชายหรือผู้ชายวัยผู้ใหญ่ที่แพทย์อาจสงสัยว่าเป็นโรค CAH ซึ่งจะมีการตรวจ 17-OHP เมื่อมีอาการดังนี้

  • มีภาวะเจริญพันธุ์ก่อนวัย
  • มีบุตรยาก

หากผู้ป่วยถูกตรวจพบว่าขาดเอนไซม์ 21-Hydroxylase แพทย์ก็อาจตรวจ 17-OHP เป็นช่วงๆ เพื่อติดตามประสิทธิผลของการรักษา

รายละเอียดการตรวจ 17-Hydroxyprogesterone

17-Hydroxyprogesterone เป็นสเตียรอยด์ฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจเพื่อวัดปริมาณ 17-OHP ในเลือดสำหรับประเมิน Congenital Adrenal Hyperplasia (CAH) ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรม ที่ทำให้คอร์ติซอลจากต่อมหมวกไตและแอลโดสเตอโรนลดลง ส่งผลให้มีการผลิตฮอร์โมนเพศชาย เช่น แอนโดรเจน เพิ่มมากขึ้น

การมีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลต่ำ ทำให้ฮอร์โมนต่อมใต้สมองเพิ่มขึ้น ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดการผลิตฮอร์โมนอื่นๆ เช่น Adrenocorticotropic Hormone (ACTH) และทำให้ต่อมหมวกไตมีขนาดใหญ่ขึ้น โดย

โรค CAH แบ่งออกเป็น 2 ระดับ และมีอาการดังต่อไปนี้

  • โรค CAH ระดับเบา : เกิดจากร่างกายของผู้ป่วยอาจขาดแคลนเอนไซม์ 21-Hydroxylase บางส่วน บางครั้งแพทย์อาจเรียกโรค CAH ระดับนี้ว่า Late-Onset หรือ Non-Classical CAH ซึ่งผู้ป่วยสามารถมีอาการปรากฏได้ทุกช่วงเวลา แม้ว่าโรค CAH ระดับนี้ไม่ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่อาจทำให้เกิดปัญหาต่อการเจริญเติบโต (เจริญพันธุ์เร็วกว่าปกติ) และอาจทำให้มีบุตรยาก
  • โรค CAH ระดับร้ายแรง : สามารถทำให้เด็กเกิดมาพร้อมกับการขาดแคลนฮอร์โมน Aldosterone และฮอร์โมนคอร์ติซอลอย่างรุนแรง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ อาการนี้สามารถพบได้ในระหว่างการตรวจร่างกายของทารกแรกเกิด หรือระหว่างวัยเด็กช่วงต้น หากเด็กไม่ได้รับการตรวจโรค อาจทำให้เกิดอาการ เช่น
    • อาเจียน
    • กระสับกระส่าย
    • ไม่มีเรี่ยวแรง
    • รับประทานอาหารน้อย
    • ไม่เจริญเติบโต
    • มีภาวะขาดน้ำ
    • มีความดันโลหิตต่ำ
    • เจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน

เนื่องจากมีฮอร์โมนแอนโดรเจนมากเกินไป จึงทำให้ผู้หญิงอาจมีลักษณะเฉพาะของเพศชาย ทารกที่เป็นเพศหญิงอาจมีอวัยวะเพศที่ไม่ชัดเจนว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง นอกจากนี้เพศหญิงอาจมีขนขึ้นตามใบหน้าและลำตัวเป็นจำนวนมาก และมีลักษณะทางเพศทุติยภูมิของเพศชายในระหว่างวัยเด็กและวัยรุ่น รวมถึงมีประจำเดือนผิดปกติ ในขณะที่ผู้ชายที่เป็นโรคดังกล่าวจะมีสภาพที่เป็นปกติตอนเกิดแต่อาจมีลักษณะที่บ่งบอกถึงความเป็นผู้ชายก่อนวัย และมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาเกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ในชีวิตภายหลัง

ความหมายของผลตรวจ

  • หากเด็กแรกเกิดหรือทารกมีความเข้มข้นของ 17-OHP เพิ่มขึ้น หมายถึงเด็กมีแนวโน้มเป็นโรค CAH
  • หากคนมีระดับของ 17-OHP เพิ่มขึ้นปานกลาง อาจหมายความว่าคนนั้นเป็นโรค CAH ระดับเบา ซึ่งอาจจะเกิดจากการขาดเอนไซม์ 11-beta-hydroxylaseที่โรค CAH
  • ผู้ที่เป็นโรค CAH ที่มีค่า 17-OHP ต่ำหรือลดลง สามารถบ่งชี้ได้ว่ามีการตอบสนองต่อการรักษา แต่ถ้าค่าดังกล่าวสูงหรือเพิ่มขึ้น อาจบ่งชี้ได้ว่าแพทย์จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการรักษา

ที่มาของข้อมูล

Lab Test Online, 17-Hydroxyprogesterone (https://labtestsonline.org/tests/17-hydroxyprogesterone), 21 December 2018.


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
17-Hydroxyprogesterone Lab Test Information. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/lab-tests/17-hydroxyprogesterone/)
Hydroxyprogesterone (Injection Route) Description and Brand Names. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/hydroxyprogesterone-injection-route/description/drg-20074807)
Hydroxyprogesterone | C21H30O3. U.S. National Library of Medicine National Center for Biotechnology Information. (https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/hydroxyprogesterone)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)