10 เทคนิคเพื่อหลีกเลี่ยงเชื้อโรคในฟิตเนส

ฟิตเนสเต็มไปด้วยเชื้อโรคสะสมตามที่ต่างๆ เทคนิคเหล่านี้จะช่วยเตือนคุณให้ไกลจากเชื้อโรค ออกกำลังกายได้อย่างสบายใจ
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
10 เทคนิคเพื่อหลีกเลี่ยงเชื้อโรคในฟิตเนส

ว่ากันถึงเทรนด์รักสุขภาพแล้ว นอกจากการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การหันไปออกกำลังกายในฟิตเนสก็เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยม

แต่คุณทราบหรือไม่ว่า แท้ที่จริงแล้วฟิตเนสนั้นเรียกได้ว่าเป็นโรงงานผลิตเชื้อโรคใกล้ตัว ที่แม้แต่ผู้รักสุขภาพหลายคนก็อาจคาดไม่ถึง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ไม่ว่าจะเป็นบริเวณฟรีเวท เต็มไปด้วยดัมเบลเรียงราย บาร์โหน สารพัดเครื่องคาร์ดิโอ เสื่อโยคะ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า หรือแม้กระทั่งตู้เก็บของ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นจุดรวมเชื้อโรคมากมาย แม้จะผ่านการทำความสะอาดรายวันแล้วก็ตาม! 

ฉะนั้น เราจึงควรรู้ 10 เทคนิคการหลีกเลี่ยงเชื้อโรคในฟิตเนส

1. สำรวจฟิตเนสให้ดีก่อนสมัครสมาชิก

ควรตรวจดูบริเวณห้องน้ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า และอุปกรณ์ออกกำลังกายต่างๆ ให้มั่นใจว่าอยู่ในสภาพที่ดี สะอาด และไม่มีคราบฝังแน่น

หากเป็นไปได้ควรสอบถามพนักงานที่ดูแลฟิตเนสด้วยว่ามีการดูแลความสะอาดอย่างไร และบ่อยครั้งแค่ไหนในแต่ละบริเวณ

นอกจากนี้ ควรเลือกฟิตเนสที่มีการถ่ายเทอากาศได้สะดวกและไม่อับ

2. ทำความสะอาดอุปกรณ์ก่อนและหลังใช้งาน

โดยปกติแล้ว ตามฟิตเนสจะมีสเปรย์ทำความสะอาดและกระดาษทิชชู่ไว้ตามจุดต่างๆ  อยู่แล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
คอร์สลดน้ำหนักออกกำลังกาย วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 441 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คุณควรจับขวดสเปรย์นี้ผ่านกระดาษทิชชู่ และฉีดสเปรย์ไปที่ตัวอุปกรณ์โดยตรง หรือฉีดลงไปบนกระดาษทิชชู่เพื่อทำความสะอาดอุปกรณ์นั้นๆ ก่อนและหลังการใช้งาน

ทั้งนี้ หากฟิตเนสไหนไม่ได้มีสเปรย์หรือกระดาษทิชชู่ไว้ให้ คุณอาจพกไปเองก็ได้

ในกรณีที่คิดจะไปโยคะ คุณอาจเตรียมเสื่อโยคะส่วนตัวไปเอง หรือหากไม่สะดวก อาจควรเตรียมผ้าขนหนูไว้ปูทับเสื่อโยคะของฟิตเนส ก่อนจะนั่งหรือนอนลงไป โดยไม่ควรเป็นผ้าขนหนูผืนเดียวกับที่จะใช้เช็ดหน้าหรือเช็ดตัว

3. ไม่วางผ้าเช็ดหน้าไว้บนเครื่องออกกำลังกาย

พฤติกรรมที่ผู้เข้าใช้ฟิตเนสส่วนหนึ่งทำเป็นประจำ คือการพาดผ้าขนหนูเอาไว้ที่เครื่องออกกำลังกาย แล้วนำไปเช็ดหน้าต่อ

คุณไม่ควรลืมว่าผู้ใช้งานคนเครื่องออกกำลังกายคนอื่นๆ ก็ทำลักษณะเดียวกัน อุปกรณ์เหล่านี้จึงเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค

คำแนะนำคือให้ใช้ผ้าเช็ดเหงื่อแบบพันรอบข้อมือแทน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสร่างกาย

อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่า เชื้อโรคนั้นมีอยู่ทุกที่ในฟิตเนส ดังนั้นการที่เราจับหรือเกาหู ตา จมูก หรือปาก ในขณะที่ออกกำลังกาย ก็เหมือนการป้ายเชื้อโรคลงไปที่บริเวณทางเข้าพอดี ทำให้เชื้อมีโอกาสเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น

5. ปกปิดบาดแผลให้มิดชิด

เชื้อโรคเข้าสู้ร่างกายได้รวดเร็วที่สุดผ่านรอยแผลที่ปิดไม่สนิท เพราะฉะนั้นควรใช้พลาสเตอร์หรือผ้าพันแผลปกปิดบาดแผลก่อนที่จะเข้าใช้ฟิตเนส และไม่ควรโกนขนบริเวณต่างๆ ก่อนหรือหลังออกกำลังกายทันที

6. ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น

ไม่ว่าจะเป็นผ้าขนหนู ที่ดับกลิ่นตัว หรือหวี ทั้งในกรณีที่เราขอยืมของผู้อื่นหรือผู้อื่นขอยืมของเราก็ตาม

แม้กระทั่งขวดน้ำก็ควรมีเป็นของตัวเอง อย่าไว้ใจเครื่องกดน้ำดื่มหรือเครื่องทำน้ำเย็นที่ฟิตเนส

7. หลีกเลี่ยงการสัมผัสพื้นและม้านั่งในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า

หลายคนเดินเท้าเปล่าในห้องแต่งตัว หรือนั่งลงไปที่ม้านั่งในขณะที่ยังไม่ได้ปกปิดท่อนล่างให้มิดชิด

พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้ผิวหนังของคุณสัมผัสกับเชื้อโรคได้โดยตรง

8. ทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังออกกำลังกาย

อย่าปล่อยให้ร่างกายของคุณอยู่ใต้คราบเหงื่อไคลเป็นเวลานาน เพราะอาจก่อให้เกิดสิวหรือโรคผิวหนังได้

แต่หากไม่สามารถชำระล้างร่างกายได้ทันที อย่างน้อยก็ควรล้างมือให้สะอาดก่อนออกจากฟิตเนส และอาบน้ำทันทีเมื่อกลับถึงที่พัก

9. แยกเก็บรองเท้าและเสื้อผ้าที่ใส่แล้ว

หากเลือกชำระร่างกายที่ฟิตเนส ควรเตรียมถุงพลาสติกมาไว้สำหรับใส่รองเท้าหรือเสื้อผ้าที่สวมใส่แล้ว

ไม่ควรใส่ไปในกระเป๋าโดยตรงเพราะจะทำให้แบคทีเรียแพร่ไปยังของใช้ส่วนตัวอื่นๆ ได้

10. หมั่นทำความสะอาดกระเป๋าใส่เสื้อผ้า

มีผลการวิจัยมากมายยืนยันว่า กระเป๋าที่เรานำไปใช้ในฟิตเนสนั้นสกปรกไม่น้อยไปกว่าโถส้วมเลย

เพราะบางคนใส่รองเท้าหรือเสื้อผ้าที่ใส่แล้วลงไปในกระเป๋า แล้วก็นำกระเป๋ากลับมาใช้อีกเรื่อยๆ โดยที่ไม่ได้ทำความสะอาด ทำให้มีแบคทีเรียตกค้างเป็นจำนวนมาก

อีกทั้งแบคทีเรียเหล่านี้ยังแพร่กระจายผ่านทางตู้เก็บกระเป๋าได้อีกด้วย ทุกคนจึงควรหมั่นทำความสะอาดกระเป๋าเป็นประจำ และมีกระเป๋าสำรองไว้ผลัดเปลื่ยนการใช้งานบ้าง


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Exercise and immunity. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/007165.htm)
Kitchen Germs: How to Avoid Bacteria When Cooking. WebMD. (https://www.webmd.com/food-recipes/features/kitchen-germs)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
3 เหตุผลที่ทำให้การพยายามทำหลายสิ่งขณะขี่จักรยานเป็นความผิดพลาด
3 เหตุผลที่ทำให้การพยายามทำหลายสิ่งขณะขี่จักรยานเป็นความผิดพลาด

การพยายามทำหลายอย่างเกินไปขณะขี่จักรยานอาจกลายเป็นผลเสียได้และนี่คือเหตุผล

อ่านเพิ่ม
อุปกรณ์ออกกำลังกายพกพาสำหรับนักกีฬาที่ต้องเดินทาง
อุปกรณ์ออกกำลังกายพกพาสำหรับนักกีฬาที่ต้องเดินทาง

ไอเดียอุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับนักเดินทาง

อ่านเพิ่ม
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด

ความทนแทนแบบแอโรบิกของคุณคืออะไร

อ่านเพิ่ม