กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

10 สัญญาณของร่างกาย ที่บอกว่าคุณเครียดเกินไปแล้ว

ความเครียดเป็นสิ่งที่สามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน แต่ถ้าเครียดสะสมมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้
เผยแพร่ครั้งแรก 17 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
10 สัญญาณของร่างกาย ที่บอกว่าคุณเครียดเกินไปแล้ว

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ความเครียดไม่เพียงส่งต่อผลความรู้สึก สุขภาพจิตของเรา ความเครียดยังแสดงออกผ่านร่างกายได้ด้วย
  • เมื่อมีความเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ทำให้น้ำหนักขึ้นลงอย่างรวดเร็ว เจ็บป่วยง่าย
  • ความเครียดสามารถทำให้ผมร่วง เพราะฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน ทำให้รากผมหยุดการเจริญเติบโต เส้นผมไม่สามารถยึดอยู่กับรากผมได้
  • นอกจากนี้ความเครียดยังทำให้ฮอร์โมนเพศหลั่งออกมาน้อย อาจทำให้หมดอารมณ์ทางเพศ จนมีปัญหาในชีวิตคู่
  • เครียด นอนไม่หลับ จนเสียสุขภาพ ปรึกษาสุขภาพจิตออนไลน์กับแพทย์ได้ที่นี่

ความเครียด ไม่ได้ส่งผลต่อเรื่องของจิตใจเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลต่อปัญหาสุขภาพกายมากมายที่คาดไม่ถึงมาก่อนด้วย โดยมีโรค และอาการแสดงมากมายที่เป็นสัญญาณบอกได้ว่า คุณกำลังเครียดมากเกินไปแล้ว

1. เป็นโรคผิวหนัง 

ความเครียดสามารถกระตุ้นให้เกิดโรคผิวหนังได้ จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทมเพิล (Temple University) ที่ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนพบว่า ความเครียดมีผลต่อโรคผิวหนังโดยตรง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้เมื่อมีการทดลองกับหนู ก็พบว่า หนูที่มีความเครียดสูงจะไวต่อการติดเชื้อที่ผิวหนังมากขึ้นเหมือนกัน โรคผิวหนังที่พบได้มากที่สุดในผู้ที่มีความเครียดคือ สิว ลมพิษ สะเก็ดเงิน และงูสวัด ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจพบภาวะผิวด่างขาวได้อีกด้วย

2. น้ำหนักขึ้นลงอย่างรวดเร็ว

ความเครียดมักส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักอย่างรวดเร็ว เนื่องจากร่างกายจะมีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมาในปริมาณมาก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความหิวตลอดเวลา เพราะร่างกาย (เข้าใจว่า) ต้องการพลังงานมาชดเชย 

และสิ่งแรกๆ ที่คนมักจะหยิบมารับประทานก็คือ อาหารหวาน หรืออาหารที่มีไขมันสูง จึงทำให้เกิดการสะสมน้ำตาลและไขมันในร่างกายจนน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว 

อย่างไรก็ตาม บางครั้งความเครียดก็ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenaline) ในปริมาณมาก จึงทำให้กระบวนการเผาผลาญถูกเร่งให้ทำงานเร็วขึ้นกว่าปกติ ถ้าหากไม่ได้รับประทานอาหารเลย ก็จะยิ่งทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว

3. มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ และหลอดเลือด

หลังจากน้ำหนักขึ้นสูงผิดปกติจากการสะสมของไขมัน และน้ำตาลในร่างกายจากความเครียด หากไม่มีการออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญไขมันออกไป ก็อาจทำให้ไขมันเข้าไปจับตัวเป็นก้อนอยู่ในหลอดเลือดแดง 

หลังจากนั้น เมื่อไขมันในร่างกายเริ่มสะสมในปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ อาจส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงอุดตัน เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Heart Disease) รวมถึงภาวะหัวใจวาย (Heart Attack) ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

4. เจ็บป่วยง่าย

ความเครียดมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เนื่องจากฮอร์โมนที่ชื่อ "ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol)" ซึ่งจริงๆ แล้วฮอร์โมนตัวนี้มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ แต่เมื่อเกิดอาการเครียด ร่างกายจะมีการหลั่งคอร์ติซอลออกมาในปริมาณมาก และเป็นเวลานานต่อเนื่องกัน 

หลังจากนั้นเมื่อฮอร์โมนคอร์ติซอลหลั่งออกมาในปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง ก็จะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อฮอร์โมนคอร์ติซอลน้อยลง จึงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย และรุนแรงกว่าปกติ เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยบ่อย และในบางรายอาจมีอาการรุนแรง

5. ระบบทางเดินอาหารมีปัญหา

เมื่อมีการสะสมความเครียดเป็นเวลานาน ร่างกายจะมีการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารออกมามากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดอาการท้องอืด ลำไส้แปรปรวน กรดไหลย้อน จนถึงลำไส้อักเสบ 

บางครั้งอาการเหล่านี้ก็ไม่สามารถรักษาได้หายขาดได้ แต่ทำได้เพียงบรรเทาอาการได้เท่านั้น เพราะถ้าหากไม่สามารถบำบัดความเครียดซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาได้ อาการเหล่านี้ก็จะกลับมาเป็นอีก

6. ขาดสมาธิ

ผู้ที่มีความเครียดสะสมเป็นเวลานานจะไม่สามารถตั้งสมาธิ หรือจดจ่อกับการทำงานได้ เพราะจิตใจจะไปหมกหมุ่นอยู่กับสิ่งที่เครียด 

หลังจากนั้น ผลที่ตามมา คือ การทำงานผิดพลาด ตัดสินใจแก้ปัญหาได้ไม่ดี และอาจทำให้เกิดความผิดปกติของความตึงตัวของเส้นประสาท และกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นหนึ่งในโรคออฟฟิศซินโดรม (Office's Syndrome)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

7. ผมร่วง

ความเครียดสามารถทำให้ผมร่วงได้ เนื่องจากเมื่อเครียด ฮอร์โมนในร่างกายจะแปรปรวน ทำให้รากผมหยุดการเจริญเติบโต เส้นผมไม่สามารถยึดอยู่กับรากผมได้ จึงค่อยๆ ร่วงในปริมาณมาก 

บางคนที่เครียดมากอาจพบผมร่วงเป็นหย่อมๆ ในกรณีนี้วิตามิน หรืออาหารเสริมใดๆ ก็ไม่สามารถช่วยได้ ถ้าหากไม่สามารถจัดการกับความเครียดให้เรียบร้อยเสียก่อน

8. ปวดศีรษะ

การปวดหัวศีรษะจากความเครียด จะมีอาการปวดตื้อๆ รอบหน้าผาก และหนังศีรษะ บางคนอาจรู้สึกเหมือนมีใครเอาหนังยางมารัดรอบศีรษะไว้ตลอดเวลา เนื่องจากหลอดเลือดรอบศีรษะมีการขยายตัวมากเกินไป การรับประทานยาแก้ปวด เป็นเพียงแค่การบรรเทาอาการชั่วคราว

9. หมดอารมณ์ทางเพศ

ความเครียดนั้น นอกจากจะทำให้ฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อสมรรถภาพทางเพศหลั่งออกมาน้อยกว่าปกติแล้ว ยังทำให้เกิดความวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลา ทำให้หมดอารมณ์ทางเพศได้ ซึ่งถ้าหากเกิดการสะสมไว้นานๆ ก็อาจทำให้มีปัญหาในชีวิตคู่

10. นอนไม่หลับ

ความเครียดเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับ (Insomnia) เพราะร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และสารสื่อประสาทหลายๆ ชนิด 

นอกจากนี้ความวิตกในเรื่องที่เครียดก็ยิ่งทำให้นอนไม่หลับมากยิ่งขึ้น หรือถึงหลับก็หลับไม่สนิท ผลที่ตามมา คือ อาการอ่อนเพลีย หงุดหงิด และเจ็บป่วยง่าย


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ganster, Daniel C.,Fusilier, Marcelline R.,Mayes, Bronston T.Journal of Applied Psychology, Vol 71(1), Feb 1986, 102-110.
Mary F Dallman,Stress-induced obesity and the emotional nervous system,Trends Endocrinol Metab. 2010 Mar; 21(3): 159–165.
Temple University Health System, Association between stress levels, skin problems in college students (www.sciencedaily.com/releases/2015/11/151123202212.htm), 23 November 2015.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)