กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เหตุใดจึงไม่ควรใช้ยาคุมเพื่อการข้ามเพศ

เผยแพร่ครั้งแรก 22 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 4 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เหตุใดจึงไม่ควรใช้ยาคุมเพื่อการข้ามเพศ

ผลการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ฮอร์โมนสำหรับหญิงข้ามเพศในประเทศฟิลิปปินส์ ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.2016 ชี้ให้เห็นว่า ทั้งหมดใช้ยาด้วยตัวเองโดยไม่เคยรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ แต่จะรับประทานหรือปรับขนาดการรับประทานตามการแนะนำของเพื่อน ซึ่งพบว่าการใช้ดังกล่าวไม่เหมาะสมตามแนวทางมาตรฐาน และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา

และเมื่อพิจารณารายละเอียดของยาที่กลุ่มตัวอย่างใช้ ก็จะเห็นได้ว่า เกือบทั้งหมดเป็นการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่ใช้ในหญิงปกติทั่วไป และหาซื้อได้ง่ายจากร้านขายยา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผ่าตัดแปลงเพศ วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 178,200 บาท ลดสูงสุด 32,100 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อ่านแล้วทำให้อดคิดถึงบ้านเราไม่ได้ค่ะ เพราะยาคุมชนิดเม็ดก็นิยมนำมาใช้แบบผิด ๆ อย่างนี้เช่นกัน โดยเฉพาะมียาคุมบางยี่ห้อที่ทั้งชื่อการค้าและรูปลักษณ์หน้ากล่อง ดูจะจงใจดึงดูดผู้ใช้ในกลุ่มนี้เสียจริง จนทำให้ผู้หญิงทั่วไปไม่กล้าใช้ไปเลยนะคะ เพราะนึกว่าผลิตมาให้ใช้เฉพาะสำหรับผู้หญิงข้ามเพศเท่านั้น (ฮ่า)

แม้ว่าโดยหลักการ การใช้ยาเพื่อเปลี่ยนจากชายให้กลายเป็นหญิง โดยเฉพาะก่อนที่จะผ่าตัดแปลงเพศ จะอาศัยผลของการต้านฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชาย และเสริมฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งในยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมบางยี่ห้อ จะมีผลทั้งคู่รวมอยู่ด้วยกันก็ตาม แต่ก็ต้องใช้ยาในขนาดที่สูงกว่าปกติหลายเท่านะคะ จึงจะได้ผลครบถ้วนตามที่ต้องการ

เพราะถ้าพิจารณาจากปริมาณฮอร์โมนในยาเม็ดคุมกำเนิด ที่มีผลทั้งต้านฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชาย และเสริมฮอร์โมนเพศหญิง ที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน หากจะใช้ในขนาดที่แนะนำให้เสริมฮอร์โมนเพศหญิง ก็จะไม่มากพอที่จะต้านฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชายในผู้ที่ยังไม่ได้ผ่าตัดแปลงเพศได้

แต่ถ้าจะเพิ่มขนาดการรับประทานยาเพื่อให้ได้ผลต้านฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชายด้วย ขนาดของฮอร์โมนเพศหญิงที่ได้รับก็จะเกินขนาดที่แนะนำไปหลายเท่า ความเสี่ยงที่จะเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงคงพุ่งสูงปรี๊ดแน่เลยค่ะ ที่หวังจะ “เปลี่ยนจากชายให้กลายเป็นหญิง” ก็จะกลายเป็น “เปลี่ยนจากชายให้กลายเป็นศพ” แทนน่ะสิคะ ธ่อ...

ก็ขนาดการใช้ปกติ ผู้หญิงทั่วไปก็ทนผลข้างเคียงแทบจะไม่ไหวแล้ว นี่พูดถึงแค่เรื่องคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ และเจ็บเต้านมนะคะ ยังไม่ได้รวมความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดอุดตัน, โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง, มะเร็งเต้านม, เนื้องอกของต่อมใต้สมอง หรือมีการทำงานของตับผิดปกติ แล้วถ้าต้องใช้ในขนาดที่สูงกว่าหลายเท่าล่ะคะ จะหนักขนาดไหน

แค่อยากจะเปล่งประกายความเป็นหญิงจากภายในสู่ภายนอก ต้องเสี่ยงถึงขนาดนี้เลยเหรอคะ?!?

แม้จะหาซื้อได้ง่ายและมีราคาไม่แพง แต่ยาคุมกำเนิดไม่ได้ผลิตมาสำหรับเป็นฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศค่ะ เพราะฉะนั้น การนำมาปรับใช้จึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดี และมีอันตรายมากไม่คุ้มเสี่ยงนะคะ

ในกรณีนี้ ควรใช้ฮอร์โมนหรือยาที่ใช้เพื่อรักษาภาวะพร่องหรือเกินของฮอร์โมนเพศโดยเฉพาะดีกว่าค่ะ มีใช้กันโดยปกติอยู่แล้ว และสามารถนำมาใช้เพื่อการข้ามเพศได้เช่นกัน แต่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูงสุด ก็ต้องใช้ตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดนะคะ

ท้ายที่สุดนี้ ขอฝากถึงตุ๊ดน้อยหอยสังข์ที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ (ฮ่า) หากสนใจที่จะใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ แนะนำให้ไปพบกุมารแพทย์ด้านต่อมไร้ท่อ หรืออายุรแพทย์ด้านต่อมไร้ท่อ เพื่อพิจารณาการใช้ยาที่เหมาะสมนะคะ จะได้อยู่ให้โลกชื่นชมความสาวและความสวยไปนาน ๆ ไม่ลาโลกไปก่อนวัยอันควร ...เตือนเพราะรักและปรารถนาดีค่ะ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
LORI R. JACOBS, PHARM.D., The Medicine Shoppe, Chardon, Ohio Am Fam Physician , why-should-not-over-the-counter-drugs-be-used (https://www.aafp.org/afp/1998/0501/p2209.html)
medlineplus.gov, why-should-not-over-the-counter-drugs-be-used (https://medlineplus.gov/overthecountermedicines.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone)
ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone)

ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย ของผู้ชายและผู้หญิง

อ่านเพิ่ม
สิวในเด็กเล็ก...ยังเด็กเป็นสิวได้ด้วยหรือ?
สิวในเด็กเล็ก...ยังเด็กเป็นสิวได้ด้วยหรือ?

รู้จัก สิว ที่เกิดได้ในช่วงวัยต่างๆ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงเป็นวัยรุ่น และแนะนำวิธีดูแลอย่างถูกต้อง ปลอดภัย

อ่านเพิ่ม