กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สงสัยไหมว่าทำไมอยู่ดีๆ ถึงอยากกินช็อกโกแลต?

นอกจากความหิวแล้ว รู้หรือไม่ว่า การติดของหวาน ความเครียด ความเคยชิน หรือภาวะขาดแมกนีเซียมก็อาจทำให้อยากกินช็อกโกแลตได้
เผยแพร่ครั้งแรก 25 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 23 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สงสัยไหมว่าทำไมอยู่ดีๆ ถึงอยากกินช็อกโกแลต?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ช็อกโกแลต ทำมาจากการผสมผงโกโก้ โกโก้บัตเตอร์ สารให้ความหวาน และส่วนผสมอื่นๆ
  • ช็อกโกแลตแต่ละชนิดจะมีความเข้มข้นของผงโกโก้ต่างกัน โดยดาร์กช็อกโกแลตมีความเข้มข้นของโกโก้มากที่สุด ในขณะที่ไวท์ช็อกโกแลตมีความเข้มข้นของผงโกโก้น้อยที่สุด
  • สาเหตุที่ทำให้อยากรับประทานช็อกโกแลต อาจเกิดจากการติดรับประทานของหวาน ความหิว ความเครียด ความเคยชิน หรือเกิดจากร่างกายขาดแมกนีเซียมก็ได้
  • ช็อกโกแลตสามารถรับประทานได้ แต่จะต้องระมัดระวังในเรื่องของปริมาณน้ำตาล โดยผู้หญิงควรรับประทานน้ำตาลไม่เกินวันละ 25 กรัม หรือประมาณ 6 ช้อนชา และผู้ชายควรรับประทานน้ำตาลไม่เกินวันละ 36 กรัม หรือ 9 ช้อนชา
  •  เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน

ช็อกโกแลต (Chocolate) เป็นอาหารที่หลายคนชอบรับประทาน แล้วเคยสงสัยไหมว่า ทำไมเราถึงอยากรับประทานช็อกโกแลต หาคำตอบได้ที่บทความนี้

ทำความรู้จักกับช็อกโกแลต

ช็อกโกแลตมีจุดเริ่มต้นมาจากต้นโกโก้ ซึ่งเป็นพืชที่มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ โดยผงโกโก้และโกโก้บัตเตอร์ได้มาจากการสกัดฝักโกโก้ มีรสชาติที่ขมมาก และต้องนำมาผ่านกระบวนการมากมายเพื่อทำให้รสชาติดีขึ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ดี โดยธรรมชาติแล้ว โกโก้มีสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย แต่โชคร้ายที่หากโกโก้ถูกนำไปผ่านกระบวนการมากเท่าไร สารชนิดนี้ก็จะยิ่งสลายตัวมากเท่านั้น

ช็อกโกแลตนั้น ทำมาจากการผสมผงโกโก้และโกโก้บัตเตอร์กับสารให้ความหวาน และส่วนผสมอื่นๆ ซึ่งไขมันส่วนใหญ่ในช็อกโกแลตก็คือโกโก้บัตเตอร์นั่นเอง

โดยช็อกโกแลตแต่ละชนิดจะมีความเข้มข้นของผงโกโก้ต่างกัน ดาร์กช็อกโกแลตมีความเข้มข้นของโกโก้มากที่สุด ในขณะที่ไวท์ช็อกโกแลตมีความเข้มข้นของผงโกโก้น้อยที่สุด

สาเหตุที่ทำให้อยากรับประทานช็อกโกแลต

การเกิดความรู้สึกกระหายอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูงถือเป็นเรื่องปกติ สำหรับสาเหตุที่ทำให้รู้สึกอยากรับประทานช็อกโกแลต อาจมีดังนี้

1.ร่างกายต้องการน้ำตาล

โดยธรรมชาติแล้ว โกโก้มีรสขม ทำให้ผู้ผลิตต้องเติมน้ำตาลลงไปเป็นจำนวนมากเพื่อให้รสชาติดีขึ้น ซึ่งน้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว 

ซึ่งมีหลายงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า การผสมผสานระหว่างไขมันและน้ำตาล สามารถทำให้รู้สึกติดอาหารบางชนิดได้นั่นเอง โดยเฉพาะน้ำตาล และคาร์โบไฮเดรตชนิดอื่นๆ ที่ผ่านการขัดสี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อย่างไรก็ตาม เราควรจัดกัดการรับประทานน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสม โดยผู้หญิงควรรับประทานน้ำตาลไม่เกินวันละ 25 กรัม หรือประมาณ 6 ช้อนชา และผู้ชายควรรับประทานน้ำตาลไม่เกินวันละ 36 กรัม หรือ 9 ช้อนชา 

หากต้องการรับประทานช็อกโกแลตจริงๆ คุณสามารถลดปริมาณน้ำตาล โดยเปลี่ยนไปรับประทานช็อกโกแลตที่มีโกโก้เปอร์เซ็นต์สูงขึ้นได้

สำหรับผู้ที่รับประทานของหวานเป็นประจำนั้น คุณควรเข้ารับการการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน เพราะหากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง แล้วปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่เนิ่นๆ ก็อาจช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้

2.หิว

ในบางครั้ง ความรู้สึกอยากรับประทานช็อกโกแลตอาจมีสาเหตุมาจากความหิว เพราะเมื่อเรารู้สึกหิว ร่างกายจะต้องการรับประทานคาร์โบไฮเดรตอย่างน้ำตาลขัดสี 

อย่างไรก็ตาม ช็อกโกแลตที่ผ่านการแปรรูปส่วนมากจะมีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ทำให้น้ำตาลพุ่งสูงขึ้นแค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น หลังจากที่น้ำตาลลดลงแล้ว คุณก็มีแนวโน้มที่จะกลับมารู้สึกหิวอีกครั้ง

วิธีแก้ไขที่ทำได้ง่ายๆ ก็คือ ให้ลดความรู้สึกกระหายช็อกโกแลตโดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ชนิดอื่นๆ แทน เมื่อรู้สึกอิ่มท้อง ความคิดที่อยากรับประทานช็อกโกแลตก็จะลดลงนั่นเอง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

3.ต้องการคาเฟอีน

แม้ว่าช็อกโกแลตมีคาเฟอีน แต่ก็มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะปริมาณคาเฟอีนจะลดลงในขณะที่โกโก้ถูกนำไปผ่านกระบวนการ ซึ่งช็อกโกแลตส่วนมากที่ผ่านการแปรรูปแล้ว มีคาเฟอีนน้อยกว่า 10 มิลลิกรัม

เมื่อเทียบกับกาแฟจะถือว่าต่างมากทีเดียว เพราะกาแฟ 1 แก้ว โดยเฉลี่ยมีคาเฟอีนประมาณ 85-200 มิลลิกรัม แต่ดาร์กช็อกโกแลตบางชนิดมีคาเฟอีนมากกว่าน้ำอัดลม โดยมีคาเฟอีนประมาณ 30 มิลลิกรัม

สรุปง่ายๆ ก็คือ ยิ่งช็อกโกแลตมีโกโก้มากเท่าไร ก็จะยิ่งมีคาเฟอีนมากเท่านั้น

ทั้งนี้คาเฟอีนกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้คุณรู้สึกตาสว่างและตื่นตัวมากขึ้น อีกทั้งยังส่งผลต่อระดับของสารสื่อประสาทบางชนิดในสมอง ซึ่งหมายความรวมถึงสารโดพามีน 

อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่ไม่บริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การรับประทานช็อกโกแลตที่มีคาเฟอีนก็อาจเพียงพอที่จะช่วยกระตุ้นให้ตื่นตัวได้ หรือเลือกรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีสารคาเฟอีนเหมือนกัน เช่น ชาดำ

4.ติดเป็นนิสัย วัฒนธรรม หรือความเครียด

มีผู้หญิงหลายคนที่อยากรับประทานช็อกโกแลตในช่วงที่เริ่มมีประจำเดือน ซึ่งนักวิจัยยังไม่สามารถหาคำอธิบายทางชีวภาพสำหรับปรากฏการณ์นี้ได้ แต่คาดว่าการที่ผู้หญิงอยากรับประทานช็อกโกแลตในระหว่างมีประจำเดือนนั้น อาจเป็นเพราะว่าทำจนติดเป็นนิสัย 

ในขณะที่ความเครียด ความวิตกกังวล หรือความรู้สึกไม่สบายใจ ก็สามารถทำให้หลายคนต้องหันไปพึ่งบางสิ่งที่ทำให้รู้สึกดีขึ้น ซึ่งช็อกโกแลตก็นับเป็นหนึ่งในตัวเลือกนั้น

อย่างไรก็ตาม เราควรรับประทานอาหารอย่างมีสติ ให้รู้เท่าทันความอยากของตนเองได้ โดยอาจลองถามตัวเองว่า ทำไมถึงอยากรับประทานช็อกโกแลต ถ้าไม่ได้เป็นเพราะความหิว ก็ให้คุณลองรับประทานอาหารชนิดอื่นๆ หรือรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม พร้อมกับหาวิธีคลายเครียดอื่นๆ ไปด้วย

5.ร่างกายต้องการแมกนีเซียม

มีงานวิจัยพบว่า ช็อกโกแลตมีธาตุแมกนีเซียมสูง ซึ่งนักวิจัยคาดว่าการขาดแมกนีเซียมสามารถอธิบายได้ถึงความอยากรับประทานช็อกโกแลตของคนเรา

ดังนั้นการรับประทานแมคนีเซียมในรูปแบบอื่นๆ เช่น อาหารเสริม หรืออาหารที่มีแมกนีเซียมสูง เช่น ถั่วอัลมอนด์ดิบ ถั่วดำ หรือโฮลเกรน ก็อาจช่วยลดความอยากรับประทานช็อกโกแลตได้

ความรู้สึกอยากรับประทานช็อกโกแลตถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าจะให้ดีต่อสุขภาพ ควรเลือกรับประทานเป็นดาร์กช็อกโกแลต เพราะมีเปอร์เซ็นต์ของโกโก้สูง น้ำตาลน้อย และอย่าลืมว่าสิ่งใดก็ตามที่มีน้ำตาลและไขมันก็ล้วนแต่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ จึงควรจำกัดการรับประทานให้เหมาะสม

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Corinne O'Keefe Osborn, Does My Chocolate Craving Mean Anything? (https://www.healthline.com/health/craving-chocolate), 22 December 2020.
The Real Reasons You're Craving These 7 Foods. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/pictures/real-reason-youre-craving-these-foods/)
3 Reasons You Crave Sweet or Salty Foods. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/3-reasons-you-crave-sweet-or-salty-foods/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักนมโปรตีนสูง ควบคู่การอ่านฉลาก
รู้จักนมโปรตีนสูง ควบคู่การอ่านฉลาก

เราจะพูดถึงการอ่านฉลากโดยทั่วไป และการเลือกซื้อ “นม”

อ่านเพิ่ม
รู้หรือไม่...น้ำตาลทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง
รู้หรือไม่...น้ำตาลทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง

งานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า น้ำตาลมีส่วนทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายมีโอกาสเสี่ยงได้รับเชื้อโรคมากกว่าปกติ

อ่านเพิ่ม