คำถามสุดฮิต : จะให้ลูกนอนหลับที่ไหนดี

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คำถามสุดฮิต : จะให้ลูกนอนหลับที่ไหนดี

คำถามสุดฮิตเมื่อมีลูกครั้งแรกก็คือ จะให้ลูกนอนหลับที่ไหนดี จะเป็นในห้องบนเตียงเดียวกับพ่อแม่ หรือนอนแยกเตียงแต่อยู่ในห้องเดียวกัน หรือแยกห้องไปเลยดี เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องมีคำถามนี้ในใจไม่มากก็น้อยค่ะ วันนี้เรามาลองดูว่า การให้ลูกของเรานอนหลับในแต่ละสถานที่มีข้อดีและข้อพึงระวังที่ต้องเตรียมตัวไว้ก่อนอย่างไรบ้างค่ะ เพื่อที่จะได้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจนะค่ะ

ให้ลูกนอนหลับบนเตียงเดียวกับพ่อแม่ดีไหม

หลายปีที่ผ่านมา การให้ทารกนอนหลับร่วมเตียงเดียวกันกับพ่อแม่ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น อาจจะเพราะเนื่องจากพ่อแม่ยังไม่สามารถหาที่นอนที่เหมาะกับลูกได้ แต่ข้อดีหลักๆ ของการให้ลูกนอนร่วมเตียงเดียวกับคุณพ่อคุณแม่มีดังนี้ค่ะ

ข้อดีของการให้ลูกนอนร่วมเตียงเดียวกับพ่อแม่

  • ให้ความรู้สึกอบอุ่น และเป็นครอบครัวมากขึ้น เมื่อมีลูกตัวน้อยมาอยู่ใกล้ๆ
  • คุณแม่สะดวกในการให้นมตอนกลางดึกหากลูกตื่นและหิวนม

ข้อพึงระวัง

  • ต้องระวังเรื่องความปลอดภัยในการนอนหลับของลูกให้มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะพ่อแม่ที่ก่อนนอนทานยาที่ทำให้เกิดความง่วง เพราะอาจจะนอนหลับแล้วเผลอทับหรือปิดจมูกของลูกโดยไม่รู้ตัว
  • หากพ่อหรือแม่สูบบุหรี่ หรือเพิ่งทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ควรให้ลูกนอนใกล้
  • หากพ่อแม่จะมีกิจกรรมทางเพศ อาจจะมีปัญหาได้ค่ะ อย่าคิดว่าเด็กรับรู้ไม่ได้เชียวนะค่ะ
  • ต้องฝึกลูกให้นอนหลับในห้องของเขาเองภายหลังเมื่อโตขึ้น ซึ่งอาจจะใช้เวลานาน
  • หากลูกตื่นง่าย หรือรู้สึกตัวง่าย อาจจะรบกวนการนอนของพ่อแม่ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วบ่อยครั้งลูกจะสามารถนอนต่อได้ทันทีหลังจากตื่น (นอกจากว่าจะหิว หรือรู้สึกเปียกชื้นไม่สบายตัว)

ให้ลูกนอนหลับในห้องของลูกเอง

พ่อแม่หลายครอบครัวอาจจะเตรียมห้องสำหรับลูกน้อยไว้แล้ว เพื่อที่เขาจะได้คุ้นเคยกับห้องของตนเองเมื่อโตขึ้น

ข้อดีของการให้ลูกนอนหลับในห้องของเขาเอง

  • ควบคุมเสียงหรือสิ่งกระตุ้นที่มีผลทำให้ลูกตื่นได้ง่ายขึ้น
  • ฝึกให้ลูกคุ้นกับห้องของตนได้ง่ายกว่ามาฝึกตอนโตแล้ว
  • พ่อแม่มีเวลาเป็นส่วนตัวมากขึ้น

ข้อพึงระวัง

  • เสี่ยงที่เด็กจะเสียชีวิตเฉียบพลันในช่วงนอนหลับง่ายกว่า (SIDS - Sudden Infant Death Syndrome) เพราะไม่มีคนคอยดูแล
  • อาจจะยุ่งยากสำหรับแม่ที่จะต้องลุกขึ้นมาให้นมลูกกลางดึก หรือต้องลุกขึ้นมาดูลูกตื่นขึ้นกลางดึก

ให้ลูกนอนหลับบนเตียงของลูก แต่ยังอยู่ในห้องของพ่อแม่

พ่อแม่หลายคู่ตัดสินใจซื้อเตียงให้ลูก แต่ก็ไม่พร้อมที่จะให้ลูกนอนหลับในห้องของเขาเองจึงให้ลูกนอนในเตียงของเขาเองแต่ยังอยู่ในห้องของคุณพ่อคุณแม่ หรือาจจะเป็นเตียงลักษณะประกบติดข้างเตียงของพ่อแม่ ซึ่งทำให้พ่อแม่รู้สึกว่าลูกได้นอนร่วมเตียงเดียวกัน วิธีนี้ก็ได้รับความนิยมเหมือนกันค่ะ

ข้อดีของการให้ลูกนอนในห้องของพ่อแม่ แต่แยกเตียงนอน

  • พ่อแม่ที่เป็นคนนอนดิ้น จะได้สบายใจได้ว่า ไม่เผลอนอนไปทับลูกแน่ๆ
  • คุณแม่สะดวกในการให้นมลูกในตอนกลางคืนมากกว่า
  • คุณพ่อคุณแม่สามารถตื่นมาดูลูกได้ง่ายและสะดวกกว่า

ข้อพึงระวัง

จะคล้ายๆ กับการนอนร่วมเตียงของพ่อแม่ แต่มีที่ต้องเพิ่มเติมคือ

  • ต้องให้แน่ใจว่าลูกนอนหลับในท่าที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการเกิด SIDS
  • สำหรับกรณีที่ใช้เตียงที่ประกบเข้ากับเตียงพ่อแม่ ต้องให้แน่ใจว่าเตียงของลูกชิดกับเตียงของพ่อแม่สนิทดี ควรที่จะตรวจดูให้แน่ใจว่ามีความปลอดภัยต่อการนอนของลูก เพราะลูกอาจจะพลิกตัวแล้วไปติดอยู่ระหว่างเตียงได้

16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sleep and Your Newborn (for Parents). KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/parents/sleepnewborn.html)
Baby Sleeping on Side: What Can Happen and When Is It Safe?. Healthline. (https://www.healthline.com/health/baby-sleeping-on-side)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สายสวนวัดความดันในมดลูก (Intrauterine Pressure Catheter: IUPC)
สายสวนวัดความดันในมดลูก (Intrauterine Pressure Catheter: IUPC)

เมื่อกระบวนการคลอดใช้ระยะเวลานาน แพทย์อาจใช้สายสวนวัดความดันในมดลูกเพื่อใช้ติดตามการบีบตัวของมดลูกได้

อ่านเพิ่ม
เทคนิคการบีบน้ำนมจากเต้าด้วยมือ
เทคนิคการบีบน้ำนมจากเต้าด้วยมือ

ข้อมูล คำแนะนำทีละขั้นตอน และข้อดีข้อเสีย

อ่านเพิ่ม