การให้นมลูก: คำจำกัดความของการปั๊มนมทิ้ง

ประโยคนี้หมายความว่าอะไรและเมื่อไรจึงจำเป็นต้องทำ
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การให้นมลูก: คำจำกัดความของการปั๊มนมทิ้ง

หากคุณกำลังคิดว่าจะให้นมลูกด้วยตนเองหรือกำลังเลี้ยงลูกอยู่ คุณอาจจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า “ปั๊มนมทิ้ง” แต่คุณเข้าใจความหมายของประโยคนี้หรือไม่ ? คำจำกัดความของประโยคนี้ก็ตรงตัว: เป็นการปั๊มน้ำนมจากเต้าทิ้งไปแทนการปั๊มเก็บไว้ให้ลูก แต่ทำไมแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงต้องทำเช่นนี้ โดยเฉพาะหากคุณคิดว่าน้ำนมแม่นั้นมีคุณค่ามากที่สุด

นี่เป็นสาเหตุที่ว่าทำไมการปั๊มนมทิ้งจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับบางช่วงเวลา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การดื่มแอลกอฮอล์กับการให้นมลูก

แม่บางคนอาจเลือกที่จะปั๊มน้ำนมทิ้งหลังจากดื่มแอลกอฮอล์ การกระทำนี้ไม่จำเป็นยกเว้นว่าคุณกำลังกังวลว่าการไม่ได้ให้นมลูกนั้นจะส่งผลต่อน้ำนมที่คุณเก็บไว้หรือหากคุณกำลังรู้สึกคัดตึงเต้านม การปั๊มนมทิ้งนั้นไม่ได้ช่วยลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของคุณแต่อย่างใด แต่หลังจากผ่านไประยะหนึ่งคุณจะสามารถกลับมาให้นมลูกได้โดยที่ไม่ต้องปั๊มน้ำนม

การให้นมลูกกับยาที่ใช้รักษาโรคของแม่

อีกภาวะหนึ่งที่คุณอาจจำเป็นต้องปั๊มนมทิ้งคือการรับประทานยาบางชนิด ยาบางชนิด (ไม่ใช่ทั้งหมด) สามารถผ่านทางน้ำนมและเข้าสู่ทารกได้ โดยความอันตรายนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของยา แพทย์บางคนอาจระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยแนะนำให้คุณปั๊มนมทิ้ง แต่คุณอาจจะลองตรวจสอบกับผู้ให้คำแนะนำด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งอาจจะมีข้อมูลเกี่ยวกับผลของยาต่อน้ำนมของคุณและทารกเพิ่มเติม

คำศัพท์อื่น ๆ เกี่ยวกับการให้นมลูก

มาถึงตอนนี้คุณอาจจะคุ้นเคยกับคำว่าปั๊มนมทิ้งแล้ว แต่คุณอาจจะอยากรู้ความหมายของคำศัพท์อื่น ๆ ที่มักใช้ในหมู่คุณแม่ที่ให้นมลูก

  • คัดตึงเต้านม (Engorgement): เป็นความรู้สึกคัดและตึงที่เต้านมซึ่งเกิดจากการที่น้ำนมมากเกินไป
  • น้ำนมส่วนหน้า (foremilk): เป็นน้ำนมที่มีลักษณะบางอย่างคล้ายน้ำ ซึ่งจะออกมาก่อนเมื่อให้นมลูกหรือปั๊มนม
  • น้ำนมส่วนหลัง (Hindmilk): เป็นน้ำนมส่วนที่หนักและมีไขมันมากกว่า และจะออกมาทีหลังเมื่อมีการให้นมลูกหรือปั๊มนม
  • การเข้าเต้า (Latching on): หมายถึงวิธีการที่ทารกเข้าเต้าเพื่อดูดนม วิธีการที่ทารกเข้าเต้านั้นมีผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • Let-down: หมายถึงความรู้สึกอุ่นที่เต้านม โดยภาวะนี้จะเกิดเมื่อทารกเริ่มดูดเต้า โดยจะมีการส่งสัญญาณไปยังสมอง ฮอร์โมน Oxytocin จะทำให้เซลล์ที่ชื่อ myoepithelial cell ซึ่งอยู่รอบ ๆ ถุงที่เก็บน้ำนมเกิดการหดตัวและให้น้ำนมเข้าสู่ท่อทางเดินน้ำนม ก่อนที่จะถูกขับออกมาทางหัวนม

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pump and dump - BabyCenter. BabyCenter. (https://community.babycenter.com/post/a65191783/pump-and-dump)
Don't Pump and Dump: A PSA for Breastfeeding Moms Who Enjoy a Few Drinks. Parent.com. (https://www.parent.com/dont-drink-and-pump-a-psa-for-breastfeeding-moms/)
Q&A: How does "pumping and dumping" work?. TheBump.com. (https://www.thebump.com/a/what-does-pump-and-dump-mean)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป