สีประจำเดือนบอกโรคได้จริงหรือไม่?

สีประจำเดือนบอกอะไรบ้าง เพียงสังเกตสีที่ออกมาก็บอกได้แล้วหรือว่าเป็นโรคอะไรอยู่ หาคำตอบที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 2 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สีประจำเดือนบอกโรคได้จริงหรือไม่?

ประจำเดือน คือเลือดและเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกออกมาทุกๆ รอบเดือนของผู้หญิง โดยปกติ 1 รอบเดือนจะห่างกัน 21-35 วัน ประจำเดือนแต่ละรอบกินเวลานาน 3-7 วัน แต่อาจแตกต่างกันไปในแต่รอบ โดยสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมน ความเครียด อาหารการกิน การทำงาน ตามธรรมดาสีของประจำเดือนจะแตกต่างกันในแต่ละรอบและแต่ละวันของการมีประจำเดือน โดยสามารถเปลี่ยนไปได้ตั้งแต่สีแดงสดไปจนถึงสีคล้ำ

เลือดสีแดงสดแสดงว่าเป็นเลือดที่ออกมายังไม่นาน ส่วนเลือดที่มีสีคล้ำหรือสีน้ำตาลแสดงว่าเป็นเลือดที่ออกมาแล้วค้างอยู่ในโพรงมดลูก มีการสัมผัสกับอากาศนานจึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ทำให้ประจำเดือนมีสีเข้มขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในตำราการแพทย์แผนไทยนั้นมีการกล่าวถึงสีของประจำเดือน ว่าสามารถช่วยวินิจฉัยโรคได้เบื้องต้น ไม่ใช่ทั้งหมด โดยแพทย์จะสังเกตจากอาการและอาการแสดงเป็นหลัก ซึ่งสอดคล้องกับการวินิจฉัยโรคของแพทย์แผนปัจจุบัน 

5 สิ่งที่ควรสังเกตเกี่ยวกับประจำเดือน

นอกจาก “สี” สิ่งที่ควรสังเกตเกี่ยวกับประจำเดือนได้แก่สิ่งต่อไปนี้

1. ปริมาณเลือดประจำเดือน 

ปกติในหนึ่งรอบไม่ควรเกิน 80 มิลลิลิตร หรือสังเกตจากการใช้ผ้าอนามัย โดยควรใช้ 3-5 ผืน/วัน หากท่านใดพบว่าประจำเดือนมามากจนล้นผ้าอนามัย ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 2 ชั่วโมง อาจแสดงถึงความผิดปกติ

2. ระยะเวลาที่ประจำเดือนมาในแต่ละครั้ง 

ปกติจะอยู่ที่ 3-5 วัน แต่หากประจำเดือนมานานมากกว่า 7 วัน อาจบ่งบอกถึงระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุล ซึ่งปัญหานี้พบได้มากในผู้ป่วยเบาหวาน อ้วน หรือมีความเครียด 

3. ความสม่ำเสมอ 

ระยะห่างของรอบเดือนมักจะอยู่ที่ 21-35 วัน หากมีรอบประจำเดือนสั้นกว่า 21 วัน บางรายอาจมีโรคมะเร็ง หรือหากประจำเดือนขาดเกินกว่า 3 เดือน โดยตรวจแล้วไม่มีการตั้งครรภ์ อาจแสดงถึงภาวะไทรอยด์ผิดปกติ

4. ลักษณะเลือดประจำเดือน 

ตามปกติประจำเดือนไม่ควรมีลักษณะเป็นเลือดออกกระปริดกระปรอย หรือมีเลือดออกนอกรอบประจำเดือน ลักษณะอื่นๆ ที่ผิดปกติ ได้แก่ เลือดประจำเดือนเป็นลิ่มเลือดขนาดใหญ่ มีสีดำคล้ำ หรือสีส้มแดงตลอดรอบเดือน ร่วมกับมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะลำบาก คัน หรือมีกลิ่นเหม็น มีไข้ 

5. อาการร่วมขณะมีประจำเดือน 

อาการผิดปกติ เช่น คันในช่องคลอด ปวดประจำเดือนมากและปวดมากขึ้นจนทนไม่ไหว ปวดอุ้งเชิงกรานและช่องท้อง 

สรุปได้ว่า สีของประจำเดือนเพียงอย่างเดียวไม่สามารถบอกโรคต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ ควรสังเกตอาการผิดปกติดังที่ได้กล่าวข้างต้นร่วมด้วย ซึ่งหากพบว่ามีไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุโดยละเอียด และรับการรักษาโดยเร็ว เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนและอันตรายอื่นๆ ที่อาจตามมา


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Webmd.com, What Your Period Says About Your Health (https://www.webmd.com/women/ss/slideshow-period-related-to-health ), 7 May 2018.
The American College of Obstetricians and Gynecologists, Menstruation (https://www.acog.org/-/media/For-Patients/faq049.pdf?dmc=1&ts=20190614T1606341034)
The American College of Obstetricians and Gynecologists, Abnormal uterine bleeding (https://www.acog.org/-/media/For-Patients/faq049.pdf?dmc=1&ts=20190614T1606229159)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป