กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

การมีประจำเดือนมาไม่ตรงรอบคืออะไร ?

มีหลายสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนของคุณไม่ตรงรอบ รู้ก่อนเพื่อแก้ไขให้ถูกทางและปลอดภัย
เผยแพร่ครั้งแรก 8 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 18 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การมีประจำเดือนมาไม่ตรงรอบคืออะไร ?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ประจำเดือนมาไม่ตรงรอบ คือ ประจำเดือนมาก่อนระยะห่าง 21 วัน หรือมีระยะห่างระหว่างประจำเดือนมากกว่า 35 วัน
  • ลักษณะของประจำเดือนปกติคือ มีระยะห่างระหว่างรอบอยู่ในช่วง 21-35 วัน จำนวนวันที่มีประจำเดือนไม่เกิน 7 วัน และปริมาณเลือดที่ออกในแต่ละวันใกล้เคียงกับรอบที่แล้ว
  • หากมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ในช่วงที่มีประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณของการมีประจำเดือนออกมากผิดปกติ
  • การมีประจำเดือนมาไม่ตรงรอบนานๆ ครั้ง อาจเป็นเรื่องปกติ เช่น เกิดจากความเจ็บป่วย ความเครียด การเดินทาง เป็นช่วงให้นมบุตร ออกกำลังกายหนักเกินไป น้ำหนักลด หรือเพิ่มมากเกินไป
  • หากมีปัญหาใดๆ เกี่ยวกับความผิดปกติของประจำเดือน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัย และการแก้ไขที่ถูกต้อง (ดูแพ็กเกจตรวจภายในได้ที่นี่)

การมีประจำเดือนมาไม่ตรงรอบอาจเป็นสัญญาณหนึ่งที่บอกถึงความผิดปกติบางอย่างเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ และในบางรายอาจเป็นสัญญาณแรกที่บ่งบอกถึงภาวะมีบุตรยาก

การทำความเข้าใจ "ความไม่ปกติของรอบประจำเดือน" จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เข้าใจร่างกายของเรามากขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยให้เข้าใจแพทย์เมื่ออธิบายอาการต่างๆ ของคุณได้มากขึ้นด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ลักษณะของประจําเดือนปกติ

  • ระยะห่างระหว่างรอบเดือน (Interval) อยู่ในช่วงระหว่าง 21 ถึง 35 วัน
  • จํานวนวันที่มีประจําเดือน (Duration) นานไม่เกิน 7 วัน
  • ปริมาณเลือดที่ออกในแต่ละวัน (Amount) ควรใกล้เคียงกับรอบประจําเดือนที่ปกติก่อนหน้า รวมแล้วไม่เกิน 80 มิลลิลิตรต่อรอบเดือน 

การประเมินปริมาณเลือดประจําเดือนที่ออกในทางปฏิบัติทั่วไปสามารถประเมินจากประวัติว่า มีลิ่มเลือดปน ใช้จํานวนผ้าอนามัยมากขึ้น หรือชุ่มขึ้นแค่ไหน มีอาการจากภาวะซีด เช่น หน้ามืด เวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หรือจากการตรวจร่างกาย 

หากพบภาวะดังกล่าวแสดงว่า มีประจําเดือนออกมากผิดปกติ

การมีประจำเดือนมาไม่ตรงรอบคืออะไร? 

หมายถึงจำนวนวันระหว่างรอบของประจำเดือนที่ไม่เท่ากัน  ประจำเดือนของคุณจะนับว่า มาไม่ตรงรอบเมื่อจำนวนวันระหว่างรอบสั้นลง หรือยาวกว่าระยะห่างปกติ  

ดังนั้นประจำเดือนของคุณจะเรียกว่าไม่ตรงรอบเมื่อ

  • มาก่อนระยะห่าง 21 วัน
  • ระยะห่างระหว่างรอบประจำเดือนมากกว่า 35 วัน
  • ระยะห่างระหว่างแต่ละรอบต่างกันมาก (แม้ว่าจะอยู่ในระยะห่างปกติที่ 21-35 วัน)

สำหรับตัวอย่างสุดท้ายนั้น หากระยะห่างระหว่างประจำเดือนรอบหนึ่งของคุณคือ 25 วัน แต่รอบถัดไประยะห่างเป็น 33 วัน จะถือว่า ประจำเดือนของคุณมาไม่ตรงรอบโดยนับว่ามาผิดปกติ ถึงแม้ว่าระยะห่าง 25 หรือ 33 วัน จะถือว่าปกติในรอบหนึ่งๆ ก็ตาม  

ประจำเดือนของคุณจะถือว่ามาปกติ เมื่อระยะห่างระหว่างรอบต่างกันไม่กี่วัน สม่ำเสมอในทุกๆ เดือน เช่น 33 วันในรอบหนึ่ง และรอบต่อไป 35 วัน เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ประจำเดือน 28 วัน

คุณอาจเคยได้ยินว่า ประจำเดือนปกติจะมาห่างกันรอบละ 28 วัน หากระยะห่างระหว่างรอบประจำเดือนของคุณสั้นกว่าหรือยาวกว่านัั้น อาจทำให้คุณกังวลใจว่า รอบประจำเดือนของคุณเกิดความผิดปกติได้ นั่นเป็นเรื่องที่เชื่อกันทั่วไป

ในความเป็นจริงนั้นแม้ว่าตัวเลข 28 อาจเป็นค่าประมาณของระยะห่างของรอบประจำเดือนปกติ แต่คุณก็ไม่ควรยึดติดมากเกินไป ประจำเดือนของคนทั่วไปอาจจะสั้นกว่า หรือยาวกว่าระยะ 28 วันนี้ได้ โดยที่ยังมีระบบสืบพันธุ์ปกติดี 

สิ่งที่ควรรู้ ถึงแม้ว่า คุณจะมีประจำเดือน 28 วัน แต่คุณก็ยังสามารถมีปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ได้

การมีประจำเดือนมาไม่ตรงรอบนานๆ ครั้ง อาจเป็นเรื่องปกติ

หากรอบประจำเดือนของคุณมาไม่ตรงกันบ่อยๆ นั่นเป็นสัญญาณของการเริ่มมีปัญหา  ในหญิงสุขภาพดีที่มีปัญหาประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ตรงรอบ จะเกิดขึ้นเมื่อ

  • เกิดความเจ็บป่วย เช่น เป็นไข้  ไม่สบาย
  • มีความเครียด
  • เดินทาง โดยเฉพาะเมื่อมีรูปแบบการนอนที่ผิดปกติไป
  • ให้นมบุตร ในช่วงแรก ๆ ของการให้นมบุตรจะทำให้ไม่มีประจำเดือนได้
  • ตั้งครรภ์
  • การออกกำลังกายอย่างหนักสามารถทำให้รอบประจำเดือนมาผิดปกติ หรือขาดหายไปช่วงหนึ่งได้ เนื่องจากไข่ไม่ตกนั่นเอง  อาการเหล่านี้พบได้ปกติในกลุ่มนักกีฬา ดังนั้นหากคุณเป็นนักกีฬา และต้องการที่จะตั้งครรภ์ คุณอาจต้องลดการออกกำลังกายลงเพื่อให้ตกไข่ได้ตามปกติ ประจำเดือนจึงกลับมาเหมือนเดิม
  • หากคุณลด หรือเพิ่มน้ำหนักมากเกินไปอาจทำให้ไม่มีประจำเดือนได้ สำหรับผู้หญิงที่น้ำหนักเกิน การลดน้ำหนักจะช่วยให้รอบประจำเดือนกลับมาปกติได้ ส่วนผู้หญิงที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ การเพิ่มน้ำหนักขึ้นมาเล็กน้อยจะช่วยให้ประจำเดือนกลับมาปกติได้เช่นกัน

หากคุณมีปัญหาใดๆ เกี่ยวกับความผิดปกติของประจำเดือนก็ตามควรปรึกษาแพทย์ผู้เขี่ยวชาญโดยตรง เพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัย และการแก้ไขที่ถูกต้อง ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามนั่นเอง

ดูแพ็กเกจตรวจภายใน เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Woolcock JG, et al. Review of the confusion in current and historical terminology and definitions for disturbances of menstrual bleeding. Fertil Steril 2008

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิด และประสิทธิภาพ
เปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิด และประสิทธิภาพ

ตารางเปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิดในรูปแบบต่างๆ มีประสิทธิภาพในการป้องกันอย่างไร ราคาเท่าไหร่ ใช้งานง่ายหรือยาก อ่านเลย!

อ่านเพิ่ม