มาลดจำนวน 'ยาขยะ' และ 'ยาเหลือใช้' กันนะ

แนวทางการลดจำนวนยาขยะและยาเหลือใช้
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
มาลดจำนวน 'ยาขยะ' และ 'ยาเหลือใช้' กันนะ

เมื่อทราบกันแล้วว่ายาเหลือใช้ – ยาขยะคืออะไร และมีผลเสียอย่างไรบ้าง ในบทความเรื่อง “มารู้จัก… ยาขยะ และ ยาเหลือใช้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

 

แล้วเราจะป้องกันการเกิด “ยาเหลือใช้ – ยาขยะ”

กันยังไงดีล่ะคะ?

 

 

 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  1. ใช้ยาให้ถูกต้องตามแพทย์สั่งค่ะ แม้ว่าจะไม่สามารถลดยาเหลือใช้ในกรณีของยาบางตัวที่อาจใช้เพียงเพื่อบรรเทาอาการ และสามารถหยุดใช้ได้หากอาการดีขึ้นแล้ว แต่ก็จะลดยาเหลือใช้ที่ไม่ควรจะมี เช่น ยาโรคเรื้อรังหรือยาปฏิชีวนะได้ไงคะ

 

  1. กรณีที่มียาเหลือใช้จากการรักษาครั้งก่อน โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องไปพบแพทย์ประจำตามนัด ควรนำยาเดิมที่เหลืออยู่ไปให้แพทย์ / เภสัชกรด้วย เพื่อที่แพทย์ / เภสัชกรจะได้ทบทวนยาว่าผู้ป่วยมีการใช้ที่ถูกต้องหรือไม่, เกิดปัญหาจากการใช้ยาจนทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ยาได้ครบถ้วนตามแพทย์สั่งหรือเปล่า และหากยานั้นยังมีความจำเป็นต้องใช้ ก่อนจะส่งคืนให้ผู้ป่วยนำกลับไปใช้ต่อก็จะได้มีการตรวจสอบว่ายาดังกล่าวอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้หรือไม่ หากไม่… ก็จะได้นำไปกำจัดด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป

 

pt02เรื่องอะไรจะเอามาคืนหมอ! ยาพวกนี้ป้าก็เสียเงินซื้อมาแล้ว เอามาคืน…หมอก็ไม่ได้คืนเงินให้ซักหน่อย ป้าว่าเอาไปให้คนอื่นที่มีอาการเหมือนกันใช้ต่อดีกว่า ถือเป็นการทำบุญดีนะคุณเภสัช

rx05เฮ้อ… หนูกลัวว่าคุณป้าจะได้บาปแทนน่ะสิคะ

pt06อ้าว! ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นล่ะ

rx14ก็อาการเจ็บป่วยหรือโรคที่คุณป้าคิดว่าเหมือนกัน แท้จริงแล้วมันอาจจะกลายเป็น ‘คนละโรค’ ก็ได้นะคะ ใช้ยาผิดโรค …เดี๋ยวก็ได้ไปอยู่ ‘คนละโลก’ แย่เลย… หรือไม่… ความรุนแรงของโรคก็อาจต่างกัน จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่แตกต่างกันไป การหวังดีนำยาไปให้คนอื่น อาจทำให้รักษาไม่ได้ผล พลอยทำให้โรคที่เค้าเป็นรุนแรงมากขึ้น ดีไม่ดี เกิดแพ้ยาขึ้นมาก็ยุ่งเลยนะคะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

pt06ไม่หรอก… ก็เช่นเพื่อน ๆ ที่เป็นเบาหวานเหมือนกัน กินยาก็เหมือน ๆ กัน ไม่แพ้หรอกคุณเภสัช

rx07อย่างนั้นก็ไม่ดีค่ะ… เพราะปกติแล้วทางโรงพยาบาลจะจ่ายยาให้ผู้ป่วยแต่ละรายไปครบตามจำนวนการใช้และตามระยะเวลาวันนัดอยู่แล้วนะคะ ถ้าใช้ยาได้ถูกต้องก็ย่อมจะไม่มียาเหลือหรือไม่มีปัญหายาไม่ครบถึงวันนัดอยู่แล้ว อีกทั้งผู้ป่วยโรคเรื้อรังจะต้องมาพบแพทย์ตามนัดนะคะคุณป้า ไม่ใช่อยากให้ผู้ป่วยยุ่งยากในการเดินทางหรอกค่ะ แต่ยาพวกนี้… จะไม่ได้ใช้ในขนาดเดิมเสมอไปหรอกนะคะแพทย์นัดมาก็เพราะต้องการติดตามดูผลการรักษาไงคะ ถ้าไม่ดีอย่างไรก็จะได้ปรับเปลี่ยนการรักษาได้ให้เหมาะสมได้ทันการณ์ ไม่ปล่อยให้โรคลุกลามไปเยอะ การที่คุณป้านำยาไปแจกเพื่อน เพื่อนก็ไม่ได้มาตามนัด เสี่ยงที่จะเกิดอันตรายถ้าโรคของเค้ามีการเปลี่ยนแปลง กว่ายาจะหมดแล้วกลับมาพบแพทย์ ก็อาจรักษาไม่ได้หรือรักษาได้ยากแล้วนะคะ …เห็นไหมว่าไม่ควรเลยกับการทำบุญแบบนี้

pt06อืมม์… จริงด้วยสิ งั้นทีหลังป้าจะไม่ทำอย่างนั้นแล้วล่ะคุณเภสัช

rx03ดีมากค่ะคุณป้า… รู้แล้วก็บอกต่อให้คนอื่น ๆ งดการทำบุญแบบผิด ๆ ด้วยนะคะ

 

3. เก็บยาให้เหมาะสม

  • หลีกเลี่ยงจากปัจจัยที่ทำให้ยาเสื่อมสภาพก่อนกำหนด ได้แก่ แสงแดด ความร้อน และความชื้น
  • เก็บยาไว้ในบรรจุภัณฑ์ หรือภาชนะบรรจุเดิมที่ได้รับ เป็นต้นว่า ยาที่บรรจุแผง ก็ควรแกะใช้ในจำนวนที่เพียงพอต่อการใช้ในแต่ละครั้ง ดิฉันเคยพบผู้ป่วยบางราย ที่ต้องรับประทานยาบางรายการครั้งละครึ่งเม็ด เพื่อความสะดวกในการรับประทาน ญาติผู้หวังดี(อีกแล้ว)ก็เลยจัดการแกะยาทั้งหมดที่ได้รับออกจากแผง แล้วหักแบ่งครึ่งไว้ทั้งหมดซะเลย เห็นแล้วเภสัชกรปวดตับค่ะ… ห้องยาอุตส่าห์จัดหายาในรูปแบบบรรจุแผงซึ่งมีราคาแพงกว่าแบบเม็ดเปลือยมาใช้ เพราะเห็นว่ายาที่บรรจุแผงจะสามารถป้องกันแสงและความชื้นได้ดีกว่าแบบไม่บรรจุแผง แต่ผู้ใช้กลับไม่เห็นคุณค่าของแผงยา ซ้ำยังเห็นว่าไม่ใช้สะดวกไปซะอีก โถ…

 

และ…

4. ตรวจสอบยาที่เก็บสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง นั่นคือ…

  • ตรวจสอบสภาพของยาที่เก็บ หากพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของ รูป รส กลิ่น หรือสี อย่านำมาใช้ต่อนะคะ เพราะยานั้นมันเสียแล้ว
  • กรณีที่ยานั้นมีสภาพดี ก็ยังวางใจไม่ได้ค่ะว่าจะใช้ได้อยู่ ควรตรวจสอบวันหมดอายุของยาด้วยนะคะ หากพบว่ายานั้นหมดอายุแล้ว แม้สภาพภายนอกยังดูไม่เปลี่ยนแปลงก็ห้ามนำมาใช้ต่อเช่นกันค่ะ
  • ยาที่มีสภาพดี และยังไม่หมดอายุ ก็ต้องตรวจสอบฉลากยาทิ้งท้ายด้วยนะคะ (แหม… หลายขั้นตอนน่าดู ^_^) เพราะยาที่ฉลากลบเลือนหรือไม่มีฉลาก แม้ไม่เสีย แต่ก็ไม่ควรเสี่ยงนำมาใช้ค่ะ เพราะจะใช้รักษาอะไร หรือใช้ครั้งละเท่าไหร่ ใช้แล้วต้องระวังอะไร …เราจะรู้ได้ยังไงล่ะคะ

 

pt04จำได้น่า… ต่อให้ไม่มีฉลากก็ใช้ถูก

rx04แหม… แน่ใจหรือคะ คุณลุงรับยานี้ไปนานแล้วนะคะ

pt04แหม… อย่าดูถูกว่าแก่นะ ความจำยังดีขนาดเด็ก ๆ ยังอายนะนั่น

rx04งั้น… เมื่อวานตอนออกจากบ้าน ก้าวขาไหนออกก่อนคะ

pt04โอ๊ย… ใครจะไปจำได้เล่าคุณเภสัช

rx03อ้าว… ก็คุณลุงว่าความจำดีไม่ใช่เหรอคะ ทำไมเรื่องเมื่อวานแท้ ๆ ยังจำไม่ได้เลย แล้วคราวนี้ถ้าคุณลุงจำสรรพคุณหรือวิธีใช้ยาผิดไป คิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นล่ะคะ

pt04เออ… จริงด้วยนะ

 

เพียงทำตามขั้นตอนที่กล่าวมาอย่างสม่ำเสมอ ก็สามารถลดจำนวน “ยาเหลือใช้” และ “ยาขยะ” ได้เป็นอย่างดีเลยล่ะค่ะ และถ้าคุณผู้อ่านทำอย่างนี้ได้ครบถ้วนและสม่ำเสมอ… ก็เชิญรับโล่ผู้ป่วยดีเด่นได้ที่ห้องยานะคะ ^_^

 

แล้วถ้าทำตามขั้นตอน 1 – 4 แล้ว แต่ก็ยังมีเหลือใช้ – ยาขยะอยู่ที่บ้าน …จะทำไงดี?

rx04

การกำจัดที่ไม่ถูกวิธีก็ทำให้เกิดผลเสียได้ค่ะ เช่น…

  • มีคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์นำไปใช้ต่อ โดยเฉพาะหากยานั้นทิ้งทั้งภาชนะบรรจุ เช่นแผงยา หรือขวดยา และเกิดอันตราย ซึ่งอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ค่ะ
  • การทิ้งในชักโครกหรืออ่างล้างจาน เคยเป็นแนวทางที่มีการแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ในการกำจัดยาขยะด้วยตนเองอย่างง่าย ๆ อย่างไรก็ตาม ระบบบำบัดน้ำเสียอาจไม่สามารถกำจัดยาออกไปได้หมด และบางส่วนก็อาจซึมออกไปสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และเสี่ยงต่อการย้อนกลับมาเกิดผลเสียต่อสุขภาพของเราในภายหลัง

 

ทิ้งขยะก็ไม่ได้… ทิ้งลงน้ำก็ไม่ดี… ถ้าอย่างนั้นจะกำจัดยังไง?

rx13

 
เอามาส่งคืนให้ห้องยาได้ค่ะ… เราจะนำไปตรวจสอบคุณภาพของยา และกำจัดยาที่เสื่อมสภาพทิ้งด้วยวิธีการที่เหมาะสมต่อไป ^_^


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Disposal of Unused Medicines: What You Should Know. U.S. Food and Drug Administration (FDA). (https://www.fda.gov/drugs/safe-disposal-medicines/disposal-unused-medicines-what-you-should-know)
Where and How to Dispose of Unused Medicines. U.S. Food and Drug Administration (FDA). (https://www.fda.gov/consumers/consumer-updates/where-and-how-dispose-unused-medicines)
How and when to get rid of unused medicines. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000943.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม